กรณีแถลงการณ์ค้ดค้านคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 125/ 2566เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 นายเรืองไกร สีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา เปิดเผยว่า
กรณีปรากฏข้อเท็จจริงในเฟซบุ๊กพรรคก้าวไกลที่ออกแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข และมีข้อความตนท้ายที่ระบุว่า “จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนคำสั่งดังกล่าวโดย คำนึงถึงผลของประเทศและประชาชน” ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าว ลงนามโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล นั้น
นายเรืองไกร กล่าวว่า เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจากคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 125/2566 พบว่า มีการย้ายข้าราชการ จำนวน 2 ราย ดังนั้น ข้อเท็จจริงในแถลงการณ์ดังกล่าวที่ระบุถึงผู้ที่ถูกย้ายเพียง 1 คน จึงน่าจะคลาดเคลื่อนไปจากคำสั่งด้งกล่าว และอาจมีการตัดทอนหรือต่อเติมข้อความนอกเหนือไปจากคำสั่งดังกล่าวด้วย
นายเรืองไกร กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่พบจากคำสั่งและคำแถลงการณ์ดังกล่าว จึงมีประเด็นที่ควรให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบ นายพิธา ลิ้มจริญตน์ ในฐานะ ส.ส. ที่ออกแถลงการณ์ดังกล่าว ว่า เข้าข่ายกระทำการนต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (7) ประกอบมาตรา 185(3) หรือไม่ และมีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 11 และข้อ 15 หรือไม่
นายเรืองไกร กล่าวว่า ที่ร้องกรณีนี้ไปยัง ป.ป.ช. เพราะว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เคยมีคำวินิจฉัยกรณีตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 ไว้ว่า
“อย่างไรก็ดี พฤติกรรมของผู้ถูกร้องในการแสดงท่าทางและการใช้ถ้อยคำต่อ .. นายกเทศมนตรีและผู้บริหารเทศบาล…
หากบุคคลใดเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าว ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม ต่อสถานะหรือตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยองค์กรหนึ่ง บุคคลนั้นย่อมดำเนินการได้ตามที่รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2563 และมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่ากาตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ซึ่งใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย”
นายเรืองไกร กล่าวสรุปว่า ดังนั้น โดยแนวทางตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันนี้ ตนจึงได้ส่งเรื่องไปถึง ป.ป.ช. ทางไปรษณีย์ EMS เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวข้างต้นแล้ว