19 มิ.ย.63 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะตรวจเยี่ยมโครงการพาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน Lot 4 และ Lot5 และกิจกรรมส่งเสริมตลาดวิสาหกิจชุมชน ณ โดมที่ว่าการอําเภอสําโรง จังหวัดอุบลราชธานี
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ดีใจที่ได้มีโอกาสมาพบกับพี่น้องที่นี่ และวันนี้ถือว่าเป็นวันที่เรามาจัดกิจกรรมพิเศษที่จะดำเนินการ ทั่วประเทศทุกอำเภอรวมทั้งอำเภอสำโรงของเราด้วย คือ พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน โดยจะลดราคาสินค้าในการดำรงชีพของพี่น้อง และมาถึง Lotที่ 4 มาถึงตอนนี้ผมให้จัดคาราวานสินค้าราคาถูกออกไปจำหน่ายทุกอำเภอทั่วประเทศ 878 อำเภอ ลดราคาสูงสุดถึง 68% และสำคัญ Lot ที่ 5 เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อ 2-3 วันที่แล้ว
ด้วยความคิดที่ว่าวันที่ 1 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้อีก 10 กว่าวัน ลูกหลานพี่น้องกำลังจะเปิดเทอมหลายคนต้องซื้อเสื้อใหม่ กางเกงใหม่กระโปรงใหม่ รองเท้าใหม่ หนังสือเรียนใหม่ ไม้บรรทัดอันใหม่ กระทรวงพาณิชย์คิดแล้วครับว่าทำยังไงจะลดภาระผู้ปกครองในภาวะวิกฤตนี้ได้ พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน Lot ที่ 5 จึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยลดราคาชุดนักเรียนอุปกรณ์ การเรียนกระเป๋า ปากกา ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด ให้ลูกหลานพี่น้องโดยลดสูงสุดถึง 80%
ถ้าลูกหลานพี่น้องอยู่อนุบาลมีเสื้อเด็กอนุบาลบางตัวบางยี่ห้อลดเหลือตัวละ 20 บาท ถ้าวันนี้พี่น้องมีเงินในกระเป๋า 100 บาทเอาไปซื้อของลดราคา 80% พี่น้องจะซื้อของกลับบ้านได้ 180 บาท
“นี่คือสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์ช่วยพี่น้อง เพื่อลดภาระค่าครองชีพและพาณิชย์ลดราคา Lot ที่ 5 เริ่มต้นแล้ววันนี้ ผมขอให้พาณิชย์จังหวัดได้นำสินค้ามาลดราคาให้พี่น้องสำหรับ Lot 5 ชุดนักเรียนด้วย
ที่อุบลจัดมาแล้ว 4 อำเภอ อำเภอเขื่องใน อำเภอดอนมดแดง อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอตาลสุม และที่นี่เป็นอำเภอที่ห้าคืออำเภอสำโรง แล้วจะตระเวนไปจนครบ 25 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี” นายจุรินทร์กล่าวกับชาวจังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังพูดถึงโครงการประกันรายได้เกษตรกร และใช้อุบลราชธานีที่มาร่วมรับฟังเป็นชาวนาเสียส่วนใหญ่ จึงกล่าวว่า ข้าวเป็นหนึ่งในพืช 5 ชนิดที่รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายประกันรายได้เกษตรกรและเป็นเงื่อนไขตอนประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล บอกกับพรรคแกนนำตั้งรัฐบาลว่า ถ้าประชาธิปัตย์จะร่วมรัฐบาล ขอเงื่อนไขอย่างน้อย หนึ่งข้อในสามข้อคือขอให้เอานโยบายประกันรายได้ไปเป็นนโยบายรัฐบาล พรรคแกนนำก็ตอบรับและแถลงต่อรัฐสภาเป็นข้อผูกมัดกลายเป็นนโยบายรัฐบาลชุดนี้
