ผลกระทบไวรัส COVID 19 ต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การคลัง

ผลกระทบไวรัส COVID 19 ต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การคลัง ในทัศนะของ ดร.วิโรจน์ กุศลมโนมัย (กูรูตลาดนีช)

ประเทศไทยเริ่มประสบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.  2560 ประการหนึ่ง สืบเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกของเศรษฐกิจโลกหดตัว และปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ อีกประการหนึ่งเกิดจากปัญหาภายในประเทศ คือความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง และไม่ติดอันดับประเทศที่น่าลงทุนอีกต่อไป สืบเนื่องมาจากต้นทุนปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นกว่าประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่วัตถุดิบ ค่าแรงขั้นต่ำ ดอกเบี้ยธนาคาร ค่าน้ำ ค่าไฟ และราคาน้ำมัน  นักลงทุนต่างชาติ หรือแม้แต่นักลงทุนไทยก็ย้ายไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านกันหมด เช่น เวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ และลาว ค่าเงินบาทก็แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้การส่งออกลดลงเรื่อย ๆ เครื่องยนต์หลักที่เห็นว่าจะพอขับเคลื่อนและพึ่งพิงได้ก็คงเป็นการท่องเที่ยว ซึ่งมีชาวจีนมาเที่ยวปีละหลายสิบล้านคน

นโยบายการบริหารจัดการของรัฐบาลประยุทธ์ 1 และ 2 ก็ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุหลัก และ แก้ปัญหาโดยเน้นภาพพจน์ของไทยในสายตาชาวโลกมากกว่าแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา สืบเนื่องจากตอนแรกๆ รัฐบาลประยุทธ์ 1 นั้นมาจาก คสช. ด้วยการทำรัฐประหาร จึงต้องการการยอมรับจากนานาประเทศ เช่น การปราบปรามประมงผิดกฎหมาย เพื่อรักษาภาพพจน์การจัดการด้านมนุษยชนอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประมงพื้นบ้าน และประมงพาณิชย์  แต่กลับส่งผลกระทบที่ดีแก่เกษตรกรที่ทำฟาร์มประมง โดยเฉพาะเกษตรกรรายใหญ่ของประเทศให้รวยขึ้น ๆ

การปราบปรามการรุกล้ำที่ดินของป่า เป็นเรื่องดี แต่ก็มีผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรและสังคมคนชนบทเช่นกัน ขอคืนที่ดินจากประชาชน บางท่านไม่มีที่ดินทำกินและไม่มีอาชีพ นโยบายการสนับสนุนให้ปลูกพืชทดแทนข้าวแทนการประกันราคาและส่งเสริมให้เกษตรกรมาปลูกอ้อยและพืชอื่นทดแทน โดยส่งเสริมให้เปิดโรงงานน้ำตาลแปรรูปอ้อยมากกว่าตามความต้องการของตลาด ก็มีผลให้มีการเผาต้นอ้อย และเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

นโยบายการจัดระเบียบทางเท้าก็เป็นเรื่องดี แต่ก็มีผลกระทบกับคนขายของฝากให้นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบอาหารริมทาง Street Food หายไปกว่าครึ่งนึงของประเทศ และลดความน่าสนใจของการท่องเที่ยวลงไประดับหนึ่ง เพราะคนต่างชาติชื่นชอบอาหารริมทางของไทย เช่น ผัดไทย เป็นต้น

ถ้าคิดจะห้ามเพื่อจัดระเบียบ หรือห้ามอะไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย กระผมเห็นด้วยแต่ควรให้เวลาเขาปรับตัว หรือ หาที่ลง หรือหาทางออกทดแทนให้พวกเขาด้วยจะได้ไม่กระทบสังคมและคนหมู่มาก ประชาชนจะได้ไม่กล้าตำหนิรัฐบาล ส่วนการจัดเขตเศรษฐกิจพิเศษในระเบียงเศรษฐกิจ EEC หรือตามตะเข็บชายแดนก็ยังไม่ได้ผลตามเป้าหมาย เนื่องจากมีอุตสาหกรรม DIGITAL ทันสมัยใน BOI เพียง 5-10เท่านั้น แนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก หรือการทำการตลาดแบบตลาดเฉพาะ NICHE เป็นตลาด SEGMENT ที่ขายได้ราคาสูงแต่มีขนาดตลาดเล็กมากสืบเนื่องจากค่าแรงเราสูง เป็นแนวคิดที่ดี แต่ผมว่าโครงการใหญ่เกินไปสำหรับประเทศไทยและควรทำในที่ที่มีความเหมาะสมมากกว่านี้ เช่น อุตสาหกรรมเมืองใหม่ไร้มลพิษ บางท่านเห็นว่านี่เป็นการต่อยอด EASTERN SEABOARD เฟส 2 แต่มาเรียกให้สวยหรูเท่านั้นเอง และอาจเป็น HUB หรือ LOGISTIC ให้กลุ่มบริษัท ALIBABA ในการจัดส่งสินค้ามากกว่าการได้เทคโนโลยีการผลิตชั้นสูง ตามที่วางเป้าหมายไว้ อย่าลืมนะครับภาคตะวันออกยังมีปัญหาขยะและ มลพิษเก่าที่ยังแก้ไม่จบ จากนิคมอุตสาหกรรมใหม่ ๆ จะมีขยะและมลพิษเพิ่มอีกหรือไม่ ?

