“การดําเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ต้องอาศัยรายได้ของพรรคการเมือง ซึ่งกฎหมายกําหนดแหล่งที่มาไว้ตามมาตรา ๖๒ดังนั้น เงินส่วนใดที่พรรคการเมืองนํามาใช้จ่ายในการดําเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งมิได้มีแหล่งที่มาและวิธีการได้มาตามที่กฎหมายระบุไว้
ย่อมถือว่าเป็นเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบ
แม้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ มิได้บัญญัติห้ามการกู้ยืมสําหรับพรรคการเมืองไว้โดยชัดเจน
แต่ก็ไม่ได้รับรองว่าให้กระทําได้
ประกอบกับพรรคการเมืองมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
และเงินกู้ยืมแม้มิได้เป็นรายได้ แต่ก็เป็นรายรับ และเป็นเงินทางการเมือง
การดําเนินการเกี่ยวกับการได้มาและการใช้จ่ายเงินของพรรคการเมือง จึงต้องกระทําภายในขอบเขตที่กฎหมายกําหนดไว้เท่านั้น
เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว
การกู้ยืมเงินของพรรคการเมือง จึงต้องสอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
คําว่า“บริจาค”และ“ประโยชน์อื่นใด”
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.๒๕๖๐ เป็นคําที่มีความหมายเฉพาะในกฎหมายนี้
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
เพื่อกําหนดสิ่งที่อยู่ในขอบข่ายบังคับแห่งกฎหมายในเรื่องนี้ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการควบคุมการสนับสนุนทางการเงินที่ให้แก่พรรคการเมือง ให้เป็นอิสระจากการถูกครอบงําของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ ปรากฏว่า
งบการเงินประจําปี ๒๕๖๑ ของผู้ถูกร้อง (พรรคอนาคตใหม่-เปลว) มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้อยู่เพียง ๑,๔๙๐,๕๓๗ บาท
แต่ผู้ถูกร้องกลับทําสัญญากู้ยืมเงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้อง รวม ๒ ฉบับ รวมเป็นจํานวนเงินสูงถึง ๑๙๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
โดยมีอัตราและเบี้ยปรับที่ไม่เป็นไปตามปกติทางการค้า ถือเป็นการให้ประโยชน์อื่นใด แก่พรรคผู้ถูกร้องที่สามารถคํานวณเป็นเงินได้
เป็นการทําสัญญากู้ยืมเงินที่ไม่เป็นตามปกติทางการค้าและไม่เป็นไปตามปกติวิสัยของการให้กู้ยืมเงินและการชําระหนี้เงินกู้ยืม
ถือเป็นการให้ประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ถูกร้อง ที่สามารถคํานวณเป็นเงินได้
และเมื่อรวมประโยชน์อื่นใดที่ผู้ถูกร้องได้รับจากเงินกู้ยืมดังกล่าวกับเงินที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้บริจาคให้แก่ผู้ถูกร้องในปี ๒๕๖๒ จํานวน ๘,๕๐๐,๐๐๐ บาท แล้ว
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
ย่อมชัดแจ้งว่า………
เป็นกรณีการรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่มีมูลค่าเกินสิบล้านบาทต่อปีซึ่งต้องห้ามตามมาตรา ๖๖ วรรคสอง
จากข้อเท็จจริงพฤติการณ์และพยานหลักฐานดังกล่าวเห็นว่า
การกู้ยืมเงินของผู้ถูกร้องมีเจตนาหลีกเลี่ยงการรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นตามมาตรา ๖๖
เมื่อการรับบริจาคดังกล่าวต้องห้ามตามมาตรา ๖๖ จึงเป็นการรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นโดยรู้
หรือ ควรจะรู้ว่า ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา ๗๒
กรณีมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า……
ผู้ถูกร้องกระทําการฝ่าฝืนมาตรา ๗๒ อันเป็นเหตุให้สั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง ตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๙๒ วรรคหนึ่ง(๓)
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (๗:๒) วินิจฉัยว่า
เมื่อผู้ถูกร้องได้กระทําการอันเป็นเหตุให้สั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง จึงต้องสั่งยุบพรรคผู้ถูกร้อง”
-๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
ครับ…..
คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยมติ ๗:๒ “ยุบพรรคอนาคตใหม่”
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ๑๖ กก.บห.อนาคตใหม่ ๑๐ ปี
และสั่งห้าม…….
๑๖ กก.บห.ผู้ถูกเพิกถอนสิทธินี้ จะไปจดทะเบียนพรรคใหม่ หรือเป็นกก.บห.หรือมีส่วนร่วมจัดตั้งพรรคอีกไม่ได้ ภายใน ๑๐ ปี
๑๖ กก.บห.ชุด “ต้องห้าม” ประกอบด้วย
-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
-ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ สส.บัญชีรายชื่อ
-รณวิต หล่อเลิศสุนทร
-ชำนาญ จันทร์เรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-พงศกร รอดชมภู ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-ไกลก้อง ไวทยการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-นิรามาน สุไลมาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-สุรชัย ศรีสารคาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-เจนวิทย์ ไกรสินธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-จารุวรรณ ศรัณย์เกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
-นิติพัฒน์ แต้มไพโรจน์
-ชัน ภักดีศรี
-สุนทร บุญยอด
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
สส.อนาคตใหม่ตอนนี้อยู่ในสภาพ “กระสือลอยไส้” ต้องไปหาพรรคใหม่สิงภายใน ๖๐ วัน
สำรวจยอดกระสือที่เหลือ เป็นสส.ระบบเขต ๒๖ คน
สส.ปาร์ตี้สิลต์เดิม ๕๐ คน
แต่เป็นกก.บห.ถูกตัดสิทธิ์ “หมดสภาพสส.” ไป ๑๑ คน จึงเหลือปาร์ตี้ลิสต์ ๓๙ คน
รวมกระสือ ๒ ระบบ ที่ต้องไปหาพรรคสวม ๖๕ คน!
