มนัญญา กำชับรักษาคุณภาพส่งออกทุเรียน ผลไม้ไทย-จีน พบสวมสิทธิ์แจ้งดำเนินคดีทันที

www.plewseengern.com

กรมวิชาการเกษตร ประชุมกระชับแนวปฏิบัติการส่งออกทุเรียนและผักผลไม้ของไทย เพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อประเทศคู่ค้า

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 65 ที่ผ่านมา ได้ประชุมผ่านระบบ Online กับ ผู้แทนผวจ.ชุมพร อัครราชทูต ฝ่ายการเกษตรประจำกรุงปักกิ่ง กงศุลเกษตร นครกวางโจว และนครเซี่ยงไฮ้

พร้อมด้วยนายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง นายสมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นด่านนำเข้า-ส่งออกทางเรือ ทางบก ทางอากาศทั่วประเทศ ติดตามกระบวนการส่งออกทุเรียน และผลไม้ไทยสู่จีน เพื่อรักษาความเชื่อมั่น คุณภาพมาตรฐาน ตามพิธีสารไทย-จีน ว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ไทยผ่านประเทศที่สามเข้าสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามนโยบายที่ได้ไปว่า ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงพิธีสาร และอย่าให้มีการสวมสิทธิ์ทุเรียนไทยส่งออกอย่างเด็ดขาด พบผิดให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทันที

นายระพีภัทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีทุเรียนส่งออกไปจีน แล้วกว่า 7 แสนตัน มูลค่ามากกว่า 72,000 ล้านบาท (1 ม.ค.-1 ก.ย. 65) และเพื่อส่งเสริมและรักษาตลาดการส่งออกทุเรียนและผลไม้ไทยที่ดีมีคุณภาพ ไม่มีการปนเปื้อนของแมลงศัตรูพืชและไม่ให้มีผลไม้คุณภาพต่ำไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อกำหนดหลุดออกไป

จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชทั้งหมดทุกช่องทาง เข้มงวดการตรวจสอบคุณภาพผลไม้ทั้งระบบ และให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 ร่วมตรวจสอบย้อนกลับกระบวนงาน ตรวจคุณภาพ ถิ่นกำเนิด และการปนเปื้อนแมลงศัตรูพืช ตามพ.ร.บ.กักพืชฯ และพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับให้ผ่านระบบ e-Phyto (E-Phytosanitary Certificate

)รวมถึงให้ทวนสอบแปลงการผลิต GAP และ GMP ที่รับรองโรงคัดบรรจุ และผู้ส่งออก ทั้งนี้ไทยต้องเข้มงวดในทุกมาตรการ ซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการให้ความร่วมมือเพื่อให้ทุเรียนและผลไม้ไทยมีคุณภาพดีที่สุดของโลก

สำหรับแนวปฏิบัติกำหนดให้

1. สวนทุเรียนและหรือสวนผลไม้ส่งออกต้องได้รับการขึ้นทะเบียน (GAP) และโรงคัดบรรจุหรือล้ง (GMP) จากไทยและศุลกากรจีน และศุลกากรจีนได้ประกาศรับรองเลขทะเบียนพร้อมแล้ว

2. การตรวจสอบทุเรียนส่งออกในโรงคัดบรรจุ เพื่อรับรองสุขอนามัยพืช เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการตาม “คู่มือปฏิบัติการตรวจสอบศัตรูพืชในการส่งออกทุเรียนไปจีน” อย่างเคร่งครัด หากตรวจพบต้องสงสัยให้ตรวจสอบย้อนกลับ และปฏิเสธการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช

3. หากตรวจพบหรือต้องสงสัยว่า ผู้ประกอบการส่งเอกสารแนบหรือหลักฐานอันเป็นเท็จ ให้ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้ประกอบการที่แจ้งข้อความเท็จต่อทางราชการ ในการยื่นขอรับใบรับรองสุขอนามัยพืช (พก.๗) เพื่อส่งออกทุเรียนไปจีน เฉพาะรายที่สงสัยว่ากระทำผิดนั้นทันที

4. ชะลอการคัดบรรจุเพื่อส่งออกชั่วคราว ตามพิธีสารไทย-จีน ภายใต้ข้อตกลงการส่งออกผลไม้สด

5. ทุกล้งที่ส่งออกไปยังจีนต้องมีมาตรการ COVID PLUS ตามมาตรการ ZERO COVID ที่ประเทศจีนกำหนด

สำหรับด่านของกวก.มี 48 ด่าน ทางบก 29 ทางเรือ 12 ทางอากาศ 7 ด่าน มีหน้าที่ในการตรวจสินค้าเกษตรส่งออกไปยังประเทศปลายทาง โดยปฏิบัติตามกฎหมายของกวก. 4 ฉบับคือ พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ.2518 พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ. 2518 พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

ปัจจุบันผลไม้สดที่อนุญาตให้นำเข้าและส่งออกเป็นผลไม้ไทย 22 ชนิด และผลไม้จีน จํานวน 23 ชนิด อาทิ ทุเรียน ลําไย ลิ้นจี่ มังคุด มะม่วง ชมพู่ กล้วย มะพร้าว เป็นต้น



Written By
More from pp
“ส.ส.ภูดิท” พิจิตร เขต 2 พปชร. ประสานสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 7 สำรวจบ่อน้ำบาดาลในอำเภอตะพานหิน
“ส.ส.ภูดิท” พิจิตร เขต 2 พปชร. ประสานสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 7 สำรวจบ่อน้ำบาดาลในอำเภอตะพานหิน พร้อมรับข้อเสนอจากประชาชนอำเภอทับคล้อ ขอใช้ที่ดินราชพัสดุขุดอ่างเก็บน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่
Read More
0 replies on “มนัญญา กำชับรักษาคุณภาพส่งออกทุเรียน ผลไม้ไทย-จีน พบสวมสิทธิ์แจ้งดำเนินคดีทันที”