“ยังคงเป็นห่วงว่า ผลลัพธ์ที่ได้จะคุ้มค่าการลงทุนสนามบิน รถไฟความเร็วสูงไหม และจะคืนทุนภายในกีปี”

แต่ก็เห็นด้วยที่ให้ CP ประมูลโครงการใหญ่ ๆ ของ EEC ได้ เพราะทุกประเทศ รัฐบาลต้องสนับสนุน นักธุรกิจชั้นแนวหน้าของประเทศนั้นอยู่แล้ว ยังไงคนตัวเล็กก็ไม่มีกำลังทำอยู่แล้ว  ยังดีกว่าให้ต่างชาติมาทำแทน แต่ที่ไม่เห็นด้วยคือ ธุรกิจเล็ก ๆ ควรสงวนอาชีพเหล่านี้ ให้คนตัวเล็ก SME พ่อค้าแม่ขาย เกษตรกร ชาวประมง ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ใช่ออกนโยบายกีดกันแบบให้กินรวบปลาใหญ่กินปลาเล็ก

GDP ของไทยดูดี แต่เงินส่วนใหญ่ไหลเข้าบริษัทยักษ์ใหญ่ เจ้าสัวของประเทศซึ่งมีอยู่ประมาณ   20 ราย เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่กีดกันการค้าของคนตัวเล็กตัวน้อย SME และเกษตรกร ชาวประมง เพื่อตัดทางเลือกคู่แข่งคนตัวเล็กออกไป และเอื้อประโยขน์ให้ทุนใหญ่ แล้วให้ไปซื้อกับทุนใหญ่ เหมือนปิดประตูตีแมว หรือการให้สัมปทาน เช่น นโยบาย ชิม ช๊อป ใช้ กระตุ้นให้คนไปใช้จ่ายเมืองรองผ่านคิวอาร์โค้ชมือถือ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่และครึ่งหนึ่งก็ไปซื้อกับทางห้างฯ ส่วนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็เป็นประชานิยมเชิงสังคมสงเคราะห์  ตัว PROMPT PAY ก็เพื่อให้ได้ BIG DATA  มาวิเคราะห์ผู้บริโภค ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญถ้าบริษัทฯ ที่ทำ CONSUMER PRODUCTS หรือบริษัทโฆษณาได้ไปจะมีประโยชน์มหาศาล ถ้านำข้อมูลไปใช้ในการหาเสียงก็จะยิ่งได้ประโยชน์ เหมือนข้อมูลของ FACEBOOK ในอเมริกา ซึ่งโดนข้อหาขายข้อมูลรุกล้ำอธิปไตยของสิทธิ์มนุษยชน ตลาดเงียบ เศรษฐกิจซบเซา แต่รองนายกเศรษฐกิจ ยังยืนยันว่า เศรษฐกิจดีเพราะดูแต่ GDP นั่งเทียน ไม่เคยออกมาตรวจตลาดเอง และซ้ำร้ายยังเกทับด้วยว่าต่างชาติก็ยังชมประเทศไทยที่ทำตัวเป็นเด็กดีของโลกที่ทำให้ ผู้ประกอบการไทยอ่อนแอลง

ขอยกตัวอย่าง เรื่องการผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ที่อเมริกาเตือนจีนตลอด แต่จีนก็พยายามดึงเวลามาเรื่อยๆ โดยเริ่มเตือนคนในประเทศ ต่อมามีการลดจำนวนลงให้เวลาให้เขาปรับตัว จนในที่สุดไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว แต่เป็นการสร้างแบรนด์จีนขึ้นมาขายทั่วโลกแทน สุดท้ายก็มีเรื่อง ยาฆ่าแมลงอีก ที่มีทั้งผลประโยชน์ของการเมือง และความไม่โปร่งใสมาเกี่ยวข้อง  เมื่อคนไม่มีเงิน ไม่มีรายได้ ก็คิดจี้ ปล้น ตามตู้ ATM  ร้านทอง ธนาคาร ถ้าคิดไม่ตก ก็ฆ่าตัวตาย ถ้ารักครอบครัวมากๆ ก็เอาครอบครัวไปด้วย เกิดปัญหากับสังคม ผลกระทบเป็น โดมิโน่ เกิดความไม่เป็นธรรม เอารัดเอาเปรียบในสังคม จนเกิดโศกนาถกรรม จ่าคลั่ง ที่โคราช และ การฆาตกรรมอำพราง อื่น ๆ ที่ตามมา สังคมน่ากลัวมากขึ้น

