ปัจจุบันประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะช่วงเทศกาลวันหยุดยาว หลายๆ คนเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด และใช้เวลาในการขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนเป็นเวลานาน หรือดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับขี่ยานพาหนะ ส่งผลให้เกิดการหลับในขึ้น
แพทย์หญิงปรียานุช สุวลักษณ์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ศูนย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหัวเฉียว กล่าวว่า ภาวะง่วงนอนขณะขับขี่ยานพาหนะ หรืออาการหลับใน มีความสำคัญเทียบเท่าการขับขี่ยานพาหนะขณะเมาสุรา ก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งต่อชีวิตและทรัพย์สินของทั้งตัวผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ภาวะง่วงนอนเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานเป็นกะ หรือการเข้าเวรติดต่อกันเป็นเวลานาน สมองจะสั่งการในการทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้วูบหลับลงไปโดยไม่รู้ตัว ร่างกายของคนเราต้องการอาหาร น้ำ และการนอนหลับพักผ่อนให้เหมาะสม เพื่อทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพต่อการทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน หากเราฝืนร่างกายโดยการอดนอน อดอาหาร อาจส่งผลให้เกิดอันตรายและนำไปสู่การเสียชีวิตได้
สัญญาณที่บ่งบอกว่ามีภาวะง่วงนอนขณะขับขี่ยานพาหนะ
1.จำเหตุการณ์ขณะขับขี่ยานพาหนะในระยะทางใกล้ๆ ที่ผ่านมาไม่ได้
2.ขับขี่ยานพาหนะออกนอกเส้นทาง
3.ไม่มีสมาธิในการขับขี่
4.มีอาการหาวบ่อยขณะขับขี่
5.รู้สึกง่วงนอนแล้วฝืนไม่ให้หลับ เป็นต้น
การปฏิบัติตัวเมื่อพบสัญญาณเหล่านี้ ควรหยุดขับขี่ยานพาหนะและหาสถานที่ปลอดภัยจอดรถงีบหลับพักผ่อน และหลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือยาประเภทที่ส่งผลให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะน้อยลง
ปัจจุบัน ศูนย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหัวเฉียว มีทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรฉุกเฉินที่ได้รับการฝึกอบรมด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มุ่งมั่นให้การดูแลผู้ป่วยด้วยคุณภาพมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยเป็นสำคัญ พร้อมทีมกู้ชีพช่วยเหลือ มีบริการรถ Mobile ICU เพื่อรองรับผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง สายด่วนศูนย์หัวเฉียวพิทักษ์ชีพ โทร. 08-1870-3538-40