“คนไทย” คือ “ศรีเทพ” – เปลว สีเงิน

คลิกฟังบทความ…⬇️

เปลว สีเงิน

“เมืองโบราณศรีเทพ”
ได้ชื่อเป็นทางการจากยูเนสโกโดย “คณะกรรมการมรดกโลก” ที่ขึ้นทะเบียน “เมืองโบราณศรีเทพ” เป็นมรดกโลก เมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ ว่า
“The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments”

สำนวนคุณ “Bangkok I Love You” แปลได้ถึงแก่นว่า

“เมืองโบราณศรีเทพ” อารยธรรมทวารวดี” รากเหง้าแห่งความเป็นพ่อทุกสถาบันด้านวัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ครอบคลุม “หมดจด-ครบถ้วน” ทุกกระบวนความ
ไม่ต้องค้นหา ไม่ต้องถกเถียงกันอีกต่อไปแล้วว่า “คนไทยมาจากไหน”?

“คนไทย” อยู่ที่นี่-อยู่ตรงนี้ มานานกว่า ๑,๘๐๐ ปีแล้ว
“เมืองโบราณศรีเทพ” มีมาก่อน “นครวัด-นคารธม” จะเกิดด้วยซ้ำ!

กับคำถามว่า “ศรีเทพเป็นเมืองของเขมรโบราณหรือไม่?”

“คุณกรกิจ ดิษฐาน”
ผู้มีจิตวิญญานคิดค้นทางประวัติศาสตร์และงานแปลในแง่มุมล้ำลึก โพสต์ประเด็นนี้ไว้ ดังนี้

เมืองโบราณแห่งนี้เป็นหนึ่งในแหล่งอารยธธรรมโบราณในแผ่นดินไทย สันนิษฐานว่า มีความสำคัญมาตั้งแต่ “ยุคก่อนประวัติศาสตร์” ตอนปลาย

และรุ่งเรืองในยุคทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 ถึง 18 มีโบราณสถานสำคัญที่ใหญ่โต เช่น “เขาคลังนอก” ซึ่งไม่ใช่ภูเขา แต่เพราะเคยถูกปกคลุมด้วยเนินดินและต้นไม้ ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นภูเขา

แต่เมื่อมีการขุดค้นแล้ว พบว่านี่คือ “รากฐานของพุทธสถาน” ขนาดมหึมา น่าจะสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13–14 …….ฯลฯ…….

ศรีเทพคือ “ทวารวดี” ไม่ใช่ขอม

“เมืองศรีเทพ” ประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรหลงเหลืออยู่น้อยมาก แต่มีศิลปวัตถุและโบราณสถานหลงเหลืออยู่มาก

ศิลปะเหล่านี้เป็นศิลปะแบบ “ทวารวดี” ซึ่งเชื่อว่าชาวทวารวดี น่าจะเป็นชนชาติ “มอญโบราณ”

ชาว “มอญโบราณ” เคยมีถิ่นฐานในภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือของไทย

ในภาคกลางมีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม,ที่อีสาน และลาว มีการพบ “จารึกภาษามอญ” ใกล้กับนครเวียงจันทน์

ในภาคอีสาน มีโบราณทวารวดีอยู่มากมาย
เช่น ใบเสมาหินแกะสลักที่สวยงาม เช่น ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

สิ่งเหล่านี้ มีอายุก่อนการสร้าง “จักรวรรดิเขมรโบราณ” เสียอีก และเก่าแก่ว่า “นครวัด-นครธม”

ทั่วภาคอีสานเต็มไปด้วยเมืองโบราณที่ล้อมรอบด้วยคูน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะของ “เมืองแบบทวารวดี” เมืองเหล่านี้เก่าแก่กว่านครวัด-นครธมเช่นกัน

ในภาคเหนือ ชาวมอญตั้งถิ่นฐานเป็นอาณาจักรชื่อว่า “หริภุญไชย” ปัจจุบันคือตัวอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน ตัวเมืองลำพูนตั้งอยู่ในเมืองโบราณอายุนับพันปี มีคูเมืองล้อมรอบ

และมีศูนย์กลางของ “พระธาตุหริภุญไชย” ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (หรือสมัยหริภุญไชย) และนอกเมือง ยังมีโบราณสถานศิลปะทวารวดี-หริภุญไชย

คือ “วัดจามเทวี” หรือ “วัดกู่กุด” ที่ใหญ่โตและสวยงามมาก อายุร่วมพันปี

ในแถบภาคกลาง ศูนย์กลางของทวารวดีอยู่ที่นครชัยศรีหรือนครปฐม ที่ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี รวมถึงอยุธยาและที่เมืองศรีเทพ เป็นต้น

ในบรรดาเมืองโบราณทวาราวดีเหล่านี้ ต่อมา “ร้างไปโดยไม่ทราบสาเหตุ”

“พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2” ของเขมรโบราณ จึงเข้ามาครอบครอง โดยเฉพาะที่ลพบุรี มีจารึก ระบุถึงสภาพเมืองที่ร้างไปและการจัดระเบียบเมืองอีกครั้ง

คาดว่า “ศรีเทพ” น่าจะร้างไปในเวลาเดียวกันและอยู่ภายใต้อิทธิพลเขมรอยู่ช่วงหนึ่ง
“อยุธยาและกรุงเทพฯ” คือ “ทายาทศรีเทพ”

ต่อมาอาณาจักร “เขมรโบราณ” เสื่อมอำนาจลง “อาณาจักรอยุธยา” แข็งแกร่งขึ้นมา
และขยายอำนาจครอบครองศูนย์กลางเดิมของทวารวดีในภาคกลางของไทย

(ในภาคเหนือ อาณาจักรล้านนา ครอบงำอาณาจักรหริภุญไชย และในภาคอีสาน อาณาจักรล้านช้าง ครอบงำเมืองโบราณเดิมแห่งต่างๆ)

อาณาจักรอยุธยาจึงกลายเป็น “พี่ใหญ่” ของอาณาจักรทั้งหมดในแถบนี้ และตั้งชื่ออาณาจักรเป็นทางการว่า
“กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา”
เพื่ออ้างสิทธิ์ความเป็นผู้สืบทอดของทวารวดี!

พร้อมกันนี้ “อาณาจักรอยุธยา” ได้ตั้งเจ้าเมืองผู้ปกครองศรีเทพขึ้นมา มีตำแหน่ง “พระศรีถมอรัตน์”
(คำว่า ถมอรัตน์ เป็นชื่อภูเขาที่มีความสำคัญทางศาสนาในเขตเมืองโบราณศรีเทพ)

และยังมีตำแหน่งที่น่าจะเกี่ยวข้องกับศรีเทพอีกจำนวนหนึ่ง เช่น “พันบุตรศรีเทพ” และ”ออกพระเทพาธิบดีศรีเทพนารายณ์”

ตำแหน่งเหล่านี้ น่าจะสะท้อนว่า อยุธยาถือตัวเองเป็นทายาทของอาณาจักรทวารวดีต่างๆ รวมถึง “เมืองศรีเทพ”
เมื่ออยุธยาล่มลงแล้ว….

มีการตั้ง “บางกอก” เป็นเมืองหลวง อาณาจักรของคนไทยก็ยังเรียกตัวเองว่า “กรุงศรีอยุธยา” และมีชื่อทางการว่า “กรุงเทพทวารดีศรีอยุธยา”

จนกระทั่งเปลี่ยนเป็น “ประเทศสยาม” ในสมัยรัชกาล “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ดังนั้น “คนไทย” และ “ประเทศไทย” จึงเป็นเจ้าของทวารวดีและศรีเทพอย่างแท้จริง ไม่เกี่ยวอะไรกับคนกัมพูชาเลย
……………………………….

คุณ “สิทธิชัย พูดดี” หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เมื่อทราบข่าว “เมืองโบราณศรีเทพ” ได้ขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลก” เมื่อ ๑๙ กย.๖๖ ก็โพสต์ ดังนี้

“อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ”
ในฐานะหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ขอประกาศข่าวดีให้ทุกท่านทราบว่า

ณ ขณะนี้ ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นอีก ๑ แหล่ง โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า
The Ancient Town of Si Thep and its Associated Dvaravati Monuments

หรือในชื่อภาษาไทยอย่างไม่เป็นทางการว่า “เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง”

ในการจัดทำเอกสารเพื่อนำเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก เมืองโบราณศรีเทพ อุทยานฯ

ขอขอบคุณท่านรวีวรรณ ภูริเดช อดีตเลขาธิการสำนักงานนโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ)

ซึ่งได้โปรดพิจารณาให้การสนับสนุนการจัดทำเอกสารฯ โดยใช้งบประมาณแผ่นดินของ สผ ในการดำเนินการ

ขอกราบขอบพระคุณ ท่านบวรเวท รุ่งรุจี อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นมรดกโลก

ในการผลักดันให้เกิดการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมืองโบราณศรีเทพอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ต้น

รวมถึงคำแนะนำที่ดี ความเชื่อมั่น และการให้โอกาสในการเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในวาระที่สำคัญเช่นนี้

ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ในข้อมูล และการเป็นผู้เขียนหลักของเอกสารนำเสนอฯ ในด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี

ขอขอบพระคุณ พี่จั่น ภารณี สวัสดิรักษ์, พี่ตุ่น วสุ โปษยนันท์,พี่ไก่ รณฤทธิ์ ธนโกเศศ, อาจารย์ปิ่นรัชฏ์ ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ พี่ยุ้ย(ผู้แปลเอกสารผู้น่ารักและเหนื่อยยากไปพร้อมกับพวกเรา แม้จะอยู่คนละประเทศกันก็ตาม)

พี่โก๋ สำหรับภาพถ่ายสวยๆ น้องเสริม สำหรับภาพถ่ายทางอากาศ การร่วมสำรวจ จัดทำแผนที่ น้องอุ้ม น้องฝน น้องน้ำ น้องไอ น้องนิค พี่ชัย น้องจอย
และทีมงานทุกคนของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพในเหนื่อยยากกันมาหลายปี

ทีมงานจากกองโบราณคดี ผอ.พี่หม่อง พี่นก น้องตั้ม ทีมงานกลุ่มแผนงานและวิเทศสัมพันธ์ พี่ปัท พี่ต้อม น้องอร สำหรับความช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถมาโดยตลอด ผอ.พี่เจ๋ง สำหรับการสนับสนุนการทำงานตั้งแต่ต้น

ขอบคุณท่านอธิบดีกรมศิลปากร ท่านพนมบุตร จันทรโชติ และเลขานุการผู้น่ารัก ผอ.วิภารัตน์ ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ และการให้กำลังใจ

ท่านอดีตอธิบดีกิตติพันธ์ พานสุวรรณ และท่านอดีตอธิบดีประทีป เพ็งตะโก ในการสนับสนุนศรีเทพมาโดยตลอดวาระการดำรงตำแหน่งของท่าน

ขอบคุณท่านสีหศักดิ์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมองค์การระหว่างประเทศ สำหรับการเป็นผู้แทนประเทศในการประชุมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ขอขอบพระคุณ ท่านผู้ว่าฯ นายกฤษณ์ คงเมือง ท่านรองผู้ว่าฯ นายชนก มากพันธุ์
ท่านนายอำเภอศรีเทพ นายวีระวัฒน์ วัฒนวงศ์พฤกษ์ ท่านประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดฯ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนท์ ท่านวัฒนธรรมจังหวัดฯ

ที่ดินจังหวัดฯ ธนารักษ์จังหวัดฯ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดฯ ป่าไม้จังหวัดฯ นายกเทศบาลตำบลโคกสะอาด
นายก อบต.นาสนุ่น นายก อบต.ศรีเทพ กำนันอ้อ ผู้ใหญ่สมศักดิ์ ผู้ใหญ่ตุ่ม ผู้ใหญ่พล อ.เสงี่ยม เจ้าหน้าที่จากจังหวัด อำเภอ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด

ชาวบ้านในพื้นที่ทุกคน ในการร่วมทุกข์ ร่วมสุข และร่วมกันผลักดันให้เมืองโบราณศรีเทพ เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทย ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

ขอขอบคุณกลุ่ม Drive Si Thep ที่ช่วยจัดงานเฉลิมฉลองอยู่ที่เมืองไทยในขณะนี้
ขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)พี่ตุ๊ก และเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ช่วยโปรโมทศรีเทพ
ช่วยให้นักท่องเที่ยวเข้ามาที่ศรีเทพมากขึ้น และช่วยให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้นมากๆ

ขอบคุณพี่ติ๊กมาลีภรณ์ พี่นก เสริมสุข สำหรับทุกคำแนะนำ และความ “ลุ้น” น้อง 555

ท้ายที่สุดขอขอบพระคุณ พี่จิ๊บ วิรยาร์ ชำนาญพล หนึ่งในบุคคลสำคัญที่สุดของการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมืองโบราณศรีเทพ

สำหรับการช่วยเหลือในทุกๆ ด้าน ทั้งการร่วมเขียน ร่วมแปล การประสานงาน การผลักดัน การให้กำลังใจ ความทุ่มเท และความรัก

-สิทธิชัย พูดดี
หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
…………………………….
ผมประทับใจคำ “สัมโมทนียกถา” ของท่านหัวหน้าอุทยานมาก ขอบันทึกไว้ ด้วยขอบคุณ
“ทองทุกแผ่น” ที่ปิดหลัง “ไทย-ศรีเทพ” ครับ

เปลว สีเงิน

๒๓ กันยายน ๒๕๖๖

Written By
More from plew
ฉุกเฉิน “ในระบบราชการ”?
“ศ.ธีรยุทธ บุญมี” เผยแพร่บทความเรื่อง “เมษาชี้ชะตาประเทศ” เมื่อวาน (๓๐ มีค.๖๓) อ่านแล้ว….. ต้องบอกว่า “อาจารย์ธีรยุทธ” ก้าวข้ามคำว่า “นักวิชาการ”...
Read More
0 replies on ““คนไทย” คือ “ศรีเทพ” – เปลว สีเงิน”