‘แบกเสลี่ยง’ งานชั้นต่ำ?-ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ท่าทางจะจบยาก!

เห็นเด็กจุฬาฯ แชร์กลอนกันในเพจ “คณะจุฬา”

ก็เรื่อง ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวนั่นแหละครับ ใครอยากรู้ทัศนคติของเด็กๆ เหล่านี้ต่อที่มาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ลองอ่านดูครับ
————-

….มหาวิทยาลัยอันสุนทร

กลายเป็นโรงละครแล้วหรือนั่น

สวมหัวโขนเต้นเร่าอย่างเมามัน

เลือดรักสถาบันเริ่มทำงาน

ความเป็นจุฬาฯ มาจากไหน

มาจากในสัญลักษณ์อัครฐาน ?

มาจากสรวงสวรรค์ดลบันดาล ?

หรือมาจากหมอบคลานประเพณี ?

ปากตะโกนก้องว่า “อย่าลืมราก”

แต่ลืมคนทุกข์ยากทุกถิ่นที่

เป็นเสาหลักค้ำฟ้าบารมี

แต่ฐานเสาบดขยี้ธุลีดิน

ตราพระเกี้ยวประทับตราทุกอาคาร

อยู่ทุกหัวเอกสารไม่หมดสิ้น

แค่ไม่แห่วอทองผยองบิน

ใครหลายคนก็ดีดดิ้นกินรังแตน

ให้แบกเองคงไม่กล้าจะมาแบก

เพราะที่หลังหนักแอกจนหลังแอ่น

สมัครใจก็เชิญแบกให้ตัวแบน

แต่จะให้แบกแทน กู ไม่ ทำ !

-มาลินี….
————-

เรื่องวิธีคิดและการเข้าใจปัญหา ดูจะเป็นปัญหาที่เจอกันมากในหมู่คนรุ่นใหม่บางกลุ่ม ที่เล่าเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย

ที่มาของจุฬาลงกรณ์ เป็นที่รับรู้ของสังคมทั้งในและนอกจุฬาลงกรณ์มานับร้อยปี

จุฬาลงกรณ์มาจากไหน สรวงสวรรค์ดลบันดาล หมอบคลานประเพณี อย่างนั้นหรือ

ความคิดที่ผ่านตัวอักษรนี้เต็มไปด้วยอคติ ไม่รับรู้ประวัติศาสตร์ที่มีข้อเท็จจริง และเป็นที่ยอมรับของคนไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มมาจากสมเด็จพระปิยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน” ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ เพื่อฝึกหัดนักเรียนสำหรับรับราชการปกครองในกระทรวงมหาดไทย

ผู้ที่จบจากโรงเรียนนี้จะได้รับการถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท ก่อนที่จะออกไปรับตำแหน่งในกรมต่างๆ ต่อไป

ต่อมาในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๔๕ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก”

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีพระราชดำริที่จะผลิตข้าราชการไปรับราชการในกระทรวงอื่นๆ อีก ไม่เฉพาะแต่กระทรวงมหาดไทย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๕๓ ให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็น “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ทุนรอนใช้เงินที่เหลือมาจากที่ราษฎรบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า

สถานที่ตั้งคือวังของเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปก่อน คือบริเวณสนามศุภชลาศัยในปัจจุบัน

โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดที่ดินพระคลังข้างที่ ๑,๓๐๙ ไร่เป็นเขตโรงเรียน

แบ่งการศึกษาเป็น ๕ โรงเรียนย่อย คือ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา โรงเรียนแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา และโรงเรียนยันตรศึกษา เหมือนเป็น ๕ คณะ

ต่อมาทรงพระราชดำริขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ นี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะผู้ที่มุ่งรับราชการเท่านั้น

แต่เปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์จะศึกษาชั้นสูงทั่วไปก็เข้าศึกษาได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

และทางมหาวิทยาลัยได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน “พระเกี้ยว” สัญลักษณ์ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

