“ธรรมนัสกับจริยธรรม”

คนปลายซอย

“ธรรมนัสกับจริยธรรม”

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดี”ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า”เมื่อ ๕ พค.๖๔ นั้น”ดีนักหนา”
“ดี”ถึงขั้นต้องบอก ว่า คุณูเอนกประการ
นอกจากด้านบรรทัดฐานวินิจฉัยทางอรรถคดีแล้ว ยังใช้”เช็คมาตรฐาน”
๑.มาตรฐานสังคมระดับสมาชิกสภานิติบัญญัติ ผู้ทำหน้าที่ออกกฎหมาย และ
๒.ระดับบุคลาจารย์กฎหมายมหา’ลัย ผู้สอนกฎหมาย
เพราะจากปฏิกริยาสะท้อน อันเป็นความเห็น ที่ออกมาต่อคำวินิจฉัยตอนนี้ นั้น ทำให้พอเข้าใจว่า
ไม่แค่ระดับ”ตลาดล่าง”อย่างผมเท่านั้น ที่นิยมใช้”ความรู้สึก”ตอบสนองคำตัดสินศาล
แต่ปรากฏว่าระดับ”ตลาดบน”ก็ไม่ตางกัน
ที่ใช้ความรู้สึก”ถูกใจ-ไม่ถูกใจ”และความเป็นพวก-เป็นฝ่าย แทนสติปัญญาใคร่ครวญตามเหตุ-ตามผล ตอบสนอง
ผมได้อ่านที่นักวิชาการกฎหมาย อย่างน้อย ๒ มหา’ลัย เขาแสดงทัศนะต่อกรณีนี้
ก็น่าทึ่ง ที่เขามีความเห็นว่า…..
การที่ศาลอ้างอำนาจอธิปไตยทางศาลเป็นเหตุผลหลักในการปฏิเสธคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลต่างประเทศ นั้น เขาบอกว่า
“ยากที่จะยอมรับได้”!
ความหมายตามนัยที่เขาพูดก็คือ กรณีนี้ รอ.ธรรมนัสต้องผิดตามกฎหมายไทยด้วย และศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องวินิจฉัยไปตามแนวนั้น จึงจะถูก
จะถูกตามรัฐธรรมนูญไทย หรือจะถูกใจบรรดาจารย์กฎหมาย ผมก็ไม่ทราบความลึกแห่งเจตนาเขา
ก็ไม่เป็นปัญหาอะไร เพราะทุกคนมีอิสรภาพทางความคิดเห็น จะเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย ก็ไม่แปลก
แต่ระดับแวดวงนิติบัญญัติและแวดวงครูบาอาจารย์กฎหมาย พูดแบบ”ขยำรวม”ไม่แยกแยะประเด็นไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ
ตำหนิศาล ถึงขั้นกล่าวหาศาลเป็นเครื่องมือการเมือง นั้้่น มันมิใช่วิสัยปัญญาชนที่มีอธิปไตยชาติในหัวใจจะพึงทำ นั่นอาจทำให้ผู้มืดบอดหลงเชื่อตามได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับบ้านเมืองเลย
เว้นแต่กับพวก”ประสงค์ร้าย”เท่านั้น!
เช่น นี่…….
พรรคก้าวไกล ที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นหัวหน้าพรรค ก็ทราบกันอยู่ คือพรรคนอมินีของธนาธร”คณะก้าวหน้า”
แต่โพสต์ข้อความนี้ หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
พรรคก้าวไกล-Move Forward Party
(ผิดหวังอย่างยิ่ง!”เลขาธิการก้าวไกล”สะท้อนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้”ธรรมนัสค้าแป้ง”ไม่ขาดคุณสมบัติรัฐมนตรี ชี้ ยิ่งทำให้ประชาชนเชื่อว่าเป็น”เครื่องมือทางการเมือง”โดยสมบูรณ์ ซัด”ประยุทธ์”อุ้มต่อเป็นรัฐบาล”โจรอุ้มโจร”เตรียมยื่นปปช.ฟันผิดจริยธรรมร้ายแรงต่อไป)
………………………………….
