ไม่พบการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำเพิ่มขึ้น หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง

29 กรกฎาคม 2564-ไม่พบการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำเพิ่มขึ้น
หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง

• จำนวนอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน
• การวิเคราะห์เคสที่พบได้ยากจากฐานข้อมูลความปลอดภัยทั่วโลกซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซท

อัตราของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติที่พบได้ยาก คือภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) ภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สองนั้น ไม่แตกต่างจากอัตราการเกิดภาวะนี้ในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน

ข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ The Lancet วันนี้ แสดงให้เห็นอัตราโดยประมาณของการเกิดภาวะ TTS หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง พบผู้ที่เกิดภาวะ TTS 2.3 ใน 1,000,000 คน และพบผู้ที่เกิดภาวะTTS 8.1 ใน 1,000,000 คน หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก1 โดยอัตราการเกิดภาวะTTS หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สองไม่แตกต่างจากอัตราที่พบในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน

เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) กล่าวว่า “วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และมีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการแพร่ระบาด ถึงแม้จะมีรายงานการเกิดภาวะ TTS หลังจากการฉีดวัคซีนเข็มแรก ผลการวิเคราะห์นี้ได้สนับสนุนการฉีดวัคซีนให้ครบสองเข็มตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา เพื่อช่วยป้องกันโรคโควิด -19 รวมถึงไวรัสสายพันธุ์ต่างๆที่พบมากขึ้น”

การวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดยใช้ฐานข้อมูลความปลอดภัยทั่วโลกของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งรวบรวมอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมดที่ได้รับรายงานจากการใช้ยาและวัคซีนทั่วโลก สำหรับการวิเคราะห์นี้ รายงานเกี่ยวกับภาวะ TTS ทั่วโลกได้รับการรวบรวมจนถึง วันที่ 30 เมษายน 2564 ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 14 วันหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งและเข็มที่สอง

ผลการทดสอบนี้สอดคล้องกับรายงานล่าสุดจาก Yellow Card ซึ่งเป็นรายงานรวบรวมและบันทึกข้อมูลด้านความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (MHRA) ในสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงอัตราภาวะการเกิดTTS ในระดับต่ำหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง2

ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ชัดเจนสำหรับภาวะ TTS หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้งนี้แอสตร้าเซนเนก้ายังคงดำเนินการและสนับสนุนการสอบสวนอย่างต่อเนื่องในการศึกษาหาสาเหตุและกลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ทั้งนี้อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ยากมากเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้เมื่อมีการตรวจพบและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม3

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า หรือชื่อ Vaxzevria ในสหภาพยุโรป (เดิมเรียก AZD1222)
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้ โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ในกว่า 80 ประเทศ ครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลก ทั้งนี้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ากว่า 800 ล้านโดสได้ถูกส่งมอบให้แก่กว่า 170 ประเทศทั่วโลก รวมถึงกว่า 100 ประเทศผ่านกลไกการจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนของโครงการโคแวกซ์ โดยในสหราชอาณาจักร โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ และ ผู้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.azcovid-19.com/asia/th/th.html

 

Written By
More from pp
ข่าวดี !! “กรมเจรจาฯ” รับสมัครผู้ประกอบการเกษตรกรทั่วไทย เข้าร่วมโครงการ ThEP for FTA MARKET เสริมแกร่งสินค้า BCG ขยายตลาดไกลไร้ขีดจำกัด
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดรับสมัครเกษตรกร ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรกร ผู้ประกอบการไทย เร่งต่อยอดใช้ประโยชน์ FTA “ThEP for FTA MARKET” หนุนผู้ประกอบการสินค้า BCG
Read More
0 replies on “ไม่พบการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำเพิ่มขึ้น หลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่สอง”