ผักกาดหอม
จริงหรือ??
“ไชยันต์ ไชยพร” คือสุดยอดแห่งการเชื่อมโยง และคิดเป็นตุเป็นตะ
ดู “ปิยบุตร แสงกนกกุล” จะร้อนรนผิดสังเกต
วันก่อนถึงกับโพสต์เฟซบุ๊ก…
“พวกมึงเป็นเหี้ยอะไรกับกูนักหนา แค่กูเดินทางมาฝรั่งเศส มาเจอเมีย แค่เนี้ย”
ที่จริงแทบจะไม่ต้องเชื่อมโยงอะไร ระหว่างการแสดงออกของ “ปิยบุตร” กับการชุมนุมของม็อบสามนิ้ว วันที่ ๗ สิงหาคม เพราะไทม์มิงของเรื่องราว มันอธิบายตัวเองค่อนข้างชัดเจน
ไม่มีใครโยงเป็นตุเป็นตะ
และ “ปิยบุตร” ก็รู้ว่าตัวเองคือหนึ่งในแรงจูงใจของม็อบสามนิ้ว
ไม่เฉพาะครั้งนี้ แต่นานนับปีแล้ว
ที่ผ่านมา พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ถูกนำไปผูกโยงการเมืองหลายครั้งแล้ว
เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๓ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยผลการสอบปากคำมืออาร์พีจีถล่มกลาโหมพลาดว่า ได้รับการว่าจ้างให้ก่อเหตุเป็นเงิน ๕ แสนบาท โดยผู้ว่าจ้างมีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ซึ่งเป้าหมายการก่อเหตุคือวัดพระแก้ว
แต่เนื่องจากจรวดพุ่งไปติดสายไฟฟ้าบริเวณปากซอยแพร่งภูธร กระสุนพลาดเป้าเฉี่ยวสายไฟฟ้าไปตกที่กระทรวงกลาโหม
นั่นคือหนึ่งในเรื่องราวเผาบ้านเผาเมือง
มาคราวนี้โหมโรงล่วงหน้าเป็นสัปดาห์ โดยแนวร่วม และแกนนำน้อยใหญ่ แทบทุกคนปลุกระดมไปในทิศทางเดียวกัน
จับความได้ว่า ไปพระบรมมหาราชวัง และความรุนแรงที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้
แล้ว “ปิยบุตร” พูดอะไร?
เอาเฉพาะในเดือนสิงหาคม
“ปิยบุตร” จุดเชื้อเรื่องปฏิรูปแบบปฏิวัติ
“…ทำข้อเสนอให้ราดิคัล (radical) ที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ไต่เพดานให้มากที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ภายใต้ระบอบที่เป็นอยู่
พร้อมกับยืนยัน ยกระดับให้ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอขั้นต่ำที่เราจะไม่ถอยไปมากกว่านี้
หากข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการสนองตอบ สถานการณ์จะสุกงอมจนลื่นไถลให้ปฏิรูปกลายเป็นปฏิวัติ
นี่คือ “ปฏิรูปแบบปฏิวัติ”….”
radical ในความหมายของ “ปิยบุตร” คืออะไร?
ถึงรากถึงโคน, รุนแรง, สุดขีด
ฉะนั้นจะแปลความเป็นอย่างอื่นนอกจาก แนะนำม็อบสามนิ้วทำข้อเสนอทะลุเพดาน
แล้วข้อเสนอทะลุเพดานนี้คืออะไร?
ใครที่ได้อ่านวิธีการนำเสนอของ “ปิยบุตร” ก็น่าจะเข้าใจถึงความหมายของข้อเสนอทะลุเพดาน ได้ไม่แตกต่างกันเท่าไหร่นัก
ในความคิดของ “ปิยบุตร” นั้น คำปราศรัยของอานนท์ นำภา และข้อเสนอ ๑๐ ข้อของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ทำหน้าที่เป็นข้อเสนอเบื้องต้นเท่านั้น
และ “ปิยบุตร” ใช้คำว่า “เรามีเพียงเท่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ”
และต้องแปลงข้อเสนอให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
วิธีการที่ “ปิยบุตร” นำเสนอคือ นำข้อเสนอต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์มาแปลงเป็นร่างรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ ท่ามกลางข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในหลากหลายประเด็น
บางประเด็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
บางประเด็นต้องแก้ไขพระราชบัญญัติ
บางประเด็นต้องปรับเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติ
และบางประเด็นก็เป็นเรื่องพฤติกรรมของคนหรือองค์กร
“แต่หากเรานำข้อเสนอมายกร่างเป็นกฎหมายและรณรงค์ทั่วประเทศ อย่างน้อยข้อเสนอนั้นก็จะอยู่ในสถานะ “พร้อมใช้” และรอสถานการณ์ที่สุกงอมเพียงพอมาถึง”
มาถึงบรรทัดนี้ การที่ “ปิยบุตร” บอกว่า “อาจารย์ไชยันต์” คือสุดยอดแห่งการเชื่อมโยง และคิดเป็นตุเป็นตะ ไม่น่าจะใช่แล้ว
น่าจะเป็นสุดยอดแห่งการรู้ทันมากกว่า
เมื่อไหร่คือสถานการณ์ที่สุกงอม?
