โรคซึมเศร้าไม่มีทางออกจริงหรือ? รู้จักทางเลือกในการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

“โรคซึมเศร้า” อาจเป็นคำที่หลายคนคุ้นเคย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่รู้ว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ และทุกคนสามารถกลับมามีชีวิตที่ดีขึ้นได้ ในบทความนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณมีข้อมูลในการตัดสินใจในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเอง

โรคซึมเศร้า (Depression) ไม่ใช่แค่เรื่องของอารมณ์เศร้า หรือหมดกำลังใจในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เป็นภาวะทางจิตที่ส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ และมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โรคซึมเศร้าไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกท้อแท้หรือหมดกำลังใจ แต่ยังสามารถมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน การทำงาน และการใช้ชีวิตปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

  • พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้า อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้น
  • ความเครียดเรื้อรัง ภาระงาน, ความวิตกกังวล, หรือปัญหาทางการเงิน
  • สภาพแวดล้อมและสังคม การขาดการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนฝูง
  • ภาวะสุขภาพร่างกาย โรคเรื้อรัง หรือการใช้สารเสพติด

โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต Bangkok Mental Health Hospital หรือ BMHH เราให้ความสำคัญกับกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ โดยใช้รูปแบบการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team : MDT) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก นักบำบัด พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การทำงานร่วมกันของทีมช่วยให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านการบำบัดทางจิต การดูแลร่างกาย และการสนับสนุนทางสังคม โดยเฉพาะในกระบวนการรักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้และความเข้าใจจากหลายมุมมอง ทีมงานจะช่วยสร้างการดูแลที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ป่วยในแต่ละราย ทำให้การรักษามีความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แม้ว่า MDT จะไม่ใช่เพียงวิธีการรักษาเดียว แต่เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้ามีวิธีไหนบ้าง?

ที่โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต Bangkok Mental Health Hospital หรือ BMHH มีการรักษาโรคซึมเศร้าที่หลากหลายวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล แพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการ และมีแนวทางการรักษาดังต่อไปนี้

· การบำบัดทางจิตวิทยา (Psychotherapy)

การบำบัดทางจิตหรือที่เรียกว่า “การพูดคุยบำบัด” เป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์เพื่อเข้าใจถึงสาเหตุของอาการซึมเศร้า และช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดเชิงลบที่อาจทำให้เกิดปัญหาในชีวิต การบำบัดที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การบำบัดพฤติกรรมและความคิด (CBT) ที่เน้นการแก้ไขพฤติกรรมและความคิดที่ไม่ดี

· การรักษาด้วยยา (Medications)

การใช้ยาต้านเศร้า (Antidepressants) เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ของเรา ยาต้านเศร้าอาจใช้ร่วมกับการบำบัดทางจิตและการดูแลตัวเองเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

· การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (dTMS)

หากผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและการบำบัดทางจิต การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Deep Transcranial Magnetic Stimulation : dTMS) เป็นทางเลือกที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อกระตุ้นทำให้เกิดกระเเสประสาท แล้วทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีในสมอง ในการที่จะปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและลดการเกิดอาการซึมเศร้าลงได้

หากคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า อย่าลังเลที่จะเข้ารับคำปรึกษาและการรักษาจาก โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต Bangkok Mental Health Hospitalหรือ BMHH เพื่อช่วยให้คุณกลับมามีชีวิตที่สดใสอีกครั้ง

Written By
More from pp
ศบค. ย้ำภาครัฐไม่มีการส่งSMS ดาวน์โหลด “ไทยชนะ” วอนประชาชนอย่าหลงเชื่ออาจถูกล่อลวงข้อมูล
ศบค. ย้ำประชาชนอย่าหลงเชื่อ SMS แจ้งลิงก์ ให้ดาวน์โหลดแอป “ไทยชนะ” เป็นวิธีล่อลวงข้อมูลจากประชาชน วอนอย่างส่งต่อ อย่างแชร์   แจง“ไทยชนะ” เป็นแพลตฟอร์มไม่ใช่แอปพลิเคชันใดๆ ระบุชัดเจนไม่มีการส่ง...
Read More
0 replies on “โรคซึมเศร้าไม่มีทางออกจริงหรือ? รู้จักทางเลือกในการรักษาเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น”