เร่งกวาดล้าง “ขบวนการลักลอบนำเข้าหมู” ก่อนพังทั้งประเทศ

“สถานการณ์ต่างๆในวงการหมูกำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่ดี ทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อดึงเกษตรกรกลับสู่อาชีพ ช่วยกันเร่งผลิตผลผลิตหมูสู่ตลาด แต่กลับมีขบวนการบ่อนทำลายชาติด้วยการนำเข้าหมูจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก เข้ามาขายปะปนในพื้นที่ต่างๆของไทย เพื่อหวังเพียงผลกำไรของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับคนไทย ผมขอวอนให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ในด่านชายแดนไทยและฝ่ายปกครองต้องเร่งสกัดกั้น และปราบปรามขบวนการนี้ให้สิ้นซากโดยเร็ว” คุณสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งเสียงขอร้องแทนคนเลี้ยงหมูทั้งประเทศ ด้วยขบวนการลักลอบนำเข้าหมูที่เกิดขึ้นกำลังทำร้ายเกษตรกร-ผู้บริโภคและจะสร้างปัญหาให้แก่ประเทศไทยไม่รู้จบ

เช่นเดียวกับ คุณสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือที่ระบุว่า “ขบวนการลักลอบนำเนื้อสุกรและชิ้นส่วนผิดกฎหมายมาจากชายแดนภาคเหนือและอีสาน รวมถึงจาก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน บราซิล อิตาลี เบลเยียม และเกาหลี กำลังบ่อนทำลายระบบการป้องกันโรคของไทย เป็นคลื่นใต้น้ำที่นำพาทั้งโรคหมูและสารอันตรายเข้ามา ทำลายทั้งเกษตรกรไทย จากความเสี่ยงต่อโรคระบาด และการถูกบิดเบือนตลาดจากปริมาณหมูที่นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย”

ขบวนการลักลอบนำเข้าหมูดังกล่าว จะสำแดงเท็จเป็นสินค้าประเภทอาหารทะเล หรือวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง โดยเนื้อหมูเหล่านี้ไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบโรคสัตว์ ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ทั้งยังไม่มีเอกสารใบอนุญาตนำเข้า ไม่เสียภาษีตามระบบ และไม่มีหลักฐานแสดงที่มาของแหล่งกำเนิด เป็นความเสี่ยงที่จะนำโรคจากต่างประเทศเข้ามาด้วย เนื่องจากในแต่ละประเทศต่างมีโรคประจำถิ่นของตนเอง

การปล่อยให้มีชิ้นส่วนหมูเข้ามาจึงเสี่ยงต่อการนำเข้าโรคต่างถิ่นที่จะก่ออันตรายต่อหมูไทย และยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์โรคระบาดในประเทศให้รุนแรงขึ้นได้ ขณะที่หมูนำเข้าจะเข้ามาในรูปแบบเนื้อหมูแช่แข็ง ซึ่งเชื้อไวรัสหลายตัวมีความทนทานมากอยู่ได้เป็นปีที่อุณหภูมิแช่แข็ง หากหลุดเข้ามาปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมของไทย ย่อมส่งผลกระทบหนักต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมอาหารของทั้งประเทศ

ประเทศไทยเลี้ยงหมูโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และมี พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารส้ตว์ ที่ต้องปราศจากสารเร่งเนื้อแดง แต่เนื้อหมูลักลอบไม่ผ่านขั้นตอนของการตรวจสอบสารเหล่านี้ หมูจากบางประเทศเป็นหมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงได้อย่างเสรี สารดังกล่าวคือสารในกลุ่มเบต้าอะโกรนิสต์

เช่น เคล็นบิวเทอโรลและซัลบูตามอล เป็นส่วนผสมของตัวยารักษาผู้ป่วยโรคหอบหืด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการขยายหลอดลมและช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ที่ได้รับสารตกค้างนี้มีอาการกล้ามเนื้อสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนและปวดศีรษะ นับเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งรัฐไม่ควรนำสุขภาพของคนไทยมาเสี่ยงกับการนำเข้าหมูที่มีสารตกค้างและตรวจสอบยากเช่นนี้ ในทางกลับกัน รัฐควรยก “สุขภาพ” ของคนไทยให้อยู่เหนือกว่าผลประโยชน์ของขบวนการลักลอบนี้