ครับ…..
ยก”บางตอน”มาเป็นตัวอย่างเท่านั้น ว่ามันเกินกรอบคำว่า”สิทธิเสรีภาพ”ในการเสนอข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรม”ที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไปมาก
พรรคก้าวไกล มีนักกฎหมายระดับศาสตราจารย์คอยปลุกเศก ที่สำคัญในฐานะ”สมาชิกสภานิติบัญญัติ”จะปฏิเสธว่า”ไม่รู้-ไม่เข้าใจกฎหมาย” ย่อมฟังไม่ขึ้น
การกล่าวถึงศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยข้อความในโพสต์ว่า
“ทำให้ประชาชนเชื่อว่าเป็น”เครื่องมือทางการเมือง”โดยสมบูรณ์” ก็ดี
ประยุทธ์”อุ้มต่อเป็นรัฐบาล”โจรอุ้มโจร”ก็ดี
พรรคก้าวไกล ต้องพิสูจน์ให้สังคมสาธารณะได้เห็นจริงตามที่โพสต์นั้นนะ
ไม่เช่นนั้น พรรคก้าวไกลเองนั้่นแหละ จะถูกลงโทษ ไม่พูดด้านอาญา พูดตามพรบ.มาตรฐานทางจริยธรรม
อย่างน้อย ตามหมวด ๒ “มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก”ข้อ ๑๕ ยากรอด!
คุยเป็นพรรคคนรุ่นใหม่ จะสร้างการเมืองมาตรฐาน ประชาธิปไตย แล้วที่โพสต์ นี่น่ะหรือ”การเมืองมาตรฐาน”?
“พรรคก้าวไกล”เป็นผู้ยื่นคำร้องเอง ผ่านประธาน”ชวน หลีกภัย”ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความในประเด็น ว่า
“การที่ศาลออสเตรเลีย ได้มีคำพิพากษาเมื่อเดือนมี.ค. ๓๗ ว่าร.อ.ธรรมนัส มีความผิดฐานนำเข้าและค้ายาเสพติด สั่งคุก ๖ ปี จำคุกจริง ๔ ปี ก่อนถูกเนรเทศกลับประเทศไทย ร.อ.ธรรมนัส จึงเข้าข่ายเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งส.ส.และรัฐมนตรี หรือไม่?
พรรคก้าวไกลส่งให้ศาลฯตีความประเด็นนี้เอง แล้วศาลฯท่านก็วินิจฉัย ตามประเด็นนั้น ว่า
“แม้ข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า ร.อ.ธรรมนัส เคยต้องคำพิพากษาของศาลแขวงนิวเซาท์เวลส์ เครือรัฐออสเตรเลีย ก่อนลงสมัครส.ส.
แต่มิใช่คำพิพากษาของศาลไทย จึงไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๙๘(๑๐)
สมาชิกสภาพสส.ของร.อธรรมนัสจึงไม่สิ้นสุดลงตามมาตร ๑๐๑(๖) ประกอบมาตร ๙๘(๑๐)
รวมทั้งความเป็นรัฐมนตรีก็ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรค ๑(๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐(๖) ด้วย”
เหตุที่คำพิพากษาศาลต่างชาติ ไม่มีผลทางกฎหมายไทยต้องปฏิบัติตามนั้น
รัฐธรรมนูญมาตรา ๓ วรรค ๑ บัญญัติว่า
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา ครม.และศาลตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
วรรค ๒ บัญญัติว่า
รัฐสภา ครม. ศาล องค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐต้องปฎิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายและหลักนิติธรรมเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม
จากบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึง อำนาจอธิปไตยอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตย คือ
มีความเด็ดขาด สมบูรณ์ ไม่อยู่ในอาณัติ หรืออยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอื่น
อำนาจอธิปไตยแยกตามลักษณะหน้าที่เป็น ๓ ส่วนได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
โดยการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี เป็นการใช้อำนาจตุลาการอันเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยย่อมต้องไม่ตกอยู่ในอาณัติ หรือภายใต้อำนาจตุลาการของรัฐอื่น
หลักการปกครองของประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์ มีหลักการสำคัญ คือ
“หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และไม่ถูกประเทศอื่นแทรกแซงกิจการภายในของตน โดยไม่มีการทำข้อตกลง ยินยอม”
ดังนั้น การบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศก็ดี การตีความให้คำพิพากษาของศาลต่างประเทศมีสถานะทางกฎหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษาของศาลไทย จึงไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว”
ครับ…..
