โดยสถานการณ์อุทกภัยวันนี้ (7 ต.ค.2564) เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ 9 จังหวัด 21 สายทาง การจราจรผ่านไม่ได้ 19 แห่ง บางพื้นที่ยังมีปริมาณน้ำท่วมสูง นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือพายุดีเปรสชัน “ไลออนร็อก” ในช่วงนี้
โดยให้ติดตามการเตือนภัยของกรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้ดำเนินการตามแผนป้องกันสาธารณภัยอย่างเคร่งครัด และมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงทีในการป้องกัน, การฟื้นฟู และการเยียวยาหลังสถานการณ์คลี่คลายในทุกมิติ
นอกจากนี้ ให้รายงานผลการดำเนินงานมายังกระทรวงฯ รับทราบทุกวัน และให้ประชาสัมพันธ์การดำเนินการไปยังสื่อมวลชนและประชาชนให้รับทราบด้วยตามแผนปฏิบัติการเดิมที่ได้สั่งไว้ พร้อมกำชับให้บูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ปลอดภัย
ทั้งนี้ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องจักรตลอดเวลา 24 ชั่วโมง และเมื่อเกิดภัยพิบัติให้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุดรวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินให้ผู้บริหารในพื้นที่เข้าไปดำเนินแก้ไขปัญหาทันที และรายงานผู้บริหารในส่วนกลางจนกว่าเหตุการณ์จะยุติ
และเมื่อเกิดเหตุทางขาด สะพานขาดหรือชำรุด ให้จัดเจ้าหน้าที่เครื่องจักรและสะพานเบลีย์ (สะพานเหล็กชั่วคราว) เข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาทันที พร้อมทั้ง ให้ทุกหน่วยงานติดตามเฝ้าระวังและรายงานข้อมูลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าระบบบริหารงานภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินของกรมทางหลวงอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะปกติ
สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน 9 จังหวัด 21 สายทาง รวม 44 แห่ง การจราจรผ่านได้ 25 แห่ง ผ่านไม่ได้ 19 แห่ง โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 11 จังหวัด ได้แก่
1) จ.ขอนแก่น 2) จ.นนทบุรี 3) จ.สระบุรี 4) จ.อ่างทอง 5) จ.ลพบุรี 6) จ.กำแพงเพชร 7) จ.พระนครศรีอยุธยา 8) จ.สุพรรณบุรี 9) จ.นครสวรรค์
โดยทางหลวงที่มีระดับน้ำสูงได้แก่ ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ระดับน้ำสูง 280 ซม. – ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ระดับน้ำสูง 150 ซม. ทล.32 อ่างทอง-ไชโย ระดับน้ำสูง 130-150 ซม. และ ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ระดับน้ำสูง 175 ซม. โดยมีการการจราจรผ่านไม่ได้ 19 แห่ง ดังนี้ .
1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม.ที่ 329 +913 (จุดกลับรถใต้สะพานบ้านกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 280 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้
– ทล.2131 บ้านสะอาด-เหล่านางงาม ช่วง กม.ที่ 6+800 – 8+500 ด้านซ้ายทางและขวาทาง ระดับน้ำสูง 90-100 ซม. ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงหมายเลข 2062 บ้านทุ่ม-บัญจาคีรี กม.0 ไปออกทางหลวงหมายเลข 12 บ้านฝาง-ขอนแก่น กม.540 เข้ามืองขอนแก่น
2. จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 16+950 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกมุ่งหน้าแคราย) ระดับน้ำสูง 30ซม. ใช้จุดกลับรถต่างระดับบางใหญ่ที่ กม.18+500 ทดแทน
– ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 17+000 (จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางแพรกมุ่งหน้าถนนกาญจนาภิเษก ระดับน้ำสูง 30 ซม. ใช้จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่ที่ กม.16+600 ทดแทน
3. จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)
– ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 150 ซม. จุดกลับรถผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.33+200 จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul.(วัดค่าย) ระดับน้ำสูง 80 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล. 32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 39+843 (จุดกลับรถวัดดอกไม้) ระดับน้ำสูง 59-55 ซม. จุดกลับรถผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล.32 อ่างทอง-ไชโย ช่วง กม.ที่ 57+500 จุดกลับรถบางศาลา ระดับน้ำสูง 130-150 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล.33 นาคู-ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 36+000 – 36+400 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งป่าโมก) ระดับน้ำสูง 40 ซม. การจราจร ผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
4. จ.ลพบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 3019 สามแยกโคกกระเทียม-สถานีรถไฟโคกกระเทียม ช่วง กม.ที่ 1+750-กม.1+825 ระดับน้ำสูง 35 ซม. ทางเลี่ยงใช้ทางท้องถิ่นแทน
-ทล.3024 บ้านหมี่-เขาช่องลม ช่วง กม.ที่ 5+600-กม.7+300 ระดับน้ำสูง 100 ซม. ทางเลี่ยงใช้ทางท้องถิ่นแทน
5. จ.กำแพงเพชร (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล.1117 ตอน คลองแม่ลาย-อุ้มผาง ช่วง กม.ที่ 89+100 ดินสไลด์
– ทล.1117 ตอน คลองแม่ลาย-อุ้มผาง ช่วง กม.ที่ 93+155 ดินสไลด์
6. จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)
– ทล. 347 บางกระสั้น–บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 50 ซม. การจราจรผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. การจราจรผ่าน ไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
-ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 175 ซม. การจราจรผ่าน ไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
7. จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)
– ทล. 33 สุพรรณบุรี
-นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 70 ซม. การจราจรผ่าน ไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
– ทล. 340 สาลี – สุพรรณบุรี กม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 100 ซม. การจราจรผ่าน ไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน 8
จ.นครสวรรค์ (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)
– ทล. 1 บ้านหว้า – วังไผ่ ช่วง กม.ที่ 339+600 ใต้สะพานเดชาติวงศ์ ระดับน้ำสูง 80 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่คาดว่าจะเกิดความสุ่มเสี่ยง พร้อมขอให้ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1