ปิดเทอม เด็ก “เล่นอิสระ” เติมเต็มวันว่างอย่างสร้างสรรค์

ทุกวันนี้เด็กไทยมีเวลาเล่นน้อยลง รายงานวิจัยพบว่า เมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษาที่เน้นวิชาการเด็กจะมีเวลาเล่นอิสระไม่ถึง 60 นาทีต่อวัน โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องเรียน และการเรียนพิเศษ จึงต้องเร่งสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ใหญ่เพื่อให้ความสำคัญของการเล่นอิสระของเด็ก

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เกริ่น ในงานแถลงข่าว เปิดตัวโครงการ ปิดเทอมสร้างสรรค์-อัศจรรย์วันว่าง  ปี 2563 ที่ สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้  ณ  ลิโด้ คอนเน็คท์กรุงเทพฯ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส.ดำเนินการโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยริเริ่มให้เกิดแพลตฟอร์มออนไลน์ในชื่อ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล เชื่อมร้อยกิจกรรมจากทุกหน่วยงาน สนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กโต และพื้นที่ เล่นอิสระ” สำหรับเด็กเล็ก ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งสิ้น 298 หน่วยงาน เพื่อจะทำให้วันว่างช่วงปิดเทอมของเด็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปีนี้มี 2,228  กิจกรรม ที่เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าร่วมอย่างน้อย 111,400 คน  และมีตำแหน่งงานพาร์ทไทม์รองรับกว่า 10,000 ตำแหน่ง ขณะที่ส่วนภูมิภาคใน 15 จังหวัด มีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมน่าสนใจสำหรับเด็กเยาวชนครอบคลุมทั่วประเทศ

รูปแบบกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม ปลดปล่อยศักยภาพ เพื่อตามหาความฝัน แบ่งปันสังคม และค้นหาตัวตน ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกในยุคปัจจุบันมีสิ่งเร้าทำให้เด็กก้าวพลาด ซึ่งงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ปิดเทอมสร้างสรรค์ -อัศจรรย์วันว่าง  ปี 2563 สสส.ได้จัดเวทีเสวนา หัวข้อ เติมเต็มวันว่างอย่างสร้างสรรค์เป็นเรื่องสำคัญของใครกันแน่” เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ มาร่วม แชร์ประสบการณ์  ถ่ายทอดแง่คิด มีหลากหลายมุมมองที่น่าสนใจ

ทิชา ณ นคร (ป้ามล) ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก บอกเล่า ในเวทีเสวนาว่าในสังคมไทยมีจำนวนครอบครัว 22.8 ล้านครอบครัว มีเพียงส่วนน้อยที่ช่วงปิดเทอมได้พาลูกไปเที่ยวเมืองนอก มีกิจกรรมให้ลูกทำ แต่มีครอบครัวส่วนมาก และมีฐานะอยู่ในระดับต่ำไม่รู้จะไปทางไหน มีตัวอย่างครอบครัวที่แม่เป็นช่างเย็บผ้าใช้วิธีแลกแบงก์ 50 เก็บไว้ ให้ลูกทุกวันเพื่อไปเล่มเกมในช่วงปิดเทอม นึกภาพเด็กไปจมอยู่ในร้านเกม คิดว่าเรื่องเหล่านี่เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคประชาสังคม ต้องมาร่วมรับผิดชอบ เด็กต้องการพื้นที่ที่สร้างสรรค์แต่หายาก ขณะที่หลายประเทศพร้อมจะลงทุนเพื่อเด็ก เพราะรู้ว่าเมื่อเด็กก้าวพลาด ต้นทุนการเยียวยานั้นสูงมาก และไม่แน่ใจว่าค่าเยียวยานั้นจะทำให้ชีวิตเขากลับมาหมดจดงดงามหรือไม่

มีบันทึกของเยาวชนบ้านกาญจนาที่ก่ออาชญากรรม เราพบว่ารูปแบบของครอบครัว 21 แบบ เป็นปัจจัย ผลักไสไล่ส่งให้ไปก่ออาชญากรรม หนึ่งใน21 ข้อ คือครอบครัวที่ไม่มีกิจกรรมร่วมกัน บ้านเงียบมีไม่ใครพูดต่างคนต่างอยู่กับเทคโนโลยี จนวันหนึ่งเด็กอยากพูดอะไรกับพ่อแม่ แต่ความที่ไม่เคยพูดกัน ทำให้ไม่มีทักษะ แม้เป็นเรื่องสำคัญเพราะที่ผ่านมาแม้เรื่องเล็กยังไม่เคยคุย นับประสาอะไรกับเรื่องใหญ่ๆ” ป้ามลสะท้อนปัญหาให้ฟัง

ขณะที่ อรอนงค์ เจริญลาภนำชัย หรือแม่ปุ้ม จากเพจ พาลูกเที่ยวดะ ถ่ายทอดรูปแบบการเลี้ยงลูกที่ต้องพาลูกออกไปนอกบ้านว่า การพาลูกออกไปนอกบ้านช่วยสร้างประสบการณ์เรียนรู้ ได้เห็นชัดว่าลูกมีประสบการณ์ไม่นับความแปลกใหม่ของสถานที่ เพราะทุกอย่างที่เขาเจอคือประสบการณ์ไม่ว่าความไม่ได้ดั่งใจของสภาพดินฟ้าอากาศ ได้เจอผู้คน การต่อรองสินค้า การขอความช่วยเหลือ เหล่านี้กลายเป็นเครื่องมือมาใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคต

สิ่งแรกที่จุดประกายอยากพาลูกออกไปนอกบ้าน เพราะทุกวันนี้มีสิ่งเร้าเยอะทุกบ้านมีทีวี พ่อแม่มีโทรศัพท์ ต่อให้เราไม่ให้เขาก็รู้ว่าในนั้นมีภาพ ถ้าปล่อยให้อยู่ที่บ้านเขาจะเรียกร้องสิ่งเหล่านี้ ซึ่งกิจกรรมข้างนอกไม่ใช้แค่ไปเที่ยว แค่

ไปตลาด ไปตามสวนสาธารณะ จะทำให้เขาจะโฟกัสกับสิ่งรอบตัวแทน ลืมเรื่องการเล่นมือถือดูทีวีออกไป ดังนั้นในช่วง 3 ปีแรกของเด็กสำคัญมาก พ่อแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่มีตัวตน ทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาอยู่กับพ่อแม่แล้วปลอดภัย อบอุ่น” แม้อุ้มเล่า

ส่วน นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ หรือครูบิร์ด จากเพจ เบิร์ดคิดแจ่ม Bird KidJam บอกเล่าประสบการณ์ในชีวิตของตัวเองที่สอดรับกับข้อมูล 3 ปีแรกของเด็กกับพ่อแม่ที่มีตัวตนว่า ตัวเองเป็นเด็กต่างจังหวัดอาศัยในบ้านพักครู มีเหตุการณ์หลายอย่างเป็นฉากในชีวิต เช่น เราเล่นสมมุติว่าเป็นหมอผ่าตัดกับน้องหาอะไรเล่นกับน้อง ซึ่งเราเล่นกันเอง พ่อแม่ไปทำงานหมด ทำให้ย้อนนึกได้ความมีตัวตนของพ่อแม่ที่มีอยู่ในตัวเรา เพราะพ่อแม่เริ่มต้นให้ความรัก ความอบอุ่น ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย และมั่นใจที่จะเติบโตขึ้น  เด็กอยากอยู่กับพ่อแม่ที่นั่งตักแล้วฟังนิทาน ถามว่าวันว่างทำอะไร แล้วแต่ครอบครัวเราเรียกร้องการทำกิจกรรมวันว่าง ถ้าไม่ได้จะทำอะไร เราต้องใช้ความเข้มแข็งในจิตใจ ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจต้องคิดเองได้

ขณะที่น้อง ปราชญา ศิริมหาอาริยะโพธิ์ญา ประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตบางกะปิ วัย 14 ปีในฐานะแกนนำเด็กเยาวชนเรียกร้องให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าพบจิตแพทย์ได้โดยที่ไม่ต้องมีผู้ปกครองรับรอง เล่าว่าครอบครัว แม่ลาออกจากงานมาเลี่ยงลูก จำได้แม่อยากให้พูดภาษาอังกฤษจึงทำตัวอักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ A ถึง Z ติดอยู่ที่ฝาผนังทุกวันนี้ยังอยู่ เราจะมองมองทุกวัน แม่สอนอ่านทุกวัน ตรงนั้นได้รับความอบอุ่น จนเราเข้าโรงเรียนเราไม่รู้ว่าเราอ่านตัวอักษรนี้ได้ รู้สึกว่าแม่เป็นครูเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ดีที่สุดในชีวิต ทำให้ชีวิตเรามีความมั่นใจกล้าพูดกล้าแสดงออก

การสื่อสารเชิงบวกในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมีข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ป้ามลเล่าว่า เด็กที่เติบโตโดยไม่ได้รับความอบอุ่นจากพ่อแม่ เพราะความยากจนหรือพ่อแม่เข้าไม่ถึง พบว่าทักษะการสื่อสารของเด็กต่ำมาก และจะมีปัญหาหลายอย่างตามมา เมื่อต้องแลกเปลี่ยนความคิด ให้คำปรึกษา เรารู้สึกว่าเจอทางตันทุกครั้ง ดังนั้น เราจึงออกแบบกิจกรรมให้เด็กดูภาพการ์ตูนแล้วมาวิเคราะห์ เช่น ภาพการ์ตูน พีนอคคีโอ ที่จมูกยาวขึ้นเรื่อยๆ เพราะพูดโกหก แต่พบว่า มีแด็กบางคนไม่เข้าใจการสื่อสารเหล่านี้ เพราะตีความในเชิงสัญลักษณ์ไม่ได้ ทำให้วัยเด็กของเขาไม่สนุก กลายเป็นปัจจัยผลักไสไล่ส่งเด็ก ดังนั้นนิทานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญของวัยเด็ก และโรงเรียนควรมีชั่วโมงเล่านิทานบังคับ

ในจำนวน 22.8 ล้านครอบครัว มีครอบครัวส่วนใหญ่ที่นึกไม่ออกว่าเลี้ยงลูกต้องคุยกัน หรือกำลังคิดว่าต้องหากิจกรรมอะไรให้ลูกทำในช่วงปิดเทอม กิจกรรมใกล้ตัวเช่นการทำความสะอาดบ้าน จัดบ้าน หรือออกกำลังกาย ง่ายๆ แค่นี้เท่ากับสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน 

Written By
More from pp
“โฆษกเพื่อไทย” จี้ประยุทธ์รับผิดชอบ ทำโควิด-19 ระบาดระลอก 2 เผยยอมรับสักทีบริหารประเทศล้มเหลว
ผศ.ดร.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นจากการลักลอบเข้าเมืองผ่านช่องทางธรรมชาตินั้น ถึงเวลาแล้วที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ต้องหยุดโทษคนอื่น...
Read More
0 replies on “ปิดเทอม เด็ก “เล่นอิสระ” เติมเต็มวันว่างอย่างสร้างสรรค์”