แม้ “ปิยบุตร” ยืนยันว่า…การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ครั้งนี้เป็นการรณรงค์แบบ “ปฏิรูป” กล่าวคือ ยืนยันว่าประเทศไทยยังคงมีรูปของรัฐแบบราชอาณาจักร ไม่ใช่สาธารณรัฐ
ประเทศไทยยังคงมีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ที่สืบทอดทางสายโลหิต
แต่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบรรดากฎเกณฑ์และธรรมเนียมปฏิบัติทั้งหลายที่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ทั้งหมดให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ต้องจัดวางตำแหน่งแห่งที่ บทบาท และสถานะของสถาบันกษัตริย์เสียใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย….
หากถอดความจะพบว่า สาระสำคัญในเนื้อหามิได้บ่งบอกถึงการปฏิรูป การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแต่อย่างใด
แต่เป็นการลดความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
และการที่ “ปิยบุตร” แนะนำให้ยกระดับข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็น “การปฏิรูปแบบปฏิวัติ”
โดยขยายความว่า
“…ข้อเสนอทั้งหมดก็เพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ในระบอบประชาธิปไตย ไม่สามารถถอยหรือลดไปกว่านี้ได้ และหากไม่รับข้อเสนอเช่นนี้ ด้วยสถานการณ์แบบที่เป็นอยู่ที่ประชาชนก้าวรุดหน้ามากขึ้น ก็จะโหมเร่งให้รุดหน้ามากขึ้น สุกงอมเพียงพอจนปฏิรูปกลายเป็นปฏิวัติ
ทำข้อเสนอให้ราดิคัลที่สุด ก้าวหน้าที่สุด ไต่เพดานให้มากที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ภายใต้ระบอบที่เป็นอยู่
พร้อมกับยืนยัน ยกระดับให้ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอขั้นต่ำที่เราจะไม่ถอยไปมากกว่านี้ หากข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการสนองตอบ สถานการณ์จะสุกงอมจนลื่นไถลให้ปฏิรูปกลายเป็นปฏิวัติ
นี่คือ “ปฏิรูปแบบปฏิวัติ”…”
จะให้ต้องตีความอะไรกันอีก ในเมื่อ “ปิยบุตร” ชี้นำไปถึงการสร้างมวลชน ว่าต้องมัดรวม ๓ ข้อเสนอคือ ๑.ประยุทธ์ออกไป ๒.ทำรัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชน และ ๓.ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เข้าด้วยกัน
วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้มวลชนที่มากพอ
ขณะที่ “อาจารย์ไชยันต์” เล่าถึงการนำเสนอแบบหลบเลี่ยงเพื่อเปรียบเทียบของ “ปิยบุตร” ในการบรรยายพิเศษ #ตลาดวิชาอนาคตใหม่ ของ Common School ในหัวข้อ “บทบาทของสมาชิกสภาแห่งชาติในการกรุยทางปฏิวัติ ๑๗๘๙”
พูดถึงความสำคัญของสมาชิกสภาในการเป็นจุดชี้ขาดของการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่หรือปฏิวัติ และกล่าวถึงการที่ประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรี อันนำมาซึ่งการปฏิวัติฝรั่งเศสครั้งที่ ๒ และการสิ้นสุดของสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศสครั้งแรก
ขณะที่แกนนำสามนิ้ว พูดถึงการบุกวังในไทย วันที่ ๗ สิงหาคม
นี่คือเรื่องบังเอิญอย่างนั้นหรือ?
สำหรับคนที่มีความคิดวนเวียนอยู่กับการปฏิวัติฝรั่งเศสแล้ว คำแนะนำให้ทำข้อเรียกร้องแบบ radical ในการปฏิรูปสถาบัน แทบจะไม่มีอะไรสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเลย
และยิ่งการที่ “ปิยบุตร” ส่งคำท้าทายไปถึง “อาจารย์ไชยันต์” ว่า
“…ไหนๆ ไชยันต์ ไชยพร เชื่อมโยงให้แบบนี้ เพื่อไม่ให้ไชยันต์เสียเที่ยว เดี๋ยววันที่ ๑๐ สิงหาคม ผมไลฟ์สดเล่าเรื่อง ประชาชนปารีสบุกวังตุยเลอรี จนล้มกษัตริย์ เป็นสาธารณรัฐ ให้ทุกๆ คนได้ฟังเลยละกัน…”