“การที่รัฐบาลเชิญ เจ้าสัวบริษัทยักษ์ใหญ่ มาเป็นที่ปรึกษาในด้านเศรษฐกิจ โดยคิดว่าจะได้แนวคิดดีๆ มาช่วย ประชาชนชาว SME มันดูทะแม่ง ๆ ตั้งแต่แรกแล้ว ดูเหมือนเขาเอาลูกแกะมาให้เสือเลี้ยง ผมอธิบายแค่นี้ท่านคงตีความหมายออกนะครับ”

ในปี พ.ศ. 2561- 2562 มันเหมือน ผีซ้ำด้ำพลอย  ซวยซ้ำ ซวยซ้อน PM2.5  คนไม่กล้าออกมาข้างนอก ยังมาเจอ ไวรัสจากเมืองอู่ฮั่น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น COVID 19 เป็นไวรัสเชื้อซา บวกกับ โรคเอดส์ที่มีรูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน จึงทำให้ปัจจุบันยังค้นคว้าหาวิธีผลิตยาแก้อยู่  การระบาดจากจีนไปทั่วโลกได้รวดเร็วกว่าเมื่อก่อนมาก สาเหตุหนึ่งเกิดจากการเดินทางที่สะดวกขึ้น โดยเครื่องบิน และรถไฟความเร็วสูง  จนทำให้เป็นเหมือนสภาวะสงครามโรคร้าย หรือ สงครามชีวภาพเลยทีเดียว

ต้นกำเนิดจริง ๆ ไม่แน่ชัดว่ามาจาก สัตว์ สู่ คน หรืออาจจะเกิดความผิดพลาดในระบบบรักษาความปลอดภัยจากห้องแลปที่สร้างอาวุธชีวภาพของบางประเทศที่รั่วไหลออกมา แต่ที่แน่นอนคือ มีผลกระทบหลายมิติคือ ด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง การปกครอง และการคลัง ผลกระทบลูกใหญ่ ที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ โดยฉพาะที่ประเทศจีน เนื่องจากประชาชนจะต้องถูกกักตัว ถูกบังคับให้สวมหน้ากากอนามัย บางประเทศไม่บังคับให้สวม แต่ประชาชนเกิดความวิตกกังวลและเพื่อความปลอดภัยของตนเอง จึงไม่กล้าเดินทางออกจากบ้าน หรืออยู่ในสถานที่ ๆ มีคนอยู่มาก เป็นพื้นที่เสียงภัยต่อการติดเชื้อได้ จึงทำให้กระทบต่อการเดินทาง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมการโรงแรม อย่างน้อย  3-6  เดือน หรืออย่างน้อยน่าจะถึงเดือนมิถุนายน 2563

ผู้ประกอบการ SME ร้านค้า ร้านอาหาร หรือ แม้แต่ ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ การจัดมหรสพ การรื่นเริง คอนเสิร์ตหรือ การแข่งขันกีฬา ต้องยกเลิก และงดทำกิจกรรรม อุปกรณ์ทางการแพทย์ ขาดแคลนอย่างหนัก โดยเฉพาะหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดไม่ทำงาน โดยเฉพาะที่ประเทศจีนหยุดยาวตั้งแต่ตรุษจีนมาจนถึงวันที่ 1 มีนาคม จึงเริ่มเปิดในบางมณฑล และบางมณฑลยังเป็นเมืองร้าง รัฐบาลต้องแสดงความจริงใจเหมือนประเทศสิงคโปร์ ที่นายกฯ ประธานาธิบดี สส. งดรับเงินเดือน เอามาบริจาคให้แก่บุคคลากรทางการแพทย์ และผลกระทบที่สองที่น่ากลัวกว่า คือผลกระทบทางสังคม เหตุผลหนึ่งมาจากการประโคมข่าว และสังคมออนไลน์จริงบ้าง เท็จบ้าง ส่งแชร์กันจนทำให้ผู้คนวิตกจริต หวาดกลัว ไม่กล้าออกจากบ้านหรือถ้าไปไหน แล้วเห็นคนพูดภาษาจีนจะไม่กล้าเข้าใกล้ สถานที่ออกกำลังกายคนยังน้อยแม้ในห้องซาวน่าซึ่งเชื้อโรค COVID19  คงตายหมดในห้องซาวน่า คนยังระแวงกัน COVID19 จึงดูร้ายน้อยกว่า PANIC 20 แล้ว

