แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเผยสถานการณ์โรคปอดในเมืองไทยยังน่าห่วง

ฟิลิปส์ร่วมรณรงค์ให้ความรู้เนื่องใน วันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโลก”  เพราะเราอยากเห็นคนไทยปอดแข็งแรงกว่าเดิม

กรุงเทพฯ ประเทศไทย –  ทุกวันพุธในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนในแต่ละปี  มีวันสำคัญด้านสุขภาพที่กำหนดโดยองค์กรอนามัยโลกและองค์การโรคถุงลมโป่งพองอยู่ วัน นั่นคือ “วันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโลก หรือ World COPD Day” (COPD :Chronic Obstructive Pulmonary Disease) โดยปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จุดประสงค์เพื่อรณรงค์  ให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคนี้ และให้ความสำคัญกับการตรวจสมรรถภาพการทำงานปอดมากขึ้น ฟิลิปส์ ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพ จึงได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับ    โรคปอดและอัพเดทสถานการณ์ในประเทศไทย  ซึ่งปัจจุบันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ ของประเทศไทย

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนฤชา จิรกาลวสาน ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า จากสถิติในปี 2561 มีคนไทยป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพองกว่า ล้านคน เฉลี่ยคือนาทีละ คน โดยมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพราะอาการของโรคมากกว่า ล้านคน พบเฉลี่ยในกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีพฤติกรรมการสูบบุรี่ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศสูง นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอยู่ที่ 5% และพบสถิติสูงถึง 7% ในกลุ่มคนที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป”

จุดเริ่มต้นของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเกิดจากเซลล์อักเสบที่เพิ่มขึ้นในหลอดลมและปอด ซึ่งสาเหตุอันดับหนึ่งของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเกิดจากการสูบบุหรี่ ทั้งการเป็นผู้สูบเองและการรับควันบุหรี่มือสอง การรับมลพิษทางอากาศ อาทิ ฝุ่น PM 2.5 สะสม หรือควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ และอีกหนึ่งสาเหตุที่คนส่วนใหญ่มักคิดไม่ถึงคือการสูดดมควันจากการทำอาหาร โดยเฉพาะเตาถ่านก็สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคปอดได้เช่นกัน

“อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบ่งออกได้ แบบ คือ แบบหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการไอติดต่อกัน เดือนต่อเนื่องนานกว่า ปี รวมถึงเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติ และแบบที่สอง คือแบบถุงลมโป่งพอง อาการเหนื่อยง่ายจะเด่นชัดกว่าการไอ ในบางรายแค่นั่งเฉยๆก็เหนื่อยได้ โดยอันตรายของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ ปอดจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติเหมือนเดิมได้ การรักษาจึงเป็นแบบประคับประคองตามอาการ ซึ่งหากผู้ป่วยเข้ารับการตรวจสมรรถภาพปอดและตรวจพบเร็วก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ แต่หากไม่เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ความรุนแรงของโรคมีโอกาสพัฒนา รวมทั้งโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเองนั้น ก็เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดและโรคหัวใจได้ในอนาคต” รศ. พญ.นฤชา กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้น ทางการแพทย์สามารถแบ่งตามผลการตรวจสมรรถภาพปอดและลักษณะอาการ อันได้แก่

  1. ค่าสมรรถภาพปอดจำเป็นในการวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและสามารถบอกระดับความรุนแรงของการอุดกั้นได้
  2. อาการของโรคแบบหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือ แบบถุงลมโป่งพอง แต่โดยทั่วไปผู้ป่วยอาจมีอาการทั้งสองแบบร่วมกัน
  3. จำนวนครั้งที่อาการกำเริบต่อปียิ่งกำเริบมากและถี่ จะมีโอกาสทำให้สมรรถภาพปอดลดลงเพิ่มขึ้น

การจำแนกประเภทของผู้ป่วยนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมตามอาการและความรุนแรงของโรค รศ. พญ.นฤชา ได้อธิบายถึงการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังว่า “แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะใช้วิธีการประคับประคองตามอาการ โดยอันดับแรก แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ทั้งการสูบบุหรี่ สวมหน้ากากอนามัยหากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษสูง ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี และจะมีการให้ยาสูดช่วยขยายหลอดลม ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงแพทย์อาจจะใช้ยาสูดชนิดสเตียรอยด์ การฝึกบริหารการหายใจ และการผ่าตัดปอดโดยตัดส่วนที่มีถุงลมโป่งพองในบางรายที่มีข้อบ่งชี้ เป็นต้น นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจขณะที่อยู่ที่บ้าน ทั้งนี้ผลการรักษาก็ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยด้วย”

จากสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบและเสียชีวิต ส่วนหนึ่งเกิดจากการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเครื่องช่วยหายใจสามารถช่วยเพิ่มการหายใจ ช่วยกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่ร่างกาย จึงช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งอยู่เกิน 53 มมปรอท หลังจากที่มานอนโรงพยาบาลด้วยอาการปอดอุดกั้นกำเริบ 2-4 อาทิตย์ แต่แพทย์อนุญาตให้ไปพักรักษาตัวที่บ้าน หากใช้เครื่องช่วยหายใจในขณะนอนหลับ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าผู้ที่ไม่ใช้เครื่องช่วยหายใจ

ด้านนายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันตัวเลขของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะมีมากกว่า 251 ล้านคนทั่วโลก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ ในปี 2020,2  สำหรับในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นกว่า 30%3 ประกอบกับมลพิษในอากาศที่เพิ่มมากขึ้นและฝุ่นพิษ PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ ฟิลิปส์ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการดูแลสุขภาพและผู้นำด้านนวัตกรรมเกี่ยวกับการนอนหลับและการหายใจ (Sleep and Respiratory Care) เรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอนวัตกรรมอันทรงคุณค่าเพื่อช่วยดูแลสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน เพราะถึงแม้ว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยสามารถมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน อย่างนวัตกรรมล่าสุดกับเครื่องช่วยหายใจ Trilogy Evo ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจที่สามารถใช้งานได้ทั้งที่บ้านและในโรงพยาบาล จึงช่วยให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการส่งต่อข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมทั้งให้การดูแลผู้ป่วยด้วยอากาศบริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เรายังมีเครื่องพ่นละอองยา InnoSpire series และ OptiChamber Diamond spacer ซึ่งมีทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เครื่องออกซิเจนแบบพกพาSimplyGo Mini, และเครื่องช่วยหายใจขณะหลับและเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกในตระกูล DreamStation 

“อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของการเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ หรือการอยู่ในมลพิษทางอากาศเป็นเวลานาน จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ซึ่งน่าจะดีกว่าการเกิดโรคแล้วค่อยมารักษา” นายวิโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

Written By
More from pp
“กิตติ์ธัญญา วาจาดี” เรียกร้อง รัฐบาล เปิดเวทีรับฟังความเห็นนักศึกษาและเยาวชน เตือนหยุดคุกคามประชาชนที่เห็นต่าง
24 ก.ค.63 น.ส.กิตติ์ธัญญา วาจาดี ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนักศึกษาในภาคอีสานหลายจังหวัดออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ว่า
Read More
0 replies on “แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเผยสถานการณ์โรคปอดในเมืองไทยยังน่าห่วง”