ผักกาดหอม
พูดถึงกันเยอะ….
เมื่อคืนวันอาทิตย์ “ในหลวง-ราชินี” และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระดำเนิน เยี่ยมพสกนิกร จากพระบรมมหาราชวังถึง ถ.ราชดำเนิน
“โจนาธาน มิลเลอร์” ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็น ขอพระราชทานสัมภาษณ์ โดยถามว่า “protestors who’ve been on the streets who want reform?”
(พระองค์ท่านทรงคิดอย่างไรกับประชาชนที่กำลังประท้วงและต้องการการปฏิรูป)
พระองค์ทรงตอบและย้ำว่า “We love them all the same” ถึง ๓ ครั้ง
(เรารักทุกคนเหมือนกัน)
ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นถามอีกว่า “is there room for compromise?”
(คิดว่าสามารถประนีประนอมกันได้หรือไม่?)
พระองค์ทรงตอบว่า “Thailand is a land of compromise”
(ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอม)
แล้วลองตัดภาพไปที่ม็อบ ๓ นิ้ว ที่บอกว่าต้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ปราศรัย แสดงออก อย่างก้าวร้าว และหยาบคาย
คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกโกรธแทน ในหลวง
แต่พระองค์ท่านทรงให้อภัย
จากบทสัมภาษณ์ ในหลวงก็เหมือน พ่อ ที่อภัยให้ลูก ไม่ว่าลูกจะทำผิดคิดคร้ายแค่ไหน พ่อพร้อมที่จะประนีประนอม ประคับประคองเพื่อให้คนครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขเสมอ
พ่อยอมที่จะคุยกับลูกเสมอ….แต่น่าเสียดายครับ ลูกชั่ว ไม่นำพา
คิดจะเปิดศึกต่อ
ก็คงนอนกินดีอยู่ดีในโรงพยาบาลพระราม ๙ คืนละหมื่นได้อีกไม่กี่วัน ต้องเดินคอตกเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง
ขึ้นโรงพัก ไปศาล นอนคุก
เห็นว่าเหลืออีกตั้ง ๘๐ คดี
ถ้ายังเคลื่อนไหวต่อแบบเดิม มีแถมมาอีกเป็นพรวน!
ผมอยากให้คนไทยได้เห็นบางสิ่งที่เราไม่ได้เห็นบ่อยนัก
หลังพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีทรงพระดำเนินจากไป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พระดำเนินกลับมาหาผู้สื่อข่าวของซีเอ็นเอ็น
และมีรับสั่งว่า “เรารักคนไทย ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบสุข เรารักประเทศไทย เรามีความสุขมาก นี่คือรักที่แท้จริง อย่างที่คุณสามารถเห็นได้”
ถ้าใครได้ดูคลิปจะสังเกตุเห็น พระอิริยาบถที่ทันสมัย ใกล้ชิดกับประชาชน
สมาชิกราชวงค์กับประชาชนไม่ได้อยู่ห่างกัน
นี่เป็นสิ่งยืนยันว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มีความใกล้ชิดกับประชาชนกว่าสมาชิกราชวงค์ประเทศอื่นๆ มากโข
และน่าจะเป็นที่อิจฉาของหลายๆ ประเทศ
เฟซบุ๊ก Nuntdach Makswat เขียนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย จะบอกว่าคนไทยรู้อยู่แล้วก็ไม่ใช่ ไม่รู้ก็ไม่เชิง แต่อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่ม และจะทำให้หลายๆ คน “ตาสว่าง”
ขอคัดลอกมาตามนี้ครับ….
….พระมหากษัตริย์ไทยในยุค ปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ ภาคที่ ๑
มีเรื่องหนึ่งที่ประเทศตะวันตก งงมากๆ และก็ไม่ชอบด้วย
คือเรื่องที่ทำไม “สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย” จึงมีคนจงรักภักดีมากกว่า นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
เพราะประเทศตะวันตกเหล่านั้นเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร
และจะเป็นตัวอย่างที่จะทำให้ประชาธิปไตยในระบอบประธานาธิบดี ไม่มั่นคงมากขึ้นได้
อีกทั้งในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ระบอบประชาธิปไตย แบบประธานาธิบดี กำลังประสบความล้มเหลว ในการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายสิบประเทศ
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศตะวันตกเอง ก็รู้จักพระมหากษัตริย์ไทยได้ดีว่า พระมหากษัตริย์ของไทยนั้น ไม่เหมือนพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่นๆ
เพราะทรงงานเพื่อประชาชนอยู่ตลอดเวลา ทรงปรับพระองค์ไปตาม ความเจริญก้าวหน้าของยุคสมัยและเทคโนโลยี โดยเริ่มเห็นได้ชัดเจน
มาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา จนถึงรัชกาลปัจจุบัน
ประเทศไทยจึงรอดอยู่มาได้ทุกวันนี้
ดังนั้นประมุขของทุกประเทศประชาธิปไตย จึงให้ความนับถือพระองค์มาตลอด และไม่ได้มุ่งร้ายต่อสถาบันฯ จริงๆ
ตามที่พวกเด็กๆ บางคนคิดไว้
บางประเทศก็มุ่งหวัง ที่จะมีความสัมพันธ์กับประชาชน ดังเช่นพระมหากษัตริย์ไทยบ้าง เท่านั้น
ส่วนประมุขในกลุ่มประเทศสังคมนิยม ยิ่งให้ความเคารพ นับถือพระองค์มากกว่า โดยเฉพาะในเรื่องที่
พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ทรงทำงานให้ประชาชน
จนกลายเป็น “หน้าที่ของพระมหากษัตริย์” ไปแล้ว
ซึ่งตรงกับหน้าที่ของประมุขประเทศในระบอบสังคมนิยม
เช่นกัน นายเติ้ง เสียวผิง อดีตนายกรัฐมนตรีจีน ได้เข้ามาร่วม พิธีตอนที่ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ทรงรับโปรดเกล้าฯเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช”
เรื่องเหล่านี้เขียนไว้ เพื่อเตือนให้เข้าใจว่า อย่าเอาสถาบันกษัตริย์ไทยไปเปรียบเทียบกับ กับประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
ซึ่งเป็นประเทศที่ประชาชนตกอยู่ในอิทธิพลของความเชื่อหลากหลายชนิด
ทำให้ มีการเปลี่ยนเป็นระบอบกลับไปกลับมา มากกว่า ๕ ครั้ง
ส่วนอังกฤษเปลี่ยนกลับมาครั้งเดียวก็ไม่ยอมเปลี่ยนกลับไปอีก
โบราณว่า:สนุกสนานตอนเด็กจะลำบากตอนโต
ลำบากตอนเด็กจะสบายตอนเป็นผู้ใหญ่
แต่ก็เป็นเพียงคำโบราณนะครับ
ฟังไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม.. โบราณอีกแล้ว
พลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์/ ๒ พ.ย.๖๓….