นี่คือหลัก”อำนาจอธิปไตยอันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
“ต้องมีความเด็ดขาด สมบูรณ์ ไม่อยู่ในอาณัติ หรืออยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอื่น”
ผมยกมาย้ำหัวตะปูให้เข้าใจกันชัดๆ!
สรุป….
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และข้อกฎหมาย ศาลยึดเป็นหลักในการวินิจฉัย
ไม่ใช่”คิดเอา-นึกเอา-รู้สึกเอา”ตามความพอใจ-ไม่พอใจ และตาม”พวกกู-พวกมึง”เป็นหลักวินิจฉัย อย่างที่บางคน-บางฝ่าย ต้องการให้เป็น
ก็รู้อยู่ ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ศาลอาญา
ท่านก็ชี้ให้ชัดแล้วตามข้อขัดแย้งทางรัฐธรรมนูญ
เมื่่อไม่เป็นอย่างใจ ก็โกรธ ไม่พอใจ ว่างั้นเหอะ!
แบบนี้ต้องบอกว่า”ควายเรียกพี่”
พรรคก้าวไกลก็รู้ไส้-รู้พุง รอ.ธรรมนัสดี คำร้องก็ระบุเองว่าเขาเคยติดคุกเรื่องยาเสพติดที่ออสเตรเลีย
ก็ยื่นปปช.สอบตามพรบ.มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ ฯลฯ ปี พศ.๒๕๖๑ ซี
เสือกไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร มันคนละขั้น-คนละตอน และคนละประเด็นกัน แล้วมันจะได้เรื่องยังไงกัน?
อวดฉลาด แต่ดันร้องเอ๋งๆ
ถ้ายื่นปปช.ให้สอบมาตรฐานจริยธรรม ป่านนี้เข้าหมวด ๑ เข้าข่าย”ลักษณะร้ายแรง”เรื่องต่อถึงศาลรัฐธรรมนูญนานแล้ว
ธรรมนัสจะไปก่อน”สส.ปารีณา ไกรคุปต์”ด้วยซ้ำ!
นี่พูดกันตาม”หลักเกณฑ์กฎหมาย”
แต่ถ้าพูดกันตาม”หลักเกณฑ์หิริ-โอตตัปปะ”ทางการเมือง ทั้งพรรคพปชร.ทั้งรัฐบาลประยุทธ์
ให้”รอ.ธรรมนัส”เป็นรัฐมนตรีอยู่ไม่ได้หรอก!

Written By
More from plew
พฤษภาทมิฬ (กะเขามั่ง) – เปลว สีเงิน
เปลว สีเงิน ดูพวกนักศึกษาที่ยกตัวเป็น “คนรุ่นใหม่” โพสต์แต่ละข้อความแล้วหนักใจ ดักดานยิ่งกว่าควายจมปลัก! แล้วยังทะลึ่งสะบัดเขาอวด รุ่นเก่าหลบไป…พวกกูนี่แหละ…รุ่นใหม่ ที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำอนาคตชาติ แล้วดูคนที่จะมานำชาติเขาโพสต์ซี
Read More
0 replies on ““ธรรมนัสกับจริยธรรม””