วิเคราะห์ตามสภาพความเป็นจริงว่าโรคไวรัส  COVID 19 ก็คือโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่ง เพียงแต่ว่าน่ากลัวที่ยังไม่รู้สาเหตุ และยารักษาหรือป้องกันได้แค่นั้นเอง ประเทศที่เป็นกลุ่มเสี่ยง สังเกตดี ๆ มีภูมิอากาศที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและเจริญเติบโต คืออุณหภูมิ 5 – 25 องศา ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ที่เป็นเมืองร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า  25 องศา กลางแจ้งเชื้อโรคอยู่ไม่ได้ครับ ตายหมด เช่น อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ หรือ เอเชีย เมืองหนาวเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโต และแพร่เชื้อได้ดียกเว้นประเทศที่หนาวมาก ๆ ขนาดติดลบตามขั้วโลก เช่น แอนตาร์กติก้า เป็นต้น และช่วงที่ไวรัสระบาด เป็นช่วงหน้าหนาวและใบไม้ผลิ ช่วงตรุษจีน มกรา – กุมภา-มีนา -เมษา ถ้าเข้าฤดูร้อนเมือไหร่ เชื้อไวรัสก็อยู่ยาก การระบาดน่าจะลดลง เหมือนภัยแล้ง ถ้ารอหน้าฝน ฝนตกทั้งเดือน ก็ไม่แล้งแล้วครับ เขาเรียกว่าธรรมชาติบำบัด อยู่เฉย ๆ มันจะดีขึ้นเอง

แต่เนื่องจากในช่วงนี้เชื้อไวรัสระบาดเร็วมาก รัฐบาลทุกประเทศจึงต้องลุกขึ้นมาบริหารจัดการอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด มิฉะนั้นจะมีคนติดเชื้อและตายอีกจำนวนมาก เช่น ประเทศจีนควบคุมทำได้ดี เด็ดขาดและรวดเร็ว จำนวนผู้ติดเชื้อก็ลดลงเรื่อย ๆ ที่เกาหลีใต้การจัดการไม่ค่อยดี ช้า จึงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้น เหมือนที่อิตาลีและยุโรป นอกจากการมาตรการควบคุม และป้องกันแล้วยังต้องมี มาตรการในการเยียวยา SME เนื่องจากมีกระแสเงินสดจำกัด หากปิดร้านหรือขายไม่ดีสัก 3-6 เดือน แน่นอนต้องมีปัญหาแน่เพราะค่าใช้จ่ายเดินทุกวัน โดยเฉพาะคนที่กู้เงินมาทำธุรกิจ หรือมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ย ค่าเช่า หรือค่าแรงทุกดือน การแก้ปัญหาเรื่อง หน้ากากอนามัย และเจลล้างมือจะแสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการเข้าใจถึงปัญหาอย่างแท้จริงของรัฐบาล ปัจจุบันนี้มีการห้ามส่งออกห้ามขายเกินราคา ควบคุมการผลิต แต่ไม่มีมาตรการแจกจ่ายที่แน่ชัด ไม่มีกฎหมายบังคับว่าควรใส่หน้ากากในพื้นที่เสี่ยง รัฐบาลควรมีแผนการปฏิบัติการ ACTION PLAN และแนะนำหรือในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงรัฐบาลต้องบังคับให้ใครต้องตรวจยังไง ใครต้องใช้ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษ เป็นต้น สุดท้ายก็ต้องใช้เงินแน่นอนต้องกระทบการคลังแน่ ๆ รวมไปถึงแนวทางการเยียวยา SME การยกเว้นภาษี พักชำระหนี้ และให้เงินสนับสนุน เป็นต้น

Written By
More from pp
โฆษกพรรคภูมิใจไทย เผย ยังมี ส.ส.เข้าร่วมงานกับพรรคเพิ่มอีก หากประชาชนให้โอกาสพร้อมเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
โฆษกพรรคภูมิใจไทย เผย ยังมี ส.ส.เข้าร่วมงานกับพรรคเพิ่มอีก หากประชาชนให้โอกาสพร้อมเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ยืนยัน ภูมิใจไทย เสนอชื่อ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว
Read More
0 replies on “ผลกระทบไวรัส COVID 19 ต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การคลัง”