ครับ….มีของดีอยู่กับตัว แต่คนบางกลุ่มมองไม่เห็น กลับอยากจะเดินตามก้นฝรั่ง เพราะคิดว่าเขาทันสมัยกว่า
มาดูอีกสักท่อนในหนังสือ “วิวัฒน์รัตนโกสินทร์” ของพลโทนันทเดช
————-
“……..หลังจากแกนนำ คณะราษฎร เดินทางกลับจากการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว อีกประมาณ ๒๐ ปีต่อมา นักศึกษากัมพูชา กลุ่มหนึ่งก็ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส
และตั้งสมาคมนักศึกษากัมพูชาประจำกรุงปารีส ขึ้นมา เลียนแบบ คณะราษฎร (นักศึกษาหลายประเทศ ก็ทำในลักษณะเดียวกัน)
เพื่อเตรียมกลับไปทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในประเทศกัมพูชา
คล้ายคลึงกับการก่อตัวของ คณะราษฎร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มเขมรแดงหรือ กลุ่มบุคคล ซึ่งเรียกกันว่า “กลุ่มปัญญาชนปารีส “
Paris Student Group ในประวัติศาสตร์กัมพูชา หมายถึงกลุ่มนักศึกษาฝ่ายซ้ายชาวกัมพูชา ที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลกัมพูชาให้ไปศึกษาต่อในกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๕๐
โดยมีแกนนำสำคัญ เช่น
๑.นาย พล พต ( ซาลอธ ซาร์ ) ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลเพื่อไปศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่ฝรั่งเศส
๒.นาย เขียว สัมพัน ไปศึกษาเศรษฐศาสตร์และการเมืองการปกครองที่มหาวิทยาลัยปารีสจนจบปริญญาเอกในปี ค.ศ. ๑๙๕๙ และ กลับประเทศมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยพนมเปญ
๓. นาย เอียง ซารี จบการศึกษาจากวิทยาลัยสีสุวัตถิ์ กรุงพนมเปญ (มหาวิทยาลัยเดียวกับพล พต)ได้รับทุนการศึกษาเพื่อไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศสทางด้านการพาณิชย์ แต่กลับไปเรียนทางด้านรัฐศาสตร์ในสถาบันการเมืองศึกษาแห่งกรุงปารีส แทน
๔. นาย ซอน เซน ได้ทุนไปเรียนต่อฝรั่งเศส ด้านศึกษาศาสตร์และวรรณกรรม เมื่อไปกรุงปารีส เขาได้รับแนวคิดแบบรุนแรงมาจาก พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส จึงถูกถอนทุนเพราะเข้าร่วมกับกลุ่มการเมืองหัวรุนแรง ต้องกลับมากัมพูชาก่อนเวลา โดยมาสอนหนังสือที่วิทยาลัยสีสุวัตถิ์ แล้วย้ายไปสอนต่อที่มหาวิทยาลัยพนมเปญ
เมื่อเวลา ล่วงเลยมาถึงปัจจุบันแล้ว จึงมีข้อมูลเชิงประจักษ์ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่า ระบอบ การเมือง ทุกเรื่องในฝรั่งเศสล้วนแต่ ไม่ประสบผลสำเร็จเลย
แม้แต่ในประเทศฝรั่งเศสเอง
ถ้าไม่นำมาดัดแปลงให้ เหมาะสมกับวัฒนธรรม ประเพณี และสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ
แต่ก็ยังมีผู้หลงใหลฝรั่งเศส
บางคน พยายามจะนำ “ความเชื่อ” เหล่านั้น มาใช้ในประเทศไทยอีก……”
—————
ปิยบุตร จุดชนวน
อานนท์ รับไม้ต่อ
กวิ้น รุ้ง ไมค์ ไหลตาม
เศษฝรั่ง