กรมทางหลวงชนบท รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพการขนส่งอย่างเป็นระบบ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขยายถนนสาย นย.3007 จังหวัดนครนายก กว่า 18 กิโลเมตร คาดแล้วเสร็จกลางปี 2566

www.plewseengern.com

กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม รายงานความคืบหน้าโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทสาย นย.3007 แยก ทล.305 – บ้านคลอง 33 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ซึ่งปัจจุบันผลการดำเนินงานมีความคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 62 เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินงานในส่วนของโครงสร้างทางงานผิวทางและงานก่อสร้างสะพาน โดยคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางปี 2566

จากนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้าทั่วทุกภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตให้สามารถเชื่อมจากแหล่งผลิตไปสู่ตลาดและผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ทช. จึงได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางหลวงชนบทสาย นย.3007 ทล.305 – บ้านคลอง 33 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก รวมระยะทาง 18.368 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณ กม. ที่ 0+000 แยก ทล.305 (รังสิต – นครนายก บริเวณ กม. ที่ 47+300) และสิ้นสุดโครงการบริเวณ กม. ที่ 18+368 ซึ่งบรรจบกับถนนทางหลวงชนบทสาย นย.2005 แยก ทล.33 (สระบุรี – นครนายก) และสามารถเชื่อมต่อไปยังถนนทางหลวงชนบทสาย นย.3001 (องครักษ์ – บางน้ำเปรี้ยว) ได้อีกด้วย

โดยได้ดำเนินการก่อสร้างขยายถนนเดิมจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ผิวจราจรแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ผิวจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร และก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามทางรถไฟ สะพานข้ามคลองชลประทาน รวม 9 แห่ง พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง สัญญาณไฟจราจร ป้ายจราจร และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย ใช้งบประมาณรวม 716.350 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นเส้นทางสนับสนุนการขนส่งสินค้าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าเรือแหลมฉบัง ทำให้การเชื่อมโยงเส้นทางการขนส่งจากแหล่งผลิตสินค้าไปสู่ตลาดและผู้บริโภคได้อย่างเป็นระบบ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยว สร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครนายกและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนเป็นเส้นทางที่ช่วยแบ่งเบาการจราจรบนถนนสายหลักได้อีกทางหนึ่งด้วย



Written By
More from pp
AICute นวัตกรรมจุฬาฯ ประเมินโอกาสเป็น Stroke จากโรคหัวใจ รักษาตรงจุด ลดความเสี่ยงพิการและเสียชีวิต
ทีมวิจัยคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมพัฒนา AICute นวัตกรรรมตรวจประเมินโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากโรคหัวใจ มุ่งช่วยโรงพยาบาลที่ขาดแคลนแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ลดความแออัดในโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงเรียนแพทย์
Read More
0 replies on “กรมทางหลวงชนบท รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพการขนส่งอย่างเป็นระบบ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขยายถนนสาย นย.3007 จังหวัดนครนายก กว่า 18 กิโลเมตร คาดแล้วเสร็จกลางปี 2566”