พ.ศ.๒๔๕๙-๒๔๖๕

มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และการเตรียมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา มีการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เพื่อให้ช่วยเหลือการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์

พ.ศ.๒๔๖๖-๒๔๘๐

เริ่มรับผู้สำเร็จหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ และมีการปรับปรุงหลักสูตรและรับนักเรียนผู้จบประโยคมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนอีก ๔ คณะ

พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๙๐

เริ่มเน้นการเรียนการสอนพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดเตรียมมหาวิทยาลัยคือนักเรียนจะต้องเลือกเรียนตามคณะต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน ทำให้เกิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น

พ.ศ.๒๔๙๑-๒๕๐๓

เป็นระยะเวลาของการขยายการจัดการศึกษาออกไป โดยเน้นระดับปริญญาตรีเป็นหลัก

พ.ศ.๒๕๐๔ จนถึงปัจจุบัน

เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี และเริ่มพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม และการบริการทางวิชาการให้แก่สังคม มีการจัดตั้งสถาบันวิจัย สถาบันบริการ ศูนย์ และสำนัก เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกวิถีทาง

ให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

ครับ…ผมก็เที่ยวหาคัดลอกมาจากข้อมูลของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตั้งใจนำเสนอเพื่อให้เห็นว่า ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุฬาฯ มาจากไหน และพัฒนามาอย่างไร

แน่นอนครับไม่ได้มาจากสรวงสวรรค์ดลบันดาล หรือหมอบคลานประเพณี

แต่มาจากจุดเริ่มต้นที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์ฝึกฝนคนเพื่อไปพัฒนาบ้านเมือง

ไม่ต่างจากจุฬาฯ ในปัจจุบันที่ผลิตบัณฑิตไปพัฒนาประเทศทั้งภาครัฐ และเอกชน

ก็เหมือน ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงวางแผนพัฒนาประเทศเอาไว้ คนรุ่นหลังก็ได้ประโยชน์จากแผนดังกล่าวและพัฒนาต่อยอดไปอีก

การโยงเรื่อง สรวงสวรรค์ดลบันดาล หรือหมอบคลานประเพณี จะให้แปลความว่าอะไร?

ที่บอกว่า เลือดรักสถาบันเริ่มทำงาน ก็ชัดเจนว่าคนที่ใช้ประโยคเช่นนี้ มีอยู่กลุ่มเดียวคือ กลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัติรย์

ฉะนั้นถ้าเริ่มด้วยความคิดล้มล้างสถาบัน ก็มองข้อเท็จจริงอย่างอื่นไม่ออก

อีกประเด็นที่เห็นจากทัศนคติคนรุ่นใหม่ที่มองว่าการแบกเสลี่ยงคืองานที่ใช้แรงงาน เป็นงานชั้นต่ำ ไม่ใช้สมอง

อันนี้น่าจะมากไป!

เมื่อเรียกร้องคนเท่ากัน ก็ต้องมองงานที่คนทำให้เท่ากันด้วย

ถ้าดูถูกชนชั้นแรงงาน เป็นชนชั้นต่ำ เพราะทำงานชั้นต่ำ ไม่มีทางที่คนจะเท่ากันได้

เพราะความคิดที่ต่ำตม


Written By
More from pp
สธ. ปรับรูปแบบการให้บริการประชาชนในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม ยืนยันไม่กระทบการบริการ
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย ขณะนี้ยังพบสถานการณ์น้ำท่วมใน 18 จังหวัด มีสถานบริการได้รับผลกระทบ 64 แห่ง ได้ปรับรูปแบบไม่ให้กระทบการบริการ อำนวยความสะดวกประชาชนให้เข้าถึงการดูแลรักษา เยียวยา ส่วนกลางเตรียมพร้อมสนับสนุนยาเวชภัณฑ์ลงพื้นที่ประสบภัย
Read More
0 replies on “‘แบกเสลี่ยง’ งานชั้นต่ำ?-ผักกาดหอม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i 0 || bottom > 0) && top