อีกโรคยอดฮิตที่พบมากในสังคมปัจจุบันและผู้สูงวัย เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ข้าว,แป้ง) โปรตีนและไขมัน ทำให้ฮอร์โมนอินซูลินขาดหรือฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ซึ่งหากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ตาพร่ามัว ตาบอด ไตเสื่อม ไตวาย ชาตามปลายมือปลายเท้า ติดเชื้อได้ง่าย ตัดขา และอาจเสี่ยงถึงชีวิต
โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงทำให้ร่างกายไม่สามารถ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ สังเกตอาการเหล่านี้บ่งบอกว่า “คุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง“ ปัสสาวะบ่อย, หิวน้ำบ่อย กระหายน้ำมาก, น้ำหนักลด อ่อนเพลีย, สายตาพร่ามัว, รู้สึกหิวบ่อย แม้ว่าจะเพิ่งกินไป และ ขาชา ผิวแห้ง คันตามตัว การตรวจวัดระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหรือ (HbA1c) ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท การขาดความรู้และขาดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่ายโรคเบาหวาน ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานสูญเสียเงินทองและเวลาในการรักษา ดังนั้นการควบคุมโรคเบาหวานให้ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก ควรได้รับการตรวจหา HbA1c ประมาณ 2 – 4 ครั้งต่อปี HbA1c ปัจจุบันตรวจวัดได้ง่ายได้ผลเร็วและไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
สามารตรวจวัดได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย และห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลซึ่งปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันว่า HbA1c เป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุด ในการควบคุมและติดตามผลการรักษาโรคเบาหวานในระยะเวลานานและสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ท่านควบคุมเบาหวานได้ดี คือ ควบคุมอาหารและหมั่นพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
- ผู้ที่ตรวจ HbA1c ครั้งแรกเพื่อการคัดกรองเบาหวาน
- ค่าปกติ ผู้ไม่เป็นเบาหวาน = น้อยกว่า 5.7 mg%
- ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน = 5.7 mg% ถึง 6.4 mg%
- ผู้เป็นเบาหวาน = มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg%
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมอาหารที่รับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด ต้องรับประทานอาหารที่ มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือถ้าน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักตัวลง 5% ของน้ำหนักเดิม ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ หรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือน้อย ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด หมั่นดูแลรักษาเท้าให้ดี โดยทำความสะอาดเท้าและดูแลผิวหนังทุกวัน ควบคุมความดันโลหิต ไม่ให้สูงเกิน 140/90 มม.ปรอท ควบคุมระดับไขมันในเลือด ให้ระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ต่ำกว่า 100 มก./ดล. เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน และดูแลสุขภาพภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีสม่ำเสมอ
โรคเบาหวานไม่ใช่โรคของผู้สูงอายุเสมอไป แต่สามารถพบในทุกอายุโดยเฉพาะตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด คือเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากกรรมพันธุ์และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารประเภทแป้ง ของหวานมากเกินไป ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วนลงพุง การขยับร่างกายที่น้อยลง ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการสู้กับโรคเบาหวานนั้นไม่ใช่เพียงแต่รับประทานยาอย่างเดียวแต่การดูแลโภชนาการ การเลือกอาหารอะไรรับประทานได้อะไรควรเลี่ยงการรับประทาน การหมั่นตรวจสอบดูแลตนเอง การอออกกำลังกายที่เหมาะกับแต่ละคน นั้นจำเป็นอย่างยิ่งต่อผลการรักษาหรือป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อน ธุรกิจศูนย์การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ให้ความรู้ความเข้าใจ ตอบข้อซักถาม การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นอีกตัวเลือกที่จำเป็นที่เชื่อถือได้ในปัจจุบันและจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคตอันใกล้
สนใจปรึกษาด้านสุขภาพฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย กับ ท๊อป เทเลเซ็นเตอร์ โทร.0-2096- 3211 สุขภาพดีส่งตรงถึงบ้าน บริการเหมือนคนในครอบครัว