มหกรรม “มหา’ลัย” แข่งติด#

ดูลูกหลานในความเป็น “คนรุ่นใหม่” อยู่ห่างๆ เถอะ
ปล่อยเขา……..
อย่าไปขวาง อย่าไปปิดกั้น อย่าไปก่นว่า-ด่าตำหนิตราบใด ที่พวกเขายังอยู่ในรั้ว แต่งเครื่องแบบ แบมือขอตังค์พ่อแม่ไปแฮงก์ อราวด์ ตราบนั้น พวกเขาทำอะไร ก็ไม่ต้องรับผิดชอบ “นอกรั้ว”

ครูบาอาจารย์, ผู้บริหารสถาบันศึกษา นั่นต้อง “รับผิดชอบ” ทั้งในรั้วและนอกรั้ว
เพราะ “หน้าที่ศึกษา” เป็นของนิสิต-นักศึกษา “หน้าที่บ่มเพาะ” เป็นของครูบาอาจารย์ ในความหมาย “เบ้าหลอม”

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

การแสดงออกที่เรียกกิจกรรมในมหา’ลัย เป็นเรื่องดี, เรื่องถูกต้อง ควรสนับสนุน เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษา

ศึกษาภาค “ทดลองปฏิบัติ”……..
คือเมื่อเรียนตำรา ทฤษฏี ที่อาจารย์สอน และที่ค้นคว้าสรรพวิทยาการในห้องสมุดแล้ว
เมื่อแก่วิชา มีโอกาส ก็นำทฤษฏีมาทดลอง

“ทดลอง” คือลงมือทำ จากทำนั่นแหละ จะสอนให้รู้-ให้เข้าใจ ว่า…อ้อ อย่างนี้ผิด-อย่างนี้ถูก

ฉะนั้น ที่นักศึกษาในสถาบันต่างๆ จัดกิจกรรมสะท้อนการเมืองในทัศนคติของเขา

จากสถาบันหนึ่ง ลามต่อไปเรื่อยๆ จนเกือบทุกสถาบัน นั้น
ดูแล้วยิ้มเถอะ …….

อย่าหน้าบึ้งขึงโกรธ พานด่า-พานโทษ ว่านึกศึกษาพวกนี้ คิดคดกบฏชาติเลย

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

นักศึกษา คิดตรงไม่ได้ มันไม่เท่ ไม่เด่น ไม่มีใครซูฮก-ยกนิ้ว ฉะนั้น มันต้องคิดคด ถึงจะเด่น จะดัง เผลอๆ ได้ตังค์ใช้อีกตะหาก

จบออกไปสู่โลกจริงนอกรั้ว นั่นแหละ…
ต้องไปหางานทำเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว มีภาระรับผิดชอบทางการงานและสังคมต้องแบก

ชีวิตจริง ทั้งบัดซบและโสภา ในโลกจริง มันจะเป็นทั้งแส้และหางเสือ สอนและบังคับ

เมื่อมองในมุมนี้ ………
เห็นนักศึกษาวัยฮอร์โมนแตก เลยครู-เลยอาจารย์ไปบ้าง แบบว่า “นอกตำรา-นอกทฤษฏี” ผมว่า ยิ่งดี
แสดงว่า “มาถูกทาง”

เพราะตำราทุกเล่ม ทฤษฎีทุกทฤษฏี ไม่ได้มาจากตำราเล่มไหน หากแต่ตำรา-ทฤษฏี ทั้งหมดนั้น
เกิดจาก “คิดและทำ” นอกกรอบทั้งสิ้น

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ดังนั้น ถ้าหวังสังคมโลก-สังคมชาติก้าวหน้า อย่าไปปิดกั้น “พลังคิด-พลังทำ” ของนิสิต-นักศึกษา

ให้เข้าใจว่า ……..
นั่นพวกเขากำลังค้นคว้าหาหนทางสร้างสังคม-สร้างชาติ ให้ก้าวหน้าพัฒนาต่อไปยิ่งๆ ขึ้น ตามทัศนะเขา
ฉะนั้น ผิด-ถูก ให้ถือว่า พวกเขากำลัง “แหกกรอบ” เพื่อค้นหาสู่การสร้างตำรา-ทฤษฏี ที่ใช่

พูดกันตรงๆ ………..
พฤติกรรมอย่างนี้ มันเป็นกระแส เป็นแฟชั่น ของวัยแสวงหา ช่วงหนึ่ง ยุคหนึ่ง ซึ่งไม่คงที่

