ที่ผ่านมาเห็นแชร์กันในไลน์บ้าง ในเฟซบุ๊กบ้าง
ว่าราคาน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้านถูกจนเติมทิ้ง เติมขว้างยังสบายกระเป๋า
แต่น้ำมันไทยทำไมโคตรแพง !
จริง ๆ พอเห็นหลายครั้งเข้าก็เริ่มเกิดความสงสัย…
แต่ก็เข้าใจได้ถึงเรื่องการเข้าถึงข้อมูล ที่อาจจะยากเกินไป
แถมยังมีหลายฝ่าย “ตั้งใจจะโจมตี” บางหน่วยงาน
จนทำให้เกิดข้อมูลที่บิดเบือน และความเข้าใจที่ผิด
แต่ที่ผ่านมา การอธิบายเรื่อง “โครงสร้างพลังงาน” ก็เป็นเรื่องที่น่าเวียนหัวเหมือนกัน !
ทีนี้เลยมีคนออกมาโวยวายอยู่เรื่อย ๆ ว่าเวลาน้ำมันไทยขึ้นราคามันจะขึ้นเยอะ แต่เวลาลดจะลงน้อย
แถมแพงกว่าชาวบ้าน หรือในอีกกรณีที่ว่าผลิตได้เองแท้ ๆ ทำไมยังต้องซื้อคนอื่นอยู่ ?
และยิ่งในปัจจุบันที่เกิดความวุ่นวายของสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้แล้วด้วย
ยิ่งเป็นช่องโหว่…
ที่ทำให้คนที่พยายามจะโจมตีก็ยิ่งประโคมข่าวมั่ว ๆ ออกมา !
ขณะที่แนวโน้มมันก็ดันเป็นไปตามที่คนในสังคมกำลังเผชิญอยู่
จริง ๆ ก็อยากจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างพลังงานในประเทศ
เพื่อที่อาจจะไขข้อสงสัยของ “คนที่คิดจะโจมตี” หรือ “คนที่อาจจะยังไม่เข้าใจ” ในส่วนนี้อยู่ เป็นภาษาง่าย ๆ ที่พอจะเข้าใจได้
อย่างเรื่องที่บอกว่าประเทศไทย ผลิตน้ำมันได้เอง แต่ทำไมต้องนำเข้า แล้วน้ำมันที่ผลิตได้ดันส่งออก ?
ก็เพราะว่าประเทศไทยนั้นถือว่า “เป็นผู้นำเข้าน้ำมัน”
ปริมาณน้ำมันดิบที่ประเทศไทยผลิตได้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านลิตร/วัน “ไม่พอใช้”
เพราะว่าในประเทศมีความต้องการใช้อยู่ที่ 117 ล้านลิตร/วัน
จึงต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน
และเรื่องที่ต้องส่งออกน้ำมันนั้น เพราะว่าน้ำมันดิบที่ผลิตได้ส่วนใหญ่ โรงกลั่นในประเทศไม่ยังไม่สามารถกลั่นออกมาเป็นน้ำมันที่ใช้งานได้ เนื่องจากคุณสมบัติของโรงกลั่นไม่ตรงกับที่จะทำได้
เลยส่งออกไปยังประเทศที่สามารถกลั่นได้นั่นเอง
และอีกเรื่องอย่างราคาน้ำมันประเทศเพื่อนบ้านทำไมถูกกว่าของไทย ?
จริง ๆ เมื่อนำข้อมูลราคาจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ณ วันที่ 30 พ.ค. 2565 ของทุกประเทศอาเซียนมาเปรียบเทียบกันนั้น
ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่ขายน้ำมันราคาถูกเกือบจะที่สุดเมื่อนำไปเทียบกับ 10 ประเทศอาเซียน
แม้จะเทียบกับลาว เวียดนาม เมียนมา หรือกัมพูชาก็ตาม
ซึ่งจากข้อมูลของหลายฝ่ายจะออกมาบอกว่าน้ำมันอย่างมาเลเซียหรือบรูไน นั่นถูกมาก ๆ
ต้องเข้าใจก่อนว่า ทั้ง 2 ประเทศนั้นเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมัน
ทำให้นอกจากจะไม่เก็บภาษีเพิ่มแล้ว ยังมีนโยบายในการสนับสนุนราคาในประเทศ…
โดยรัฐบาลได้นำเงินที่ได้จากการขายน้ำมันมาอุดหนุนราคาน้ำมัน
ส่งผลให้ราคาน้ำมันในประเทศเหล่านั้นถูกกว่าประเทศอื่น ๆ แน่นอน
ขณะที่ประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นราคาตลาดกลางที่ไทยใช้อ้างอิงนั้น สูงเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มอาเซียนเลยด้วยซ้ำ !
ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาหลายหน่วยงานพยายามจะออกมาชี้แจงเรื่องพวกนี้แล้ว
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่โดนมองข้าม หรือพยายาม “บิดเบือนข้อมูล” จากผู้ไม่หวังดีอยู่เสมอ
และข่าวเรื่องราคาพลังงานของประเทศอื่นถูกว่าประเทศไทยก็จะวนกลับมาเรื่อย ๆ
ให้คนได้โจมตี….
แบบนี้ก็น่าจะหนักหน่อยสำหรับผู้ที่รับบทเป็นคนช่วยเหลือ
เพราะตลอดมาไม่ว่าจะทำไปแค่ไหน แต่กว่าจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ “คงวุ่นวายน่าดู”
น่าเห็นใจ…
เพราะอย่างบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เองที่ติดอาวุธพร้อมรบกับราคาพลังงานมาโดยตลอด
แถมยังต้องรับนโยบายรัฐบาลในการช่วยอุดหนุนราคาพลังงานต่าง ๆ
เพื่อให้ประชาชนในสังคมได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
บางครั้งก็อาจจะถูกมองข้าม !
โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตต่างๆ ทั้งภาวะสงครามรัสเซีย – ยูเครน และโควิด-19 ที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันทั้งสิ้น
ปตท. เองก็ยังเดินหน้าสนับสนุนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานมาตลอด
อย่างการขยายระยะเวลาการคงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี)
และราคาขายปลีกเอ็นจีวี ตามมาตรการ “เอ็นจีวีเพื่อลมหายใจเดียวกัน” สำหรับผู้ประกอบอาชีพขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
โดยต่อเวลาไปอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน
จากเดิมสิ้นสุดในวันที่ 15 มี.ค. 65 เป็นวันที่ 15 มิ.ย. 2565
คิดเป็นมูลค่าที่สนับสนุนทั้งสิ้นกว่า 3,322 ล้านบาท
และยังมีมาตการขยายระยะเวลาช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซ LPG แก่ผู้มีรายได้น้อย
กลุ่มร้านค้า หาบเร่ แผงลอยอาหาร ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
จำนวนเงิน 100 บาท/คน/เดือน ต่อไปอีก 3 เดือน
ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ถึง 30 มิ.ย. 2565
เป็นงบประมาณรวมกว่า 15.6 ล้านบาท !
นอกจากนี้ จากความไม่แน่ไม่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจ
โดยเฉพาะจากสงครามรัสเซีย – ยูเครนที่ทำให้พลังงานมีความผันผวนและอาจขาดแคลน
ปตท. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ !
เพราะได้เตรียมความพร้อมทั้งการจัดหาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป…
โดยประสานงานโรงกลั่นกลุ่ม ปตท. ให้สำรองน้ำมันคงคลังในระดับสูงสุด
การนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐอเมริกาประมาณ 95 ล้านลิตร โดยเก็บไว้ในถังน้ำมันที่ศรีราชา
ประสานกับเครือข่ายคู่ค้าเพื่อเตรียมจัดหาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติอย่างน้อยประมาณ 160 ล้านลิตร
รวมทั้งการนำปริมาณน้ำมันที่ทำการค้าสากลเข้ามาในประเทศเพื่อสำรองด้านความมั่นคงอีกประมาณ 320 ล้านลิตร
เพื่อให้ “มั่นใจ” ว่าประเทศมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ
แน่นอนว่าการที่ ปตท. ออกมาช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในเรื่องนี้
ก็น่าจะมาจากพันธกิจหลักที่จะต้องการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศแน่นอน
แบบนี้ก็คงต้องให้กำลังใจกันต่อไป ขณะที่ผู้ที่รู้ข้อมูลหรือมีความเข้าใจในเรื่องนี้แล้ว
ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ก็ต้องพยายามเตือนสติคนอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วย