เข้าใจ ‘เบาหวาน’ ผ่าน ‘งานศิลป์’

คงไม่ใช่เรื่องธรรมดานัก หากจะมีใครสักคนที่มองเห็นความงดงามเมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับความเจ็บป่วย ทว่าการไม่เห็นนั้น ก็ไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่าความงามนั้นมันไม่มีอยู่ โดยเฉพาะกับการจัดแสดงล่าสุดที่กำลังมีขึ้นระหว่างวันที่ 11-16 สิงหาคม 2563 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ภายใต้การจัดงานวันรวมพลังสู้ภัยเบาหวาน (Together Fight Diabetes Fair) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการจัดแสดงผลงงานศิลปะ ที่ได้แรงบันดาลใจจาก โรคเบาหวานชนิดที่ 1’

เบาหวาน + งานศิลป์

เพราะเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังและไม่สามารถรักษาจนหายขาด จึงไม่ง่ายเลย ที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งมีเกือบ ล้านคนในไทย จะสามารถทำความเข้าใจ ยอมรับ จนไปถึงจุดที่สามารถอยู่ร่วมกับโรคเบาหวานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเป็นเบาหวานชนิดที่เกิดในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กๆ เด็กวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เบาหวานชนิดที่ 1 นี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดและไม่มีทางป้องกัน

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้จัดประกวดผลงานศิลปะเด็กและเยาวชน ในหัวข้อ Living with diabetes ที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แสดงฝีมือผ่านงานศิลปะที่เปลี่ยนความเจ็บป่วยมาสู่พลังแห่งความสร้างสรรค์ และนำมาจัดแสดงผลงานในนิทรรศการส่วนแรก โดยผู้ชมจะได้สัมผัสกับเรื่องราวที่น้องๆได้ถ่ายทอดออกมาในหลากหลายแง่มุมของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคเบาหวาน และแตกต่างกันในหลายช่วงวัย ทั้งจากรุ่นอายุ 5-9 ปี 10-14 ปี และ15-18 ปี

มองเบาหวาน ผ่านเลนส์หมอ

สำหรับนิทรรศการส่วนที่สองนั้น เป็นผลงานภาพถ่ายของนายแพทย์ กันตพงศ์ ทองรงค์ หรือหมอเปียง คุณหมออารมณ์ศิลป์ที่หลงใหลในการเดินทางและการถ่ายภาพ ที่สะท้อนมุมมองที่น่าสนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน โดยผลงานครั้งนี้มาในชื่อ CHILDREN WHO LIVE WITH DIABETES เบาหวานชนิดที่ กับเรื่องราวการใช้ชีวิตร่วมกับเข็มอินซูลิน

ผลงานนี้หมอเปียง ได้ถ่ายทอดความรู้สีกและเรื่องราวด้วยภาพของเด็กๆในอิริยาบถต่างๆ ที่ผู้ชมอาจไม่เชื่อว่าคนในภาพคือเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกับการฉีดยาด้วยตัวเองทุกวัน ฉีกทิ้งภาพจำเดิมๆว่าผู้ป่วยเบาหวานจะต้องภาพของผู้สูงวัยรูปร่างท้วมที่ชอบกินของหวาน ซึ่งจริงๆแล้วโรคเบาหวาน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

นิทรรศการส่วนนี้จะนำผู้ชมไปสู่การไขคำตอบว่าเด็กๆเหล่านี้เขาอยู่ได้อย่างไร? เพราะเบาหวานชนิดที่ 1 พิเศษกว่าเบาหวานที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันตรงที่ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ จะมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้จัดการกับน้ำตาลในเลือด ภาวะน้ำตาลสูงส่งผลต่อร่างกายทั้งระบบ จนอาจก่ออันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้นผู้เป็นโรคนี้มักต้องฉีดอินซูลินด้วยตัวเองอยู่ทุกวัน และต้องตรวจวัดน้ำตาลจากการเจาะเลือดปลายนิ้ว มากกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน ซึ่งนี่ไม่ใช่เป็นเพียงการรักษาโรค แต่เป็นการปรับชีวิตให้เข้ากับโรค เพื่อให้อยู่ร่วมกับโรคเบาหวานอย่างมีความสุข และมีชีวิตให้ใกล้เคียงคนที่ไม่ป่วยให้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

เรื่องเบาหวาน…ที่ไม่หวาน

นิทรรศการครั้งนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ จัดขึ้นด้วยหวังสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังในสังคมไทย ซึ่งในนิทรรศการส่วนสุดท้ายนั้นเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจและบอกเล่าถึงภารกิจในการแก้ไขปัญหาโรคเบาหวาน ภายใต้ชื่อ Together Fight Diabetes สะท้อนให้ผู้ชมเห็นถึงบทบาทของตนเองที่มีต่อการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ตลอดจนบทบาทในการให้ความช่วยเหลือไปยังผู้ป่วยที่มีอยู่ในสังคม

ปัจจุบันประเทศไทยมีเยาวชนที่เป็นเบาหวานตั้งแต่วัยเด็กเล็กและวัยเรียนอยู่ราว 100,000 คน แต่เรื่องเบาหวานนี้ ดูจะไม่หอมหวานนัก เพราะเด็กหลายหมื่นคนมีฐานะขาดแคลน ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ชนิดที่เจาะเลือดปลายนิ้วได้ ซึ่งอุปกรณ์นี้จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้พวกเขาตรวจวัดระดับน้ำตาลได้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้ในทุกๆวัน และเติบโตไปเป็นทรัพยากรที่สำคัญของสังคมและประเทศชาติ

การระดมทุนช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านี้ก็เป็นอีกภารกิจสำคัญของสมาคมฯ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถร่วมส่งความช่วยเหลือได้ด้วยการบริจาคผ่าน บัญชี สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯ ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 041-017593-5


Written By
More from pp
กรุงศรี ออโต้ ผนึก ททท. เปิดตัวบริการบัดดี้ท่องเที่ยวคู่ใจผู้ใช้รถใน GO Travel บนแอปพลิเคชัน GO by Krungsri Auto
‘กรุงศรี ออโต้’ ผู้นำธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ครบวงจร เครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) นำโดย นายคงสิน คงคา  ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด...
Read More
0 replies on “เข้าใจ ‘เบาหวาน’ ผ่าน ‘งานศิลป์’”