“สมรสเท่าเทียม” ในมุมมองของคนไทยผ่าน Social Listening           

ท่ามกลางกระแสเรียกร้องของประชาชนคนไทยในหัวข้อ สมรสเท่าเทียม ที่ต้องการให้ทุกเพศสภาพสามารถจดทะเบียนสมรสสร้างครอบครัวอย่างถูกต้อง รวมถึงได้รับสิทธิทางกฎหมายไม่ต่างไปจากคู่สมรสชาย-หญิง เช่น สิทธิรับมรดก สิทธิในการกู้ร่วม รวมถึงการปฏิบัติในด้านอื่น ๆ อันเป็นสิ่งสะท้อนถึงความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ ในการสร้างความเสมอภาคและก้าวหน้าในสังคม

เรียลสมาร์ท (Real Smart) บริษัท Digital Super Agency รายแรกของไทย ได้ถ่ายทอดประเด็นสมรสเท่าเทียม โดยการใช้เครื่องมือฟังเสียงความเคลื่อนไหวและเสียงบนโลกออนไลน์ อย่าง Social Listening เรียบเรียงไทม์ไลน์เสียงมุมมอง ความคิดเห็น ความรู้สึก รวมถึงความสนใจของคนไทย ที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียทั้งหมด นับตั้งแต่คำว่า #สมรสเท่าเทียม ถูกเอ่ยจากจุดเริ่มต้นจนปัจจุบัน

ประเด็นสมรสเท่าเทียมเริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 หลังจากที่ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในรัฐสภาฯ และทาง ครม. ได้ขอนำร่างไปศึกษาก่อนจะมีการลงมติในวาระการประชุมครั้งหน้า ทำให้บนโซเชียลมีเดีย ทวิตเตอร์ (Twitter) มีการพูดถึงว่า สมรสเท่าเทียมนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ใครคนหนึ่งจะรักใครสักคนได้ กฎหมายที่มีอยู่นั้นล้าหลัง ต้องทำปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น เพื่อตอบรับความหลากหลายของมนุษย์

ต่อมากราฟขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 บนทวิตเตอร์พูดถึงรูปถ่ายเกี่ยวกับคำพูดที่ว่า ที่ไม่สมรสเท่าเทียม เพราะเห็นคนไม่เท่ากัน?” และได้รับความสนใจจนมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นและรีทวิต (Retweets) เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นกราฟเริ่มค่อยลดลงเรื่อย ๆ ก่อนดีดตัวพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ในวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรัก ที่คู่รักหลายคู่นิยมออกมาจดทะเบียนสมรสกันในวันนี้ ได้มี Facebook page ของสำนักข่าวดังอย่าง สำนักข่าวไทย PPTV HD และเพจอื่น ๆ โพสต์ถึงกิจกรรมของ สำนักงานเขตบางขุนเทียน ที่ได้เปิดจุดจดทะเบียนสมรสให้คู่รักชายหญิง รวมถึง LGBTQ+ ให้สามารถเข้ามาจดทะเบียนได้โดยไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายใด ๆ เหมือนทะเบียนสมรส และกราฟเริ่มตกลงในวันเดียวกัน

เกิดประเด็นการพูดถึงอีกครั้งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มี Facebook page : Young Pride Club และสำนักข่าว Voice TV – Talking Thailand ได้โพสต์ถึงเหตุการณ์ที่มีนักเรียนของโรงเรียนชื่อดังในจังหวัดลำพูนออกมาทำแคมเปญ #โบกธงรุ้งทั่วลำพูน รณรงค์ความเท่าเทียมในการจดทะเบียนของคู่รักทุกเพศ แต่ได้มีรายงานว่านักเรียนกลุ่มนั้นได้ถูกคุกคามภายในโรงเรียน เนื่องจากทางผู้อำนวยการโรงเรียนมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำในสถานศึกษา รวมถึงการใส่ชุดนักเรียนในขณะการทำกิจกรรม จนทำเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่พูดถึงในโซเชียลมีเดียพอสมควร

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 กราฟยังคงลดลงอยู่ และได้มี Facebook page : The MATTER โพสต์วิดีโอ สมรส (ไม่) เท่าเทียม เมื่อกฎหมายยังไม่ให้ทุกเพศเท่ากัน” สรุปประเด็นทั้งหมดให้ฟังใน 5 นาทีว่าการสมรสเท่าเทียมนั้นต้องรออีกนานแค่ไหนแม้ชายหญิงแต่งงานจดทะเบียนได้ แต่ LGBTQ+ ยังไม่ได้สิทธินั้นสักที รวมถึงวิเคราะห์ปลายทางของกฎหมายสมรสเท่าเทียมคืออะไร

ภาพรวมความรู้สึก #สมรสเท่าเทียม ของคนไทยในโลกออนไลน์

ในภาพรวมของความรู้สึกของคนไทยที่รวบรวมเครื่องมือ Social Listening จะแบ่งออกเป็น ระดับความรู้สึกคือ Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) กลุ่มที่สนับสนุนการสมรสเท่าเทียมให้ถูกต้องตามกฎหมายกลุ่ม Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) ที่พูดในทางสนับสนุนเรื่องสิทธิของทุกเพศ และอยากให้สังคมยอมรับมากขึ้น และกลุ่ม Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) ที่พูดถึงกิจกรรมจดทะเบียนสมรส แต่ไม่เห็นด้วยกับจดทะเบียนที่ไม่มีผลทางกฎหมาย ซึ่งรายละเอียดเชิงลึกของทั้ง กลุ่มคือ

กลุ่มของ Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 34% ที่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม สนับสนุนให้เป็นเรื่องที่ถูกต้องและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่การยอมรับ แต่หมายถึงการเปิดทางไปสู่ความเข้าใจของคนในสังคม

กลุ่ม Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 50% บอกว่าอยากให้สังคมไทยยอมรับมากขึ้น ทุกคนมีสิทธิเสรีที่ทุกเพศรักกันได้หมด อยากให้ทุกเพศสามารถจดทะเบียนสมรสได้ถูกกฎหมาย

และกลุ่ม Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) 16% มองว่าจัดงานจดทะเบียนสมรสแบบปลอม ๆ ที่ไม่มีผลทางกฎหมายนี้ไม่ควรจัดขึ้นมา เพราะ LGBTQ+ ไม่ใช่ตัวตลกของใคร และคนบางกลุ่มมองว่าสังคมไทยไม่เห็นด้วยกับการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม

เจาะลึกประเด็น #สมรสเท่าเทียม ที่ได้รับความสนใจจากคนไทยบนโลกออนไลน์

ข้อมูลที่เรียลสมาร์ทได้รวบรวมมามีประเด็นหลักที่คนไทยในโซเชียลให้ความสนใจมากที่สุด นั่นก็คือเรื่อง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม และเมื่อดูจากข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ พบว่าคนไทยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในเชิงสนับสนุนมากกว่า แต่ก็ยังคงมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน

พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

Positive Sentiment (ความเห็นเชิงบวก) 65% บอกว่าประชาชนเห็นด้วยและสนับสนุนให้มี พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมถูกต้องตามกฎหมายและสามารถใช้งานได้ทันที ส่วน Neutral Sentiment (ความเห็นเชิงทั่วไป) 19% เป็นไปในทิศทางบวก ซึ่งมีหลายคนติดตามร่างแก้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ และมองว่าศาสนากับกฎหมายควรแยกออกจากกัน เพราะสมรสเท่าเทียมคือเรื่องของคนทุกคน ซึ่งมีกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เป็น Negative Sentiment (ความเห็นเชิงลบ) อยู่ 16%

Top 3 on Facebook Engagement

อันดับ Facebook page ที่มีกิจกรรม #สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นมากที่สุด คือเพจ ธนวัฒน์ วงค์ไชย – Tanawat Wongchai”, “ซีนิว วิวเว่อร์ 4K” และ พรรคก้าวไกล – Move Forward Party” โดยทั้ง 3 อันดับนี้ สังเกตได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่สนับสนุน พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม และเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เปิดรับความหลากหลายทางเพศ รวมถึงเป็นเพจที่มีฐานผู้ติดตามสูง

Top 3 on YouTube Engagement

แพลตฟอร์ม YouTube เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คนไทยนิยมใช้เพื่อติดตามข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งทั้ง 2 อันดับช่อง YouTube กิจกรรม #สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นสูงนั้นเป็นของสำนักข่าวชื่อดังระดับประเทศอย่างช่อง “Thiarath” และ “Matichon tv” ส่วนอันดับที่ 3 อย่างช่อง “THE STANDARD” ก็เป็นอีกหนึ่งสำนักข่าวที่นิยมของกลุ่มคนรุ่นใหม่

Top Hashtag

Top #Hashtag หรือคำค้นหาหลักที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นสมรสเท่าเทียมมีอยู่มากมายหลากหลายหัวข้อ แต่ที่มีอยู่มากและเห็นได้ชัดเจนที่สุด จะเป็น #สมรสเท่าเทียม #LGBT #พรรคก้าวไกล และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

แม้ประเด็น #สมรสเท่าเทียม จะถูกพูดถึงอย่างมากมายในโลกออนไลน์ แต่กฎหมายที่จะตัดสินว่าทุกเพศสภาพจะสามารถจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องนั้น ยังคงต้องติดตามกันต่อไปหลังจากสภามีการเลื่อนพิจารณาออกไปอีกครั้ง ซึ่งหากประเด็น #สมรสเท่าเทียม ถูกจุดขึ้นอีกเมื่อไร เรียลสมาร์ทก็จะติดตามฟังทุกเสียงทุกมาพูดมาวิเคราะห์ให้เห็นความชัดเจนกันอีกครั้ง

หากใครสนใจเทรนด์ต่าง ๆ ไม่อยากพลาดทุกกระแสบนโลกออนไลน์ สามารถกดติดตามเพจ Real Smart หรือเข้ามาเจาะลึกทุกข้อมูลได้ที่ https://trend.realsmart.co.th/category สำหรับในส่วนของ RealTrend ที่รวบรวมกระแสความสนใจในประเด็นต่างๆ ของชาวโลกออนไลน์ ท่านสามารถแชร์ต่อได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย


Written By
More from pp
คณะผู้บริหารและพนักงาน ปตท.สผ. เข้าร่วมโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ”
พงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม   หรือ ปตท.สผ. นำคณะจิตอาสาผู้บริหารและพนักงาน ปตท.สผ. เข้าร่วมพิธีรับหมวกและผ้าพันคอพระราชทาน สำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่จิตอาสาในโครงการ “เราทำความดี...
Read More
0 replies on ““สมรสเท่าเทียม” ในมุมมองของคนไทยผ่าน Social Listening           ”