จะเรียกว่า “อุปาทานหมู่” ก็ไม่ผิด
แต่เรียกอุปาทานหมู่ ดูมันเฉิ่มช่อ เขาจึงอัพเกรดเรียกว่าเป็น “เทรนด์”
เทรนด์ยุคนี้ ต้องติด #

ใครไม่ติด # ถือว่าตกเทรนด์!
วันนี้ จึงเห็นแต่ละสถาบันศึกษาระดับมหา’ลัย เกือบทั้งประเทศ คิดเค้นคำติด # ประชันขันแข่งกันอย่างที่เห็น

ทำเป็นเล่นไปนะ……..
ในคอนเซ็ปท์เดียกวัน ใครจะคิดคำติด # ให้ออกมาพิเรน วี้ดว๊าย กำกวม หวาดเสียว ชวนตีความ ชวนหมั่นไส้ กวนโอ๊ย กว่ากัน

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ไม่ใช่ง่ายนะ!
ยิ่งทุกมหา’ลัย ต่างติด# ถึงไม่ใช่ประชัน-ขันแข่ง แต่โดยนัยแล้ว มันใช่ และกลายเป็นหัวใจกิจกรรมอุปาทานหมู่ของนักศึกษาคราวนี้

# ของมหา’ลัยไหน ครองใจวัยสับสน-ซนซ่า เป็นอันดับ ๑-๓ ศูนย์นิสิตนักศึกษา น่าจะประกาศให้รู้ทางโซเชียลมีเดียนะ

รางวัลที่ ๑ ไปรับจาก คุณพ่อลูกอัจฉริยะ ๙ ขวบ
รางวัลที่ ๒ ไปรับจาก สามีนางเออเฌนี เมรีโอ
รางวัลที่ ๓ ไปรับจาก คนตัวเปล่าเล่าเปลือยชื่อฌ่อ

มีบางคนบอก ………
เห็นนักศึกษาแต่ละมหา’ลัยแอกชั่น ก็หวั่นวิตก ว่าแก๊ง ๓ มะกอก กับแก๊งอาจารย์ ร่วมกัน “จุดติด”

อุ่นเครื่อง หยั่งความพร้อมในรั้ว พร้อมจริงก็พาเหรด “ลงถนน” เกรงประวัติศาสตร์จะย้อนรอย ๑๔ ตุลา-๖ ตุลา.

ผมก็บอกเขาว่า ถ้าเป็นแบบนั้น ก็ดีอย่าง-เสียอย่าง

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

อย่างที่ดี ถ้ามีการลงถนน เท่ากับช่วยสร้างสภาพคล่องในภาวะฝืด อย่างน้อย พ่อค้า-แม่ขาย จะยิ้มได้บ้าง
อย่างที่ไม่ดี กระทรวงสาธารณสุขของ “หมอหนู” คงไม่ชอบ เพราะลงถนนมารวมกันมากๆ เกิดใครซักคน ไอค๊อก-ไอแค๊ก
โควิด-๑๙ มาร่วมลงถนนด้วย นักศึกษาได้เชื้อไปซักมหา’ลัยละคน-สองคน
จุฬาฯมั่ง ธรรมศาสตร์มั่ง เกษตรมั่ง มหิดลมั่ง ฯลฯ แล้วจะทำไง ใครรับผิดชอบ แต่ละอาจารย์ แต่ละสถาบัน เปิดตำราอิิ๊กคิวซังหน่อยซิ?

แต่ในความเห็นผม ไม่หรอก!
คือ ต่อให้สุมด้วย มันก็จุดไม่ติด ไม่ติดเพราะอะไรทราบไหม?

ที่ ๑๔ ตุลา ๖ ตุลา.จุดติด นั่นเพราะเงื่อนไขสังคม-การเมืองพร้อม
และที่สำคัญ ยุคนั้น เป็นยุค “สื่อสารทางเดียว”

คือประชาชน รับข่าวสารด้วยฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ซึ่งมีเฉพาะข่าวทางราชการอย่างเดียว และอ่านหนังสือพิมพ์ที่รัฐบาลทหารควบคุมเนื้อหา

เรียกว่า ประชาชน ถูกยัดเยียดให้เป็น “ผู้รับ” ข่าวสารจากรัฐฝ่ายเดียว
ไม่มีโอกาสเป็น “ผู้แสดงออก” ให้ฝ่ายรัฐได้รับรู้บ้างว่าประชาชนคิดอย่างไร ต้องการอย่างไร ในทางสนองตอบ

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

เพราะอย่างนั้น……..
การชุมนุมจึงจุดติด นิสิต-นักศึกษา กักเก็บความเห็น-ความรู้สึกต่อต้านจนเกินล้น

