“รู้ทันฝ้า – กระ รักษาได้”

พญ.ชินมนัส ตั้งจาตุรนต์รัศมี

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย(หรือ DST) ตระหนักที่จะทำหน้าที่เพื่อตอบแทนสังคมและเผยแพร่และทำการรักษาและให้ความรู้กับประชาชนทั่วประเทศ สำหรับปัญหาเรื่องฝ้าของคนไทย โดยเฉพาะ  สาว ๆ ที่มักประสบปัญหาอยู่เสมอ จึงนำมาให้ความรู้และวิธีการรักษาและป้องกันให้ถูกวิธี

ฝ้ามีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำที่อยู่บนใบหน้า อาจมีตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลเทา ฝ้าแบ่งเป็น ชนิด คือ ฝ้าตื้น ฝ้าลึกและฝ้าผสม โดยขึ้นอยู่กับความลึกของตำแหน่งเม็ดสีที่ผิวหนัง โดยคนส่วนใหญ่มักเป็นฝ้าผสมมากกว่า ซึ่งการจะรู้ว่าตนเองเป็นฝ้าชนิดไหน

การดูด้วยตาเปล่าจะค่อนข้างยาก ควรใช้ Woods lamp อาจจะช่วยบอกชนิดของฝ้าได้ โดยลักษณะของฝ้าตื้นมีลักษณะขอบเขตชัดเจน ในขณะที่ฝ้าลึกมีขอบเขตไม่ชัดเจน ส่วนความเข้มของสีจะนำมาใช้พิจารณาชนิดของฝ้ายาก  เนื่องจากขึ้นอยู่กับสีผิวของแต่ละคน บางครั้งอาจพบอาการแดงจากปฏิกิริยาอักเสบที่บริเวณฝ้าได้ด้วย

ฝ้าและกระมีลักษณะอย่างไร  ฝ้าจะมีลักษณะเป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำที่อยู่บนใบหน้า โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม จมูก เหนือริมฝีปากและคาง ส่วนกระแดด มีลักษณะเป็นปื้นราบ ๆ สีน้ำตาล ขอบเขตชัด เป็นวงกลมขนาดไม่ใหญ่  ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า ประกอบด้วย 

1. การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตทั้ง (UVA) และ (UVB) ที่มีอยู่ในแสงแดด เป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นให้เกิดฝ้า  2. ฮอร์โมนเพศหญิง โดยเฉพาะ Estrogen เนื่องจากผู้หญิงเป็นฝ้ามากกว่าผู้ชาย โดยมักพบในช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิดและช่วงตั้งครรภ์ และ 3. พันธุกรรมและเชื้อชาติ โดยพบว่าคนเอเชียเป็นฝ้าได้ง่ายกว่าคนผิวขาวและสามารถพบในครอบครัวเดียวกันได้บ่อยด้วย

สำหรับวิธีป้องกันหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้านั้น ควรเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิดและหลบแดด โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10:00-15:00 น. หากเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้ยาทากันแดด และสวมหมวกปีกกว้างจะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้ โดยการรักษาฝ้า มีแนวทางดังนี้ 

1. การรักษาตามสาเหตุและแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงจากสาเหตุนั้น เช่น พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือใช้ครีมกันแดด  2. การทำให้ฝ้าจางลงโดยการใช้สารที่ทำให้ผิวขาว โดยทั่วไปมักใช้ยาทาผสมกันหลายตัว และต้องดูผลการรักษาบ่อย ๆ ทุก 1สัปดาห์ เพื่อสังเกตผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวตรงที่ทายามีอาการแดง หรือบางลงกว่าปกติ ถ้ามีผลข้างเคียงอาจต้องปรับยา  

 3. การลอกฝ้าด้วยสารเคมี ซึ่งเป็นวิธีการเสริม เพื่อทำ ให้ฝ้าจางเร็วขึ้นโดยทั่วไปจะใช้กรดอ่อน ๆ เช่น alpha hydroxyl acids (AHAs) หรือ trichloroacetic acid (TCA3050% เพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังในชั้นบน ๆ หลุดลอกออก และทำให้เม็ดสีที่อยู่ด้านบนหลุดออกไป การลอกฝ้านั้นจะต้องทา ติดต่อกันอย่างน้อย 34 ครั้ง ทุก 24 สัปดาห์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น แต่หากทำเองหรือไม่ ใช่แพทย์ผู้ไม่ชำนาญมีโอกาสเสี่ยง ซึ่งผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง เช่น หน้าลอกหรือไหม้ได้

หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับฝ้า  ซึ่งการรักษาเองด้วยการพอกหน้าด้วยผลไม้มีฤทธิ์เป็นกรดนั้น ไม่ควรรักษาด้วยวิธีการนี้ เนื่องจากผลไม้มีฤทธิ์เป็นกรด และกรดจากผลไม้ไม่สามารถทดแทนการลอกฝ้าด้วยสารเคมี AHA หรือ TCA ได้ นอกจากนั้นอาจทำให้ผิวหนังอักเสบเกิดเป็นผื่นคัน เมื่อผื่นหาย อาจทำให้ฝ้าคล้ามากขึ้น  นอกจากนี้ผลไม้บางอย่าง เช่น มะนาว ถ้ามีการทาแล้วไปสัมผัสกับแสงแดด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนัง เกิดเป็นผื่น ดำ คล้ำในบริเวณที่ทาได้  


นอกจากนี้ จากรายงานการศึกษาพบว่าชาเขียวมีคุณสมบัติในการลดอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ พบว่าสารสกัดจากชาเขียว ช่วยลดอาการแดงลดจำนวนของเซลล์ที่ไหม้และป้องกันการทำลาย DNA จากแสงอัลตร้าไวโอเล็ตหรือยูวี  ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าสารสกัดจากชาเขียว อาจจะมีส่วนช่วยลดการอักเสบจากแสงอัลตร้าไวโอเล็ต ซึ่งมีผลต่อการเกิดฝ้า  อย่างไรก็ตามสารสกัดจากชาเขียว อาจมีความเข้มข้นของสารประกอบไม่เท่ากับการกินชาเขียวที่ซื้อได้ทั่วไป และในขณะนี้ยังไม่มีรายงานการศึกษาที่มีการ ตีพิมพ์แล้วแสดงผลว่าสารสกัดจากชาเขียวช่วยรักษาฝ้าได้

ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาฝ้า  คือหัวใจสำคัญที่สุดของการรักษาฝ้า คือ คนที่เป็นฝ้าควรจะหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเกิ ดฝ้าและหลีกเลี่ยงการ ตากแดด รวมทั้งใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ในการทาครีมกันแดด ควรจะทาปริมาณที่เพียงพอในตอนเช้าและทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง เมื่ออยู่กลางแจ้งหรือมีกิจกรรมทางน้ำ

การรักษาฝ้าควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เนื่องจากการทายารักษาฝ้าบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงถาวร ถ้ามีการใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน การรักษาเสริม เช่น การลอกฝ้าด้วยสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ควรจะทาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการ  เนื่องจากอาจเกิดอาการไหม้ได้  ถ้าใช้ความเข้มข้นของสารนั้นมากเกินไปหรือทิ้งไว้ที่ผิวหน้านานเกินไป การรักษาด้วยเลเซอร์ อาจเป็นการรักษาเสริม ซึ่งไม่สามารถทำให้ฝ้าหายขาดได้และควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงทำให้ฝ้าเป็นปื้นสีเข้มมากขึ้นหรือเกิดรอยขาวได้  

หากต้องการรายละเอียดเรื่องราวเกี่ยวกับฝ้า แบบเจาะลึก สามารถติดตามได้ที่ Facebook Live EP.2 ตอน “ฝ่าฟันฝ้ากับ DST” ในวันอังคาร ที่ 24 พฤศจิกายน 2563 เวลา 12.00 -13.00 น.ทาง เพจเฟซบุ๊ก “ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง” หรือเข้าไปค้นหาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย WWW.DST.OR.TH

Written By
More from pp
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ร่วมกับ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มอบรางวัล “Krungsri IMAX Video Contest 2023” นักศึกษา ม.กรุงเทพ คว้ารางวัลชนะเลิศ พร้อมโอกาสต่อยอดสู่การเป็นครีเอเตอร์มืออาชีพ
ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยกับการประกวดคลิปวีดีโอ “Krungsri IMAX Video Contest 2023” เส้นทางความฝันสู่การเป็นครีเอเตอร์ จัดโดย บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป...
Read More
0 replies on ““รู้ทันฝ้า – กระ รักษาได้””