การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง…วิธีการรักษาภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน

การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง (Anterior Cervical Discectomy and Fusion) ปัจจุบันใช้สำหรับผู้ป่วยภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการเริ่มต้นคือ ปวดต้นคอ ปวดคอร้าวลงแขน ชาแขนหรือชามือ ในรายที่มีการกดทับของเส้นประสาทมากอาจมีอาการ อ่อนแรงของมือ เช่น

รู้สึกติดกระดุมไม่ถนัด เขียนหนังสือแล้วลายมือไม่เหมือนเดิม หรืออาการอ่อนแรงของขา ทำให้มีอาการเดินเซได้ หรืออาการอ่อนแรงของขา ทำให้มีอาการเดินเซได้ หรือในบางรายอาจมีการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระที่ผิดปกติไป

ซึ่งบทความให้ความรู้โดย ผศ.นพ. ปิลันธน์ ใจปัญญา ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง และการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบส่องกล้อง ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนวเวช ได้อธิบายวิธีสังเกตอาการ แนวทางการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง รวมทั้งข้อดีและความสี่ยงที่เกิดขึ้น สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจาก…
 หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
 กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท
 หินปูนเกาะเส้นเอ็นหลังกระดูกคอ เป็นต้น

การรักษาเบื้องต้น มักเริ่มด้วยการทานยาและการทำกายภาพบำบัด แต่หากอาการปวดหรือชาของคุณ ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด หรือมีการทำงานของระบบประสาทที่ผิดปกติ

การรักษาด้วยการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง หรือ Anterior Cervical Discectomy and Fusion หรือ ACDFอาจช่วยให้อาการของคุณดีขึ้น และกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

การผ่าตัด ACDF เหมาะสำหรับใครบ้าง?
 ผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอหรือชาแขนที่เกิดจากหมอนรองกระดูกหรือกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท และอาการไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา/การทำกาพภาพบำบัด
 มีการกดทับของไขสันหลังและเส้นประสาทมากจนมีความผิดปกติของระบบประสาทรุนแรง หรือผลเอกเรย์คอมพิมเตอร์พบโพรงประสาทส่วนคอตีบแคบ ที่แพทย์ประเมินแล้วว่าควรรักษาโดยการผ่าตัด และไม่ควรรอผลการรักษาด้วยการกินยา/ทำกายภาพ
 หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
 หมอนรองกระดูกคอเสื่อม
 กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท
 โพรงประสาทส่วนคอตีบแคบ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
โดยปกติก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัดบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอหรือส่วนอื่นๆ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมสำหรับการผ่าตัดโดย อายุรแพทย์ และ/หรือ วิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด และจะทำการให้ยาต่าง ๆ เพื่อเตรียมร่างกายให้มีความพร้อมสำหรับการผ่าตัด

• งดยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาต้านเกร็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Plavix และ Warfarin เป็นต้น
• งดอาหารเสริม เช่น สมุนไพร เมล็ดแปะก๊วย โสม น้ำมันตับปลา ยาลูกกลอน อย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด
• งดสูบบุหรี่ และ งดการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนวันผ่าตัด
• ทำการงดน้ำและอาหาร 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อลดโอกาสเกิดการสำลักอาหารระหว่างดมยาสลบ
• พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งก่อนการผ่าตัด

การผ่าตัด ACDF ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก

1. การผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกออก (Discectomy) – ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ACDF มักมีหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอที่เสื่อมหรือบาดเจ็บ และเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท ในการผ่าตัด ACDF ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกคอที่ผิดปกติออก เพื่อลดการกดทับเส้นประสาท และ สร้างพื้นที่สำหรับการใส่อุปกรณ์ทดแทนหมอนรองกระดูก

2. การใส่อุปกรณ์ทดแทนหมอนรองกระดูกเพื่อเชื่อมข้อต่อ (Fusion) – หลังจากที่นำหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาออกไปแล้ว ศัลยแพทย์จะทำการใส่อุปกรณ์ทดแทนหมอนรองกระดูก หรือทำการปลูกถ่ายกระดูกเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมติดกันของกระดูกคอ นอกจากนี้กระดูกคอส่วนที