ไม่เหมือนยุคนี้ ไม่ต้องกักเก็บ คิดเห็นอย่างไร ต้องการแบบไหน

ขับถ่ายเป็นพฤติกรรม-อารมณ์-ความคิดเห็น ผ่านทวีตเตอร์ เฟซบุ๊กส์ ไลน์ ผ่านสื่อสารออนไลน์หลากหลายช่องทางได้ทันที

จึงไม่เกิด “ภาวะล้นเกิน” ทางเก็บกด!
ส่วนยุค ๑๔-๖ ตุลา.ไม่มี เมื่อไม่มี การกักเก็บนั้น ก่อรวมเป็นพลังงานขับเคลื่อนที่เรียกชุมนุม หรือที่เรียก “ลงถนน” ตอนนี้

เพราะนิสิต-นักศึกษา ต้องการที่พูด ที่ระบาย ที่แสดงออก ส่งสัญญานถึงรัฐบาล ว่าขณะนี้ สังคมต้องการอะไร
ส่วนยุคนี้-วันนี้ นิสิต-นักศึกษา สมมุติแสนคน มีมือถือ ๒ แสนเครื่อง ไม่ต้องเก็บกด

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

สามารถขับถ่ายอารมณ์ ด่ารัฐบาล ด่านายกฯ เชิดชูธนาธร ได้ทุกเวลา-นาที
ขับถ่ายอารมณ์ก็เหมือนได้ถ่ายท้อง โล่งสบายไปมื้อๆแล้ว ถึงเจอส้วมก็ไม่ต้องการเข้า

ทุกวันนี้ เราทุกคนล้วนตกเป็น “ทาสไอที” โดยไม่รู้ตัว วงจรชีวิตตั้งแต่ลืมตายันหลับตา ตกอยู่ใต้บัญชาไอที รูปแบบข่าวสารออนไลน์ต่างๆ

เอาเฉพาะบ้านเราขณะนี้ มนุษย์ถูกควบคุมความรู้สึกนึกคิดด้วยอิทธิพล # แทบทั้งนั้น

ถึงขนาดต้องรายงานประจำวัน วันนี้ หัวข้ออะไร ติด# อันดับหนึ่ง!?
กลุ่มนิสิต-นักศึกษา เหยื่อกิจกรรมการเมือง เป็นทั้งผู้ล่า เป็นทั้งผู้ถูกล่า คือตกเป็นเหยื่ออิทธิพลข่าวสารออนไลน์ ในรูป# มากที่สุด

เขาลงถนนกันทุกวัน ทุกชั่วโมงมาเป็นปีๆ แล้ว แต่ไม่ใช่ออกมาชุมนุมในถนน อย่างยุคก่อน

หากแต่เขาลงถนนยุคไอที คือ Bandwidth ปั่นแฮชแท็ก ปั่นเฟกนิวส์ ปล่อยข้อความ ข่าวสาร กันมันเข้าไส้

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ไม่จำเป็นต้องสะเหล่อ ออกมาชุมนุม นั่ง-นอนในถนน ปั่นข้อความอยู่ตามร้านกาแฟ ตามบาร์ ตามห้าง สบายกว่า

คลิกถึงคน ทั้งล้าน-ทั้งโลก!
อย่างขณะนี้ พวกเขากำลังลงถนนไอที ชุมนุมด้วยปั่นแฮชแท็กประชันแข่งกัน
ว่าแฮชแท็กมหา’ลัยไหน……….
จะแสดงอารมณ์รับรู้ถึงการที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ด้วยการใช้คำติด # เสียดสี ประชด-ประเทียด ได้ถึงใจ และตรงอารมณ์-ตรงเจตนากว่ากัน

พอใครคุกหรือใกล้คุกให้เห็นจริงๆ ซักราย-สองราย ก็จะหายเห่อ ค่อยๆ เฟดหายไปกันเอง
ก็ดูซี……..
ตอนนี้ เห็นใครยังบ้าจับ “โปเกมอน” ที่ไหนบ้างล่ะ?

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

Written By
More from plew
ขบวนการ “หลอกใช้เด็ก” – เปลว สีเงิน
เปลว สีเงิน ก่อนถึงวัน “สงกรานต์” รื่นเริงอย่างไร ……… เมื่อสงกรานต์ผ่านไปแล้ว ด้วยบุญ-ทาน และการได้กราบขอพรบิดา-มารดา ตลอดถึงผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ อันท่านทั้งหลายได้ทำมาดีแล้ว ก็ขอให้...
Read More
0 replies on “มหกรรม “มหา’ลัย” แข่งติด#”