24 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมาย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย แก่ 15 ผู้พัฒนาเมืองที่ได้รับการประกาศรับรองเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) พร้อมมอบนโยบายการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเมือง สอดคล้องกับเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่ต้องการให้เกิดการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ
โดยมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและบริหารโครงการเมืองอัจฉริยะ พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ผู้แทนจากสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย และผู้เกี่ยวข้องร่วมในพิธีฯ
โอกาสนี้ รองนายกรัฐมนตรีมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย แก่ 15 ผู้พัฒนาเมืองที่ได้รับการประกาศรับรองเป็นพื้นที่เมืองอัจฉริยะ พร้อมกล่าวแสดงความยินดี ว่า ทั้ง 15 เมืองอัจฉริยะถือเป็น 15 เมืองแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นต้นแบบของเมืองที่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดทำระบบข้อมูลสำหรับการบริหารการจัดการเมืองที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งแนวทางการดำเนินการพัฒนาเมืองทั้ง 15 เมืองอัจฉริยะนี้ ถือเป็นผลสัมฤทธิ์และความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในประเทศไทยของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนภาคประชาชน
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การขับเคลื่อนในส่วนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ที่มีสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับเจ้าของพื้นที่ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเมืองในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่ต้องการให้เกิดการกระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งนอกจาก 15 เมืองที่ได้รับมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยในวันนี้ ยังมีอีก 36 เขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะที่อยู่ระหว่างการพิจารณาแผนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
สำหรับเมืองอัจฉริยะ 15 เมือง ที่ได้รับมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย ในวันนี้ ประกอบด้วย 1) ขอนแก่นเมืองอัจฉริยะ 2) ฉะเชิงเทรา เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าลงทุน 3) ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ 4) เมืองศรีตรัง 5) การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบคลองผดุงกรุงเกษม 6) เมืองอัจฉริยะย่านพระราม 4 7) สามย่านสมาร์ทซิตี้ 8) การพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด เทศบาลนครเชียงใหม่