สธ.เผยความคืบหน้าผู้ติดเชื้อที่กระบี่ ขณะนี้ติดตามผู้สัมผัสได้ 290 ราย ยันไม่พบการระบาดในวงกว้าง

กระทรวงสาธารณสุขแจงความคืบหน้าผู้ติดเชื้อที่กระบี่เป็นชายชาวอินเดีย ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ 290 ราย เน้นการปฏิบัติตัวประชาชนยึดมาตรการสวมหน้ากากาอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ยังไม่พบการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง เผยลดวันกักตัวผู้เดินทางจากประเทศเสี่ยงต่ำเหลือ 10 วันแต่ยังปลอดภัย

8 พฤศจิกายน 2563 ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป และแพทย์หญิงวลัยรัตน์ ไชยฟู ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา แถลงถึงความคืบหน้าความคืบหน้าผู้ติดเชื้อ โควิด 19 ในประเทศไทย 1 รายเป็นเพศชาย สัญชาติอินเดีย อายุ 37 ปี อาชีพพนักงานในร้านอาหาร จังหวัดกระบี่ ขณะนี้ผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลกระบี่ อาการทั่วไปปกติ ไม่มีไข้ ไอเล็กน้อย
วิด19
สำหรับผู้ป่วยรายนี้พบเชื้อจากการตรวจสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน (work permit) โดยได้ทำการตรวจ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลเอกชนและผลตรวจยืนยันของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 จังหวัดภูเก็ตพบเชื้อเช่นกัน แต่เนื่องจากพบเชื้อน้อยมากจึงตรวจทางห้องปฏิบัติการซ้ำครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ผลไม่พบเชื้อ และเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาภูมิคุ้มโควิด 19 ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ผลตรวจ IgG เป็นบวก แต่ IgM เป็นลบ ซึ่งแสดงว่าได้รับเชื้อนานแล้ว และมีโอกาสต่ำมากที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น โดยผู้ป่วยรายนี้ได้เดินทางไปยังจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ สุโขทัย ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2563
ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ และกรมควบคุมโรค ส่งทีมสอบสวนโรคไปติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด 290 ราย(เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 79 รายและสัมผัสเสี่ยงต่ำ 211 ราย) ในส่วนผู้สัมผัสเสี่ยง ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ แบ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน 4 รายโดย 3 รายแรกได้แก่น้องชาย น้องสะใภ้และหลานสาวผลตรวจออกแล้วไม่พบเชื้อ โดยภรรยารอผลการตรวจ ผู้สัมผัสในชุมชน 5 ราย แพทย์พยาบาลในโรงพยาบาล 6 ราย และผู้ที่อยู่ในยานพาหนะ ได้แก่เครื่องบิน ซึ่งนับ2 แถวหน้า 2 แถวหลัง เรือเฟอร์รี่ ระหว่างเดินทาง 64 ราย และ  ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ซึ่งไม่ได้ตรวจเชื้อแต่ให้สังเกตอาการ สำหรับการปฏิบัติตัวประชาชนที่สัมผัสใกล้ใช้ผู้ป่วยรายนี้ให้เฝ้าระวังตนเองสวมหน้ากากอนามมัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน หากมีอาการให้รีบพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านพร้อมบอกประวัติ ขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม


ส่วนการลดการกักตัวจาก 14 วันเหลือ 10 วัน อยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ จะเริ่มจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน โดยประเมินความเสี่ยงของประเทศต้นทางเปรียบเทียบกับประเทศไทย (Relative Risk Country) ซึ่งประเทศที่ความเสี่ยงใกล้เคียงกับไทย เช่น จีน มาเก๊า อัตราการติดเชื้อ 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ประเทศที่ความเสี่ยงน้อยกว่าประเทศไทย เช่น ไต้หวัน เวียดนาม มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่า 60 ต่อประชากร 1 ล้านคน ถ้ามีต่างชาติจากกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำเข้ามาในไทย 1 ล้านคน การตรวจ RT-PCR ก่อนการเดินทางจะช่วยลดความเสี่ยงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกักตัว 14 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 0.3 คน ขณะที่การกักตัว 10 วันมีโอกาสเสี่ยงหลุดรอดหลังจากถูกกักกัน 1.5 คน แต่ใช้มาตรการเสริมป้องกันความเสี่ยง และจากการเก็บข้อมูลผลการตรวจหาเชื้อโรคโควิด 19 ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ในกลุ่มผู้เดินทางจากประเทศซูดานใต้ จำนวน 77 คน พบผู้ติดเชื้อ 17 คน โดยทั้งหมดตรวจพบในช่วงวันที่ 0-9 ของการกักตัว ดังนั้น การกักกันโรค 10 วัน จึงมีความเพียงพอ
เมื่อถึงประเทศไทย ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตรวจวัดอุณหภูมิ หากพบว่ามีไข้หรืออาการตามนิยามผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จะแยกกักเพื่อสอบสวนโรค นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อ หากไม่มีไข้ จะส่งเข้ารับการกักกันโรค 10 วัน  โดยทำการตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง คือ วันแรก และวันที่ 5 กับวันที่ 9 ของการกักตัว และตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกัน 2 ครั้ง ในวันแรก และวันที่ 9 หากผลเป็นบวกจะนำส่งรักษากับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา หากผลเป็นลบในวันที่ 10 จะประเมินและติดตั้งแอปพลิเคชัน ใช้ติดตามตัวและรายงานอาการป่วย ชี้แจงให้นักเดินทางทราบถึงการติดตามอาการต่ออีก 4 วัน ก่อนอนุญาตให้ออกจากสถานที่กักกันในวันที่ 11 โดยจัดทีมสนับสนุนติดตามผู้เดินทางอย่างใกล้ชิด เน้นการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่าง โดยผู้เดินทางรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการกักตัวและรักษาพยาบาล ซึ่งทั้งนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจาก ศบค.ก่อน
ขอความร่วมมือประชาชนในจังหวัดต่างๆอย่าตื่นตระหนก กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการควบคุมป้องกันโรคตามมาตรการอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตามทุกคนยังคงต้องอยู่กับโควิด 19 ไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดเปรียบเสมือนวัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อคือ การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง เข้ารับบริการสถานที่ต่างๆ ลงทะเบียนด้วย “ไทยชนะ” ทุกครั้ง
Written By
More from pp
นักวิจัยไทยคิดค้นนวัตกรรมแผ่นแปะสำหรับผู้ป่วย “โรคสะเก็ดเงิน” คว้ารางวัลเหรียญเงินจากเวทีนานาชาติ เพิ่มทางเลือกการรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
19 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรคสะเก็ดเงินในประเทศไทย พบว่า...
Read More
0 replies on “สธ.เผยความคืบหน้าผู้ติดเชื้อที่กระบี่ ขณะนี้ติดตามผู้สัมผัสได้ 290 ราย ยันไม่พบการระบาดในวงกว้าง”