วันที่ 11 ก.ย. 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม ในการใช้ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างของประชาชน เพื่อก่อสร้าง วางสิ่งของ สูบน้ำ หรือระบายน้ำผ่านเข้าไปในที่ดินได้ โดยต้องกำหนดค่าทดแทนและค่าชดเชยความเสียหายดังกล่าวแก่ประชาชนด้วยนั้น
2) กฎกระทรวง ค่าชดเชยความเสียหายจากการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม โดยคุ้มครองประชาชนกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม เนื่องจาก พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการทำลายสิ่งกีดขวาง ตัดฟันต้นไม้ ขุดดิน ปิดกั้นแนวเขตที่ดิน รื้อถอนสิ่งก่อสร้างซึ่งมิใช่เป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหรือดำเนินการอื่นใดเท่าที่จำเป็นแก่การป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมได้ โดยให้ชดเชยความเสียหายแก่ประชาชนเจ้าของที่กินและสิ่งปลูกสร้างตามเกณฑ์ที่กำหนด
3) กฎกระทรวง กำหนดค่าทดแทนให้แก่บุคคลซึ่งต้องเฉลี่ยน้ำที่กักเก็บไว้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่เขตภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรง โดย พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ยังบัญญัติในกรณีที่เกิดภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรงในพื้นที่ใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้บุคคลซึ่งกักเก็บน้ำไว้ ต้องเฉลี่ยน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่
“กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ เพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนเริ่มของประชาชนในการช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี” น.ส.ไตรศุลี กล่าว