สฟอ. ผนึกกำลัง กฟผ. และพันธมิตร ผลักดันการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไทย ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน

สฟอ. ร่วมกับ กฟผ. ผนึกกำลังภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา เปิดตัวโครงการ “ศึกษาวิจัยจำลองกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” เพื่อผลักดันให้เกิดระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์

ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ อย่างเป็นรูปธรรม ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามร่าง พ...ฯ ของกรมควบคุมมลพิษ

นายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) เปิดเผยว่า โครงการศึกษาวิจัยจำลองกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ อย่างเป็นระบบและยั่งยืน และสอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ซึ่งกำหนดประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญไว้ 5 ประเภท ได้แก่

1) คอมพิวเตอร์ 2) เครื่องโทรศัพท์และโทรศัพท์ไร้สาย 3) เครื่องปรับอากาศ 4) เครื่องรับโทรทัศน์ 5) ตู้เย็น

เนื่องจากปัจจุบันการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทยเกิดซากผลิตภัณฑ์ฯ เป็นจำนวนมากกว่า 400,000 ตันต่อปี ซากผลิตภัณฑ์ฯ เหล่านี้มีส่วนประกอบทั้งส่วนที่มีมูลค่าและส่วนที่มีความเป็นพิษต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยก็ยังไม่มีระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่เหมาะสมและครอบคลุมทั้งการจัดเก็บ การรวบรวม การคัดแยก การถอดแยกชิ้นส่วน และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ฯ อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และเป็นระบบทำให้ประชาชนทิ้งซากผลิตภัณฑ์ฯ ปนอยู่กับสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย หรือมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้ถอดแยกและสะสมในสิ่งแวดล้อม


เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้เกิดระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่สอดคล้องกับร่าง พ...ฯ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งกลุ่มผู้ผลิต ผู้รวบรวม ผู้ขนส่งและโรงงานถอดแยกชิ้นส่วน จึงต้องทำการศึกษาวิจัยและดำเนินโครงการศึกษาวิจัยจำลองกระบวนการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 – พฤศจิกายน 2564

ทั้งนี้ โครงการฯ จะเริ่มดำเนินกิจกรรมรับคืนซาก ประมาณการไว้ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 และดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ผ่านระบบฐานข้อมูล Digital WEEE Manifest ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาเพื่อเป็นเครื่องมือติดตามซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางและจะดำเนินการนำร่องในพื้นที่ตัวอย่าง 2 พื้นที่ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดบุรีรัมย์

นายยงยุทธ ศรีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม กฟผ. กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของ กฟผ. ในฐานะผู้สนับสนุนหลักโครงการศึกษาวิจัยฯ ครั้งนี้ว่า นอกจากการผลิตและจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนคนไทยแล้ว


กฟผ. ยังมีอีกหนึ่งบทบาทในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพผ่านมาตรการติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพกับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือ โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” รวมถึงมีความตระหนักต่อการพัฒนาที่สมดุลตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs)

ตลอดจนสร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เกิดการปรับปรุง พัฒนากระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และลดการใช้สารอันตรายในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทำให้เกิดการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อย่างเป็นรูปธรรม ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพลังงานของประเทศไทย

Written By
More from pp
ล้วงจากรัง!!! เจ้าหน้าที่พญาเสือขยายผล จับพรานล่านกกางเขนดง โพสต์ขายลูกนกยกรัง สารภาพปีนล้วงจากรังพร้อมดับจับด้วย
เจ้าหน้าที่หน่วยฯ​ พญาเสือ​ เจ้าหน้าที่สายตรวจสัตว์ป่าฯ สายที่ 1 สบอ.3 บ้านโป่ง​ และเจ้าหน้าที่​ กก.5 บก.ปทส. จังหวัดราชบุรี​ ร่วมกันจับกุม​...
Read More
0 replies on “สฟอ. ผนึกกำลัง กฟผ. และพันธมิตร ผลักดันการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไทย ตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน”