สามารถ ไม่แปลกใจ ที่วิโรจน์ จะคิดรื้อสนามหลวง เคยบอกแล้วนี้คือการหาเสียง หรือ หวังผลอะไรไกลกว่านั้นอย่าทำตัวแบบสุภาษิตที่ว่า ปากปราศรัยใจเชือดคอ
นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีที่นาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้จะทวงคืนสนามหลวงให้ประชาชน โดยนายสามารถ ได้โพสต์ว่า
“ผมไม่แปลกใจเลยที่เมื่อวานนี้ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้หาเสียงว่าจะรื้อรั้วล้อมสนามหลวงออก และ ใช้วาทกรรมว่า คืนสนามหลวงให้พ่อแม่พี่น้องประชาชน การใช้คำวาทกรรมนี้ ผมรู้
ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานใน พ.ศ. 2520
ท้องสนามหลวง เดิมเรียกว่า ทุ่งพระเมรุ เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”
นั่นคือประวัติที่มาของคำว่าท้องสนามหลวง ซึ่งกิจกรรมที่ใช้ในท้องสนามหลวงในปัจจุบันได้มีการใช้ท้องสนามหลวงเป็นพื้นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ของประเทศ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี, พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530, พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 รวมทั้งงานพระเมรุมาศและพระเมรุของพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป เฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีการใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงในการก่อสร้างพระเมรุกลางเมืองมาแล้ว 7 ครั้ง คือ
พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพ.ศ. 2499 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพ.ศ. 2528 สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7พ.ศ. 2539 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพ.ศ. 2551 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีพ.ศ. 2560 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ดังนั้น การที่นาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ใช้คำวาทกรรมดังกล่าวนั่นหมายถึงอะไร ผมว่า พ่อแม่พี่น้องประชาชนคงจะรู้ทัน นายวิโรจน์ กันมากขึ้น สิ่งที่นายวิโรจน์ ทำคล้ายเผด็จการในอดีตทำคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี โดยใช้สนามหลวงเป็นตลาดนัดสนามหลวงมีการเปิดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 จนกระทั่งกรุงเทพมหานครได้เตรียมใช้พื้นที่สนามหลวงจัดงานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงได้ปิดตลาดนัดสนามหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา
แล้วย้ายตลาดนัดมายังสวนจตุจักรจนถึงปัจจุบัน และล่าสุดในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ท้องสนามหลวงถูกใช้เป็นที่ชุมนุมของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมระหว่างวันที่ 19–20 กันยายน พ.ศ. 2563 และเป็นที่ฝังหมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 ซึ่งแกนนำถูกตั้งข้อหาทำลายโบราณสถาน ซึ่งใครอยู่เบื้องหลังการชุมนุมครั้งนั้น ผมคงไม่ต้องอธิบาย
ดังนั้น ในโบราณชาวบ้านเค้าเรียกการกระทำของนาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นสำนวนสุภาษิตที่ว่า “ปากปราศรัยใจเชือดคอ” โดยมีความหมายถึง ปากพูดดีแต่ใจคิดร้าย หรือการทำในสิ่งที่เลวร้าย
ผมจึงขอเตือนนาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ให้เป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ที่ทำงานอาสาเพื่อคนกรุงเทพ หาใช่ทำเพื่อคนใดคนนึง สุดท้ายผมขอบอกว่าผมรู้ทันคุณนะ คุณ วิโรจน์ “