ตรวจความเสี่ยงมะเร็ง! ใครควรตรวจ?

การตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นการตรวจความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในอนาคตว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจจะยืนยันไม่ได้ 100% แต่มีประโยชน์มากในการวางแผนรักษาหรือป้องกันตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และการตรวจบางอย่างก็สามารถทำได้ง่ายๆ เหมือนกับการตรวจสุขภาพประจำปีเลยค่ะ ซึ่งการตรวจมีด้วยกันหลายวิธี พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้มาแนะนำวิธีการตรวจ ได้แก่

1. การตรวจจากสารบ่งชี้มะเร็ง หรือ Tumor marker ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ตรวจพบได้ปกติในร่างกาย หากแต่คนที่มีความเสี่ยงมะเร็ง หรือมีภาวะบางอย่างอาจทำให้ค่าเหล่านี้สูงขึ้นกว่าปกติได้ เช่น

 AFP (Alpha-fetoprotein) บ่งชี้มะเร็งตับ
 CEA (Carcinoembryonic antigen) บ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งตับ
 PSA (Prostate-specific antigen) บ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก

2. การตรวจจากยีนส์ เป็นการตรวจหาพันธุกรรมที่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เช่น ตรวจจากยีนส์ BRCA1 และ BRCA2 สำหรับมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ วิธีนี้เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถตรวจเจอได้ตั้งแต่ระยะเริ่มและช่วยให้วางแผนป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังตรวจได้ง่าย สามารถตรวจได้ทุกปีเหมือนการตรวจสุขภาพประจำปีด้วยค่ะ

3. การตรวจคัดกรองทางรังสี เช่น การตรวจ X-Ray, MRI , CT Scan เพื่อตรวจหาก้อนเนื้อ หรือความผิดปกติที่แต่ละอวัยวะ ได้ตั้งแต่เริ่มต้น หรือมีขนาดของเนื้องอกเพียงเล็กน้อย ก่อนที่จะแสดงอาการ ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองได้ทุกปีเช่นเดียวกับการตรวจสุขภาพประจำค่ะ

4. การตรวจอื่นๆตามความจำเพาะ เช่น

 การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารและลำไส้
 การตรวจอัลตร้าซาวด์และแมมโมแกรม เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear หรือ HPV Testing
ใครบ้างควรตรวจคัดกรองมะเร็ง??

ผู้ที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งได้แก่

• อายุ 50 ปีขึ้นไป
• มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง
• สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ
• อยู่ในภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการได้รับสารพิษและสารเคมี
• น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ โดยไม่มีสาเหตุ

อันที่จริงแล้ว ทุกคนสามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งได้ โดยอาจเลือกวิธีที่ทำได้ง่าย ปลอดภัย เช่น การตรวจคัดกรองจากพันธุกรรม หรือการตรวจด้วย MRI , CT Scan ที่สามารถทำพร้อมการตรวจสุขภาพประจำปีได้ค่ะ

อย่างไรก็ดี การตรวจคัดกรองมะเร็ง เป็นข้อมูลเบื้องต้นว่ามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมากน้อยแค่ไหน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน แต่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันและติดตามผล เพื่อการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นค่ะ

Written By
More from pp
พรรคร่วมรัฐบาลว่าไง – ผักกาดหอม
ผักกาดหอม อย่ากะพริบตา การเมืองบางทีเปลี่ยนแค่ชั่วข้ามคืน นึกถึงสมัยนายหัวชวน หลีกภัย ยุบสภาเมื่อปี ๒๕๓๘ เหตุเพราะ ส.ป.ก.๔-๐๑ หลังพรรคพลังธรรมซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลมีมติงดออกเสียง ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
Read More
0 replies on “ตรวจความเสี่ยงมะเร็ง! ใครควรตรวจ?”