บ้านเรากำลังอยู่ระหว่างการฟื้นฟูวงการการเลี้ยงหมู ดึงให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกลับเข้าสู่ระบบให้เร็วที่สุด หลังต้องสูญเสียเกษตรกรไปกว่า 50% จากภาวะโรคระบาด ASF ที่ส่งผลให้ปริมาณหมูน้อยลงอย่างมากจนถึงปัจจุบัน การจะกลับเข้าสู่ระบบได้ เกษตรกรต้องลงทุนในมาตรการป้องกันโรคอย่างดีที่สุด และแน่นอนว่าต้องมั่นใจด้วยว่าจะสามารถขายผลผลิตได้คุ้มค่ากับต้นทุน แต่การนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ประเทศตะวันตกไม่รับประทาน หรือเท่ากับส่งสิ่งที่เป็นขยะเข้ามาแข่งขันกับผลผลิตของเกษตรกรในประเทศไทยย่อมขายได้ในราคาถูก เรียกความสนใจจากผู้บริโภคซึ่งไม่ทราบที่มาที่ไป ได้เป็นอย่างดี สิ่งนี้จึงบั่นทอนความมั่นใจของเกษตรกรไทย ส่งผลให้หมดแรงจูงใจที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงหมูต่อไป

หากไทยไม่สามารถกวาดล้างขบวนการที่เห็นแก่ตัวนี้ให้หมดไปจากประเทศ จะไม่มีเกษตรกรคนไหนกล้าที่จะลงหมูเข้าเลี้ยงอีก ย่อมเท่ากับทำลายผู้ผลิตอาหาร ทำลายความมั่นคงทางอาหารของประเทศ คนไทยต้องพึ่งพาหมูต่างชาติตลอดเวลา ไม่สามารถเลี้ยงหมูกินเองได้เหมือนในอดีต เมื่อนั้นหายนะจะส่งตรงถึงทุกครัวเรือน ผลกระทบจะเกิดเป็นโดมิโนไปถึงเกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ร่วม 7 ล้านครัวเรือน ภาคเวชภัณฑ์ ผู้ผลิตอุปกรณ์การเลี้ยง ระบบขนส่ง จนถึงภาคธุรกิจอื่นๆ ตลอดห่วงโซ่ ที่ต้องล่มสลายไปพร้อมกัน เป็นการบั่นทอนความมั่นคงทางอาหารของประเทศเต็มรูปแบบทีเดียว


Written By
More from pp
ธนาคารโลก ประเมินผล MEA พุ่ง บริการขอไฟฉับไวอันดับ 6 โลก ชูความยากง่ายประกอบธุรกิจไทย เพิ่มขึ้น 6 อันดับ รั้งที่ 21 Doing Business 2020
วันนี้ (25 ตุลาคม 2562) นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เปิดเผยผล การจัดอันดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2020) ในการประชุมผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล (Teleconference) จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่งที่ MEA สามารถรักษาตำแหน่งความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าที่รวดเร็วเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ช่วยยกระดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจประเทศไทยเป็นอันดับที่ 21 ของโลก เลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับจากปีที่ผ่านมา โดยมีนายกฤษฎา ตันศิริเสริญกุล ผู้ตรวจการ MEA เป็นผู้แทนผู้ว่าการในการรับฟังผลครั้งนี้ ณ ห้องประชุมสำนักงานธนาคารโลกประจำประเทศไทย อาคารสยามพิวรรธน์ถ.พระราม 1 กรุงเทพฯ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร ที่ให้บริการด้านจำหน่ายไฟฟ้าองค์กรเดียวของประเทศไทยที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมรับการประเมินความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าในการจัดอันดับจากธนาคารโลก (World Bank) ที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) จาก 190 ประเทศทั่วโลก ผลการจัดอันดับประจำปี พ.ศ. 2563 พบว่า ความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยพัฒนารวดเร็วโดดเด่นขึ้นอย่างมาก โดยคะแนนการประเมินเพิ่มจาก 98.57 เมื่อปี พ.ศ. 2562 มาเป็น 98.70 ในปี พ.ศ. 2563 รักษาตำแหน่งเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งผลคะแนนดังกล่าว เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยยกระดับภาพรวมความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย เลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 27 ของปี 2562 เป็นอันดับที่ 21 ของโลก ถือเป็นการเลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับ สำหรับปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คะแนนการประเมิน Doing...
Read More
0 replies on “เร่งกวาดล้าง “ขบวนการลักลอบนำเข้าหมู” ก่อนพังทั้งประเทศ”