ประกันรายได้ คือ ถ้าพืชผลทางการเกษตรข้าว ของพี่น้องราคาตก เช่นที่นี่ส่วนใหญ่ปลูก ข้าวหอมมะลิ ถ้าวันไหนราคาข้าวหอมมะลิราคาตกรัฐบาลจะช่วยชดเชยเงินก้อนหนึ่งให้พี่น้องยังชีพได้โดยวิธีประกันรายได้คือ รัฐบาลจะกำหนดเพดานรายได้ให้กับพี่น้องว่าต้องได้ไม่ต่ำกว่าเท่าไร ข้าวหอมมะลิประกันที่ตันละ 15,000 บาท
“วันไหนราคาข้าวหอมมะลิในตลาดที่พี่น้องขายได้อยู่ที่ 15,000 บาทไม่เป็นไรพี่น้องก็เอาไปขายและรับเงินไป 15,000 บาทต่อตันตามปกติ หรือวันไหนที่ราคาข้าวขึ้นไปที่ 16,000 บาท ก็จะได้รับเงิน 16,000 บาทตามปกติ
แต่ถ้าวันไหนราคาข้าวหอมมะลิตกลงจาก 16,000 ลงมาเหลือ 13,000 พี่น้องจะมีรายได้น้อยลงจากการขายข้าวหอมมจะขายได้แค่ 13,000 บาท แต่ไม่เป็นไรเพราะเมื่อราคาข้าวหอมในตลาดเหลือ 13,000 บาท พี่น้องยังมีนโยบายประกันรายได้ช่วย ต่อไปนี้ถ้าที่พี่น้องขายข้าวได้ 13,000 บาทจะมีรายได้ 2 ทาง
ทางที่หนึ่งคือการขายในตลาดได้มา 13,000 บาท ใส่กระเป๋าซ้ายแต่ยังมีเงินอีกก้อนหนึ่งที่เรียกว่าส่วนต่างจากรายได้ประกัน 15,000 บาท ลบกับราคาตลาด 13,000 บาท คือ 2,000 บาท ที่รัฐบาลจะโอนเงินเข้าบัญชี ธ.ก.ส.ของพี่น้องประชาชนโดยตรงให้กับพี่น้องเอาไปอีกตันละ 2,000 บาท รวมกระเป๋าซ้าย 13,000 กระเป๋าขวา 2,000 บาท กลายเป็น 15,000 บาทตามรายได้ประกัน” นายจุรินทร์ กล่าว
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ข้อดีของนโยบายประกันรายได้ เพราะต้องการประกันรายได้ให้พี่น้องที่ปลูกข้าวแล้ว จะไม่มีรายได้ต่ำกว่านี้ ถ้าราคาตกแต่ถ้าราคาดีก็รับตังค์ไปเลยเท่าไหร่ก็เท่านั้น
คราวที่แล้วราคาข้าวหอมดี บางครั้งก็เกินราคาประกัน พี่น้องก็จะไม่ได้รับเงินส่วนต่างแต่บางครั้งก็ได้รับเงินส่วนต่างบ้าง ช่วยให้พี่น้องได้มีรายได้ไม่ต่ำกว่ารายได้ที่ประกันนี่คือข้อดี ของนโยบายประกันรายได้ เพราะมีเงินส่วนต่าง แต่ยังมีมาตรการเสริมช่วยพี่น้องอีก
และเมื่อวานได้ประชุมที่ทำเนียบรัฐบาลกับท่านนายกรัฐมนตรีมีมติเบื้องต้นแล้ว เห็นชอบในหลักการแล้วว่านโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวรวมทั้งข้าวหอมมะลิจะต้องเดินหน้าต่อไปในปีงบประมาณต่อไป เพื่อช่วยพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ทางที่สอง ยามใดข้าวออกเยอะ เราจะมีมาตราการชะลอการขายให้เก็บไว้ซึ่งส่วนใหญ่ชาวนาอีสานจะได้เปรียบ ปลูกมาก็เก็บไว้อยู่แล้ว จะได้รับเงินชดเชย ตันละ 1,500 บาท และถ้าเป็นสถาบันเกษตรกรก็ได้อีก 1,500 บาทเหมือนกัน แต่ต้องแบ่งให้กับเกษตรกร 500 บาท สถาบันได้ 1000 บาทต่อตัน
3.โรงสีถ้าไปช่วยซื้อข้าว เพื่อไม่ให้ข้าวออกตลาดมากก็ใช้วิธีช่วยเรื่องดอกเบี้ย 3% รวมถึงสหกรณ์ด้วย
4.เราเคยช่วยค่าต้นทุน 500 บาทต่อตันไม่เกิน 20 ไร่ ช่วยค่าเก็บเกี่ยว 500 บาทไม่เกิน 20 ไร่ แต่บางครั้งค่าเก็บเกี่ยวมีปัญหาเพราะภัยแล้ง น้ำท่วม เมื่อวานกระทรวงพาณิชย์เสนอว่าต่อไปนี้ไม่ต้องมีต้นทุน ไม่ต้องมีค่าเก็บเกี่ยว มีก้อนใหม่เรียกว่า ค่าบริหารจัดการ และปรับปรุงคุณภาพให้รวดเดียวเลยตันละ 1000 บาทไม่เกิน 20 ไร่ เป็นต้น