FAKE News บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ เสี่ยงเป็นมะเร็ง

เว็บไซต์ศูนต์ต่อต้านข่าวปลอม หรือ Anti Fake News แจ้งเตือนประชาชน ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ เสี่ยงเป็นมะเร็ง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จจากที่มีผู้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า คนที่กินผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นมะเร็งเต็มบ้านเต็มเมือง งานวิจัยเมื่อสามปีที่แล้ว โรงพยาบาลใหญ่ 5 แห่งใน กทม. วิจัยสาเหตุมะเร็งเพิ่มขึ้น 300% เกิดจากกินผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะ ตัว P (potassium) มากเกินขนาดเป็นสาเหตุเกิดมะเร็งเต้านม

สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ออกมาชี้แจงว่า ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายธาตุอาหารโดยตรง ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรืองานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการบริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ทำให้เป็นโรคมะเร็ง

ส่วนที่มีความกังวลว่าผักไฮโดรโปนิกส์จะสะสมสารไนเตรท ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อผู้บริโภคนั้น

ในความเป็นจริงทั้งผักไฮโดรโปนิกส์ และผักที่ปลูกในดินล้วนมีสารไนเตรทตกค้างอยู่

อีกทั้งความเข้มข้นของสารไนเตรทในผักยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของพืช ความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหาร สภาพแวดล้อม และฤดูกาลในการปลูก

ซึ่งพื้นที่เขตร้อนแสงแดดมากจะทำให้สารไนเตรทสลายตัวได้เร็ว จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับปริมาณไนเตรทที่ตรวจพบในผักไฮโดรโปนิกส์

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนสารไนเตรทเป็นสารก่อมะเร็งในพืชผักนั้น เป็นไปได้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสารไนเตรทจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป

ดังนั้นเรายังคงสามารถบริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ได้ แต่ควรล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธีก่อนรับประทานเสมอ ข้อมูลของข่าวดังกล่าวจึงอาจทำให้ประชาชนตื่นตระหนก และเข้าใจคลาดเคลื่อน

ดังนั้น ข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/

หรือ www.nci.go.th หรือโทร. 0-2202-6800

 

หน่วยงานที่ตรวจสอบ :  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Written By
More from pp
นพ.ยง ชี้ ผู้เสียชีวิตเหตุจากเส้นเลือดแตกไม่เกี่ยวรับวัคซีนโควิด
27 มี.ค.64 – นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า
Read More
0 replies on “FAKE News บริโภคผักไฮโดรโปนิกส์ เสี่ยงเป็นมะเร็ง”