กรมทางหลวง ขยายทางคู่ขนานรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต

กรมทางหลวง ขยายทางคู่ขนานรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเมืองหลัก

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 และ 3902 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) ว่า กรมทางหลวง (ทล.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการคมนาคมขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยพร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชน รองรับการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งและระบบบริหารขนส่งสินค้าและบริการ

จึงได้มีการออกแบบก่อสร้างทางคู่ขนาน 3 ช่องจราจร เพื่อให้สามารถรองรับกับปริมาณจราจรในอนาคต ซึ่งได้ทำการออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเขตทางหลวงที่มีอยู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและพัฒนาส่งเสริมโครงข่ายถนนด้านทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ลดปัญหาการจราจรในพื้นที่ เชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย M6 บางปะอิน – นครราชสีมา และ M81 บางใหญ่ – กาญจนบุรี ต่อลงภาคใต้ และโครงข่ายอื่น ๆ ในอนาคต เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งของประเทศที่ปัจจุบันมีปริมาณจราจรสูง โครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทและแผนดำเนินการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของ ทล.

โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3901 และ 3902 สายทางคู่ขนานวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) แบ่งการก่อสร้างเป็น 8 ตอน ฝั่งซ้าย 4 ตอน และฝั่งขวา 4 ตอน มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางบัวทองไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน ระหว่าง กม. ที่ 59+988 – 86+559 ระยะทางยาวประมาณ 35.57 กิโลเมตร แล้วเสร็จจำนวน 1 ตอน ได้แก่ ตอน 1 ด้านขวาทาง บริเวณ กม. ที่ 62 – 73 ลักษณะโครงการก่อสร้างเป็นงานก่อสร้างทางคู่ขนาน เป็นการก่อสร้างขยายช่องจราจร จากเดิม 2 ช่องจราจร มาตรฐานทางชั้นพิเศษ ขนาด 3 ช่องจราจร ผิวจราจรแบบคอนกรีต กว้างช่องจราจรละ 3.5 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 1.5 – 2.5 เมตร ด้านในกว้าง 1.5 เมตร กั้นขอบทางด้านในด้วยคอนกรีตแบริออร์ กว้าง 0.45 เมตร ผิวทางแบบคอนกรีต งานก่อสร้างสะพานใหม่ จำนวน 7 แห่ง และขยายความกว้างสะพานเดิม จำนวน 1 แห่ง พร้อมทั้งออกแบบระบบระบายน้ำและการติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด งบประมาณ 7,376.59 ล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 78 คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2566

ทั้งนี้ เมื่อโครงการดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเดินทาง ทำให้โครงข่ายทางหลวงและทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและลดการเกิดอุบัติเหตุบนถนน ช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดลดการสิ้นเปลืองพลังงานจากการจราจรติดขัดที่ทำให้ต้นทุนการขนส่งของประเทศลดลง ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดใกล้เคียง เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานครให้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น และเป็นการพัฒนาและปรับปรุงทัศนียภาพสองข้างทางให้ดูเรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น

ทล. ขอความร่วมมือผู้ใช้ทาง “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)



Written By
More from pp
หยุด 3 นิ้วจุดเปลี่ยนประเทศ?-สันต์ สะตอแมน
ผสมโรง สันต์ สะตอแมน             ตำรวจทำตามหน้าที่..             บุกจับวัยรุ่นสาวอายุ 19 ปี กับแฟนหนุ่มอายุ 20 ปีกลางดึกตามหมายศาล...
Read More
0 replies on “กรมทางหลวง ขยายทางคู่ขนานรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ด้านตะวันตก) เพื่อแก้ปัญหาจราจรเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในอนาคต”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i < len; i++ ) { var circle = indicator[i].querySelector('.progress-ring__circle'); var radius = circle.r.baseVal.value; var circumference = radius * 2 * Math.PI; circle.style.strokeDasharray = `${circumference} ${circumference}`; circle.style.strokeDashoffset = `${circumference}`; function setProgress(percent) { const offset = circumference - percent / 100 * circumference; circle.style.strokeDashoffset = offset; } var dataCircle = indicator[i].getAttribute('data-circle'); setProgress(dataCircle); } }; ratingTotalIndicator(); var slideDock = function() { var slide_dock = document.querySelector('.slide-dock'); if (typeof slide_dock === 'undefined' || slide_dock === null) { return; } function isVisible (elem) { var { top, bottom } = elem.getBoundingClientRect(); var vHeight = (window.innerHeight || document.documentElement.clientHeight); return ( (top > 0 || bottom > 0) && top < vHeight ); } viewport = document.querySelector('#footer'); window.addEventListener('scroll', function() { if ( isVisible(viewport) ) { slide_dock.classList.add('slide-dock-on'); } else { slide_dock.classList.remove('slide-dock-on'); } }, false); var close = document.querySelector('.close-dock'); close.addEventListener('click', function(e) { e.preventDefault(); slide_dock.classList.add('slide-dock-off'); }); }; slideDock();