กรมทางหลวง เร่งสำรวจออกแบบโครงข่ายสนับสนุนการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันตก ทางหลวงหมาย 4 สาย อำเภอกะเปอร์ – อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง รองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน

18 พฤษภาคม 2565-นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายผลักดันให้ กรมทางหลวง (ทล.) เร่งดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทุกมิติ

ยกระดับถนนด้านความปลอดภัยและเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม อีกทั้งยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมเร่งรัดให้ ทล. ดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบโครงข่ายสนับสนุนการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันตกบนทางหลวงหมายเลข 4 สาย อำเภอกะเปอร์ – อำเภอสุขสำราญ

ทล. โดยสำนักสำรวจและออกแบบ ขานรับนโยบายดังกล่าว จึงเร่งดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบเพื่อขยาย ทล.4 (ถ.เพชรเกษม) ให้มีขนาด 4 ช่องจราจร เนื่องจากสภาพเส้นทางเดิมเป็นทางลาดยางแบบแอสฟัลท์ติกคอนกรีตขนาด 2 ช่องจราจร พื้นที่เป็นที่ราบสลับลูกเนินทำให้การเดินทางและการขนส่งสินค้าไม่ได้รับความสะดวก

ทล. เล็งเห็นความสำคัญจึงดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ กม. 648+000 พื้นที่ ต.กะเปอร์ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง แนวเส้นทางจะผ่านโรงพยาบาลกะเปอร์ ทล.4130 ไป บ้านนา และตัดผ่านชุมชน บ้านชาคลี และบ้านบางมัน จนกระทั่งสิ้นสุดโครงการที่ กม. 673+800 (บริเวณบ้านบางมัน) อยู่ในพื้นที่ ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระนอง โดยใช้วงเงินงบประมาณในการก่อสร้าง 1,930 ล้านบาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดเตรียมรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อจัดส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2568 โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี มีรายละเอียดงานดังนี้

สำหรับรูปแบบโครงการได้ออกแบบรูปตัดทางหลวงหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศมี 3 ลักษณะ คือ

1. รูปแบบโดยทั่วไปบริเวณพื้นที่ราบและลูกเนินดำเนินการออกแบบ ดังนี้

– ออกแบบขนาด 4 ช่องจราจร (ไป – กลับทิศทางละ 2 ช่องจราจร) มีเกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50  เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.20 เมตร เกาะกลางแบบแท่งคอนกรีตกว้าง 3 เมตร

2. บริเวณพื้นที่ผ่านย่านชุมชน ออกแบบเป็นทางขนาด 8 ช่องจราจร ดังนี้

– บริเวณพื้นที่ บ.บางหิน ออกแบบขนาด 8 ช่องจราจร มีขนาดช่องจราจรสายหลัก จำนวน 4 ช่องจราจร (ไป – กลับ ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) เกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) และเกาะยก (Raised Median) ปูด้วยพื้นคอนกรีตพิมพ์ลาย (Stamped Concrete) กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร ด้านในกว้าง 1.50 เมตร ช่องจราจรทางขนานข้างละ 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3 เมตร เกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) หรือเกาะกลางแบบยก (Raised Median) กว้าง 3 เมตร มีการก่อสร้างรางระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กด้านซ้ายทางกว้าง 3 เมตร

– บริเวณพื้นที่ย่านชุมชน อ.กะเปอร์ และ บ.บางมัน ได้ออกแบบทางหลวงย่านชุมชนขนาด 8 ช่องจราจร มีขนาดช่องจราจรสายหลัก 4 ช่องจราจร (ไป – กลับ ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) กว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร ด้านในกว้าง 1.50 เมตร ช่องจราจรทางขนานข้างละ 2 ช่องจราจร กว้างช่องละ 3เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2 เมตร ด้านในกว้าง 0.50 เมตร มีเกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) และแบบเกาะกลางแบบยก (Raised Median) กว้าง 3 เมตร และทางเท้ากว้าง 3.50 เมตร พร้อมระบบระบายน้ำและระบบสาธารณูปโภคสองข้างทางหลวง

3. แนวเส้นทางโครงการช่วงตัดผ่านพื้นที่ภูเขาชาคลี รูปตัดทางหลวงจะเป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องจราจร  (ไป – กลับ ทิศทางละ 2 ช่องจราจร) ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50  เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.20 เมตร เกาะกลางแบบแท่งแบริเออร์ (Median Barrier) กว้าง 3 เมตร และมีช่องจราจรสำหรับรถบรรทุก (Climbing Lane) 1 ช่องจราจร ความกว้าง 3.50 เมตร โดยรูปแบบจะมีทั้งการขยายทางหลวงเข้าไปทางด้านภูเขาซึ่งอยู่ขวาทางและรูปแบบที่มีการตัดภูเขาเพื่อปรับความลาดชันของถนนและช่วงที่ต้องปรับแก้โค้งราบให้มีความปลอดภัย

ทั้งนี้ เส้นทางโครงการมีบางช่วงที่ตัดผ่านย่านชุมชนและทางหลวงท้องถิ่น จึงได้ออกแบบจัดการจราจร ดังนี้

รูปแบบที่ 1 รูปแบบสะพานทางลอดกลับรถ (Bridge for Underpass) จำนวน 9 แห่ง โดยรูปแบบนี้เป็นการก่อสร้างสะพานบกบนทางหลวงโครงการให้ถนนท้องถิ่นลอดผ่านและกลับรถ ออกแบบให้มีความสูงเพียงพอที่รถประเภทต่าง ๆ สามารถลอดผ่านได้ เพื่อให้ประชาชนใช้งานได้สะดวกและปลอดภัย

รูปแบบที่ 2 รูปแบบจุดกลับรถใต้สะพานข้ามคลอง จำนวน 13 แห่ง โดยรูปแบบนี้จะเป็น
การก่อสร้างจุดกลับรถใต้สะพานข้ามคลอง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนในท้องถิ่นใช้ระบบกลับรถในโครงการให้มี
ความปลอดภัยขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยยกระดับโครงข่ายทางหลวงสนับสนุนการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันตก รองรับการเดินทางและภาคขนส่งในพื้นที่ภาคใต้ อันเป็นฟันเฟืองสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2570)

รวมทั้งสอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดระนองตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (Southern Economic Corridor : SEC) และความเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์หรือสะพานระเบียงเศรษฐกิจ) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคและประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน



Written By
More from pp
“ร.อ.ธรรมนัส” เชื่อชาวกำแพงเพชรเทคะแนนให้ผู้สมัครส.ส. พปชร.ทั้ง 4 เขต หลังโชว์ผลงานสร้างชื่อในสภาฯ มั่นใจเลือกตั้งครั้งนี้ภาคเหนือได้มากกว่าเดิม
26 มีนาคม 2566 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า อดีต ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานภาคเหนือ กล่าวว่า ส.ส.หน้าเก่าของพรรคพลังประชารัฐทั้ง 4...
Read More
0 replies on “กรมทางหลวง เร่งสำรวจออกแบบโครงข่ายสนับสนุนการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านตะวันตก ทางหลวงหมาย 4 สาย อำเภอกะเปอร์ – อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง รองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();