นายกฯ หารือนายกฯ ญี่ปุ่น ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แสวงหารือความร่วมมือในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

17 ธันวาคม 2566 เวลา 15.40 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรุงโตเกียว ซึ่งเร็วกว่ากรุงเทพฯ 2 ชม. ณ ทำเนียบนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กรุงโตเกียว นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หารือทวิภาคีกับ นายคิชิดะ ฟูมิโอะ (H.E. Mr. Kishida Fumio) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกฯ ย้ำความสำคัญการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการลงทุนให้กับญี่ปุ่น ซึ่งไทยจะออกมาตรการยกเว้นวีซ่าให้นักธุรกิจญี่ปุ่นเข้าไทยเพื่อติดต่อธุรกิจระยะสั้น พร้อมกล่าวฝากรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนธุรกิจของเอกชนไทย และหวังที่จะร่วมมือกับญี่ปุ่นในด้าน Soft power ในโครงการ OTOP ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก OVOP ของญี่ปุ่น

ในความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล ไทยหวังว่าจะมีนักลงทุนและแรงงานทักษะสูงด้านดิจิทัลจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะในสาขา Data Center ขนาดใหญ่และบริการคลาวด์คุณภาพสูง ทั้งนี้ นายกฯ สนับสนุนในหลักการข้อเสนอความร่วมมือด้านพลังงานและอุตสาหกรรม (Energy and Industrial Dialogue) และยินดีร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานตามกรอบพันธมิตรเอเซค (AZEC) กับญี่ปุ่น โอกาสนี้ นายกฯ ยังได้แจ้งว่า ไทยสนใจที่จะสมัครเข้า OECD เพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจไทย

ด้านนายกฯ ญี่ปุ่น ได้ขอบคุณรัฐบาลไทยที่ยกเว้นวีซ่าให้นักธุรกิจญี่ปุ่นเข้าไทยเพื่อติดต่อธุรกิจระยะสั้น ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนในไทย นอกจากนี้ นายกฯ ญี่ปุ่นยังเสนอจัดตั้งกลไก Energy and Industrial Dialogue กับไทยเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานและอุตสาหกรรม โดยนายกฯ จะมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกับญี่ปุ่นต่อไป

ในส่วนของความสัมพันธ์ระดับภูมิภาค ผู้นำทั้งสองได้หารือถึงสถานการณ์ในเมียนมาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งไทยกำลังหารือกับเมียนมาเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม และขอให้ญี่ปุ่นมาร่วมสร้างสันติภาพในภูมิภาค

ประเด็นภูมิภาค/ระหว่างประเทศ นายกฯ กล่าวขอบคุณสำหรับความห่วงใยเรื่องตัวประกันคนไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องและมีท่าทีที่สอดคล้องกันที่เห็นว่าทุกฝ่ายควรยุติความรุนแรงและหาทางออกผ่านการหารือ

Written By
More from pp
ธนาคารโลก ประเมินผล MEA พุ่ง บริการขอไฟฉับไวอันดับ 6 โลก ชูความยากง่ายประกอบธุรกิจไทย เพิ่มขึ้น 6 อันดับ รั้งที่ 21 Doing Business 2020
วันนี้ (25 ตุลาคม 2562) นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA เปิดเผยผล การจัดอันดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2020) ในการประชุมผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล (Teleconference) จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ถือเป็นข่าวดีอย่างยิ่งที่ MEA สามารถรักษาตำแหน่งความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าที่รวดเร็วเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ช่วยยกระดับความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจประเทศไทยเป็นอันดับที่ 21 ของโลก เลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับจากปีที่ผ่านมา โดยมีนายกฤษฎา ตันศิริเสริญกุล ผู้ตรวจการ MEA เป็นผู้แทนผู้ว่าการในการรับฟังผลครั้งนี้ ณ ห้องประชุมสำนักงานธนาคารโลกประจำประเทศไทย อาคารสยามพิวรรธน์ถ.พระราม 1 กรุงเทพฯ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA กล่าวว่า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย มุ่งมั่นขับเคลื่อนวิสัยทัศน์พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร ที่ให้บริการด้านจำหน่ายไฟฟ้าองค์กรเดียวของประเทศไทยที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมรับการประเมินความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าในการจัดอันดับจากธนาคารโลก (World Bank) ที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) จาก 190 ประเทศทั่วโลก ผลการจัดอันดับประจำปี พ.ศ. 2563 พบว่า ความสะดวกด้านการขอใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยพัฒนารวดเร็วโดดเด่นขึ้นอย่างมาก โดยคะแนนการประเมินเพิ่มจาก 98.57 เมื่อปี พ.ศ. 2562 มาเป็น 98.70 ในปี พ.ศ. 2563 รักษาตำแหน่งเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ซึ่งผลคะแนนดังกล่าว เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยยกระดับภาพรวมความยาก–ง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย เลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 27 ของปี 2562 เป็นอันดับที่ 21 ของโลก ถือเป็นการเลื่อนขึ้นถึง 6 อันดับ สำหรับปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คะแนนการประเมิน Doing...
Read More
0 replies on “นายกฯ หารือนายกฯ ญี่ปุ่น ตอกย้ำความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด แสวงหารือความร่วมมือในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น”