กรณีสืบเนื่องจากยุบพรรค สส.ที่เป็นกก.บห.จึง “สิ้นสภาพ” ไปเลย ไม่มีการเลื่อนอันดับสำรองขึ้นมาแทนอีก
เท่ากับว่า “สมาชิกสภาผู้แทน” ตอนนี้ จากจำนวนเต็ม ๕๐๐ เท่าที่มีอยู่ ๔๘๘ คน
วันนี้ “อาทิตย์ ๒๔ กุมภา.” มีเลือกซ่อม ที่กำแพงเพชร ๑ ที่นั่ง ระหว่างพลังประชารัฐกับเพื่อไทย ใครจะได้ที่นั่งนี้ ค่ำๆ ก็รู้
สรุปหยาบๆ ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงในสภา ๒๖๓ เสียง
ฝ่ายค้านมี ๒๒๕ เสียง!
เก็บจอเห๊อะ…อภิปรายไม่ไว้วางใจนั่นน่ะ
แต่แรก รัฐบาลว่าปริ่มน้ำ แต่ถึงตอนนี้ ฝ่ายค้าน เหมือนกางเกงเป้าขาด
ขาดแล้วยังมานั่งยองๆ จะอาศัยเป็น “มือเสริม” รึไง?
บอกพรรณิการ์และหลวงรอบสารพัดรู้กฎหมาย “ปิยบุตร” ไว้ด้วย
ที่ทึกทักว่าประธานชวนบอก “ยุบพรรคสส.ก็ยังอภิปรายได้” นั้น วันจันทร์ก็อย่าสะเหร่อเข้าไปร่วมประชุมสภาเชียวนะ ถูกไล่ออกมา จะร้องฮิวแมนฯ-ฮิวหมา ว่าถูกกีดกันสิทธิเสรีภาพ ก็ยิ่งอายเค้า
เพราะ “สิ้นสภาพ” ชนิด ไปไม่กลับ-หลับไม่ตื่น-ฟื้นไม่มี
๑๐ ปี ไปแล้ว ค่อยจุติใหม่!
ส่วนสส.อนาคตใหม่นอกจาก ๑๑ กก.บห.ยังมีสถานะ สส.ร่วมประชุมได้ ในระหว่างหาพรรคสังกัดใหม่ใน ๖๐ วัน
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
จากคำวินิจฉัยกลาง……
ดังที่ได้ถ่ายทอดสดไปทั่วโลกเมื่อòวาน (๒๑ กพ.๖๓)
ด้วยข้อกฎหมาย, หลักฐานพฤติกรรมพรรคฯ, ด้วยวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และกรรมที่บ่งเจตนา ตามที่ศาลฯ แยกแยะและอ่านให้ฟังละเอียด นั้น
แม้ผู้นิยมชมชื่นอนาคตใหม่เอง ถึงปากไม่ยอมรับ แต่ใจนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า
เป็นคำวินิจฉัย “ตามธรรม-ตามกฎหมาย” เป็นมาตรฐานเนติแบบอย่างดุลยธรรม ไม่อาจโต้แย้งและไม่ยอมรับไม่ได้
๗ เสียง ข้างมาก “ยุบพรรค” ประกอบด้วย
นายนุรักษ์ มาประณีต ประธาน,นายจรัญ ภักดีธนากุล, นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์, นายบุญส่ง กุลบุปผา
นายปัญญา อุดชาชน, นายวรวิทย์ กังศศิเทียม และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี
๒ เสียงข้างน้อย ที่ “ไม่ยุบพรรค” ประกอบด้วย
นายชัช ชลวร และ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
มีคำถามว่า………
เมื่อผิดตามมาตรา ๖๖ และมาตรา ๗๒ พรป.พรรคการเมือง ๖๐ มีโทษ “ทางอาญา” มั้ย?
คำตอบ คือ…มี!
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
มาตรา ๑๒๕ พรรคการเมืองใดรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด มีมูลค่าเกินที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖๖ วรรคสอง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีกำหนดห้าปี
และให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ส่วนที่เกินมูลค่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๖๖ ตกเป็นของกองทุน
มาตรา ๑๒๖ ผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น
ครับ กรรมก็เหมือนโซ่ ……….
มีหลายห่วงร้อยกัน ห่วงการเมืองแล้วยังมีห่วงอาญาร้อย ซึ่ง กกต.ต้องชงเรื่องฟ้องศาลอาญาต่อไป
ถามต่อว่า การเมือง ๑ หญิง ๒ ชาย นี้ จบมั้ย?
คำตอบ คือ…….
“แม่นาคพระโขนง” เคยจบมั้ยล่ะ!?
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});