12 ธันวาคม 2567 ที่รัฐสภา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วยนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กรรมการบริหาร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทยได้รับเกียรติจากรองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายภราดร ปริศนานันทกุล มาเป็นตัวแทนของท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร ในการรับร่างพระราชบัญญัติสองฉบับที่ทางพรรคภูมิใจไทย เป็นผู้เสนอเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน และของประเทศไทย
นายอนุทิน กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติทั้งสอง คือร่างพระราชบัญญัติการศึกษาเท่าเทียมฉบับที่ พ.ศ…. และร่างพระราชบัญญัติอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน พ.ศ… ซึ่งทางพรรคภูมิใจไทยได้ศึกษา และได้ยกร่างขึ้นมาเพื่อนําเสนอต่อรัฐสภา พรรคมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าหากได้รับการพิจารณาให้เป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์แบบ ร่าง พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศต่อพี่น้องประชาชน
สำหรับร่างพระราชบัญญัติแรกคือ ร่างพระราชบัญญัติ หรือกฎหมาย อสม. อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน จะเน้นไปในเรื่องของการที่เราจะต้องดูแลสวัสดิการทั้งหลายของพี่น้องอสม. ซึ่งทุกวันนี้พี่น้อง อสม.จํานวนกว่า 1 ล้านคนได้เสียสละอย่างเต็มที่ในการดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ ในสมัยที่ตนดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยได้ให้ทางคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นตอบแทนพี่น้องอสม. ได้เพิ่มค่าบริการจากเดือนละ 1,500 บาท เป็นเดือนละ 2,000 บาท หลังจากสมาชิกพรรคภูมิใจไทยมาศึกษาในรายละเอียดแล้วก็ทราบว่า ยังเป็นการตอบแทนปีต่อปีเราจึงมีความตั้งใจที่จะทํากฎหมายรองรับค่าตอบแทนของพี่น้อง อสม. เพื่อที่จะสามารถวางแผนในชีวิตตามกฎหมาย ทําให้เห็นว่าค่าตอบแทนของพี่น้อง อสม. นั้นอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติไม่ต้องมานั่งลุ้นว่าปีนี้จะได้หรือเปล่าปีนี้จะถูกตัดหรือเปล่า
“สิ่งที่พี่น้องอสม.ได้ได้ทุ่มเทเสียสละดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชนคนไทย พรรคภูมิใจไทยจึงเห็นความสําคัญ จึงพยายามหาหนทางดูแลสุขภาพของพี่น้องประชาชนชาวไทย จะได้มีแต่สุขภาพที่ดี ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาพจิต ของพี่น้องอสม. พ.ร.บ.นี้จึงเกิดขึ้น”
ด้านพ.ร.บ. การศึกษาเท่าเทียม เป็นสิ่งที่พรรคภูมิใจไทย ในฐานะที่ได้รับผิดชอบดูแลกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาลนี้ พรรคภูมิใจไทย รับผิดชอบดูแลกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงแรงงาน เราเห็นถึงความสําคัญของคําว่าการศึกษา หลังจาก มีการยื่นพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีการยื่นก่อนหน้า วันนี้ทางพรรคภูมิใจไทยจึงได้นําเสนอร่างพ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม เพื่อจะได้มีแพลตฟอร์มอีกหนึ่งแพลตฟอร์มเกิดขึ้น ก็คือ แพลตฟอร์มทางการศึกษา ที่ผู้คนทุกช่วงวัย ทุกเพศ ทุกอายุทุกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์สามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยผ่านระบบออนไลน์
ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม เป็นผลมาจากการจัดเวิร์กช็อป ครั้งแรกของพรรคภูมิใจไทย ที่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนมากที่สุด นับตั้งแต่จัดตั้งพรรคขึ้นมา เป็นอีเวนต์แรกที่ถูกจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการชุดใหม่พรรคภูมิใจไทย โดยมีน้องๆ นักศึกษา มาแชร์ความคิดเห็นร่วมวงกับคณะรัฐมนตรี ได้เห็นเอกชนชั้นนำที่สะท้อนความคิดเห็นสนใจในการที่จะมีส่วนร่วมจริงๆ ที่จะทำให้ทั้ง 3 แพลตฟอร์มสำคัญโดยมีเนื้อหา ในเรื่อง Pain point การศึกษาไทย ที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาเท่าเทียม ที่จะบรรจุ 3 แพลตฟอร์ม สำคัญคือ แพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ แพลตฟอร์มเครดิตแบงก์ และแพลตฟอร์ม Portfolio พ.ร.บ. การศึกษาเท่าเทียมถูกขับเคลื่อนไปในแบบที่มีประโยชน์ที่สุดต่อพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน แพลตฟอร์มทางการศึกษาให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้โดยระบบออนไลน์ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพต่อไปได้ ทั้งนี้ หวังว่าประธานสภา จะรีบนำบรรจุเข้าวาระ เพื่อพิจารณาต่อไป นายอนุทิน กล่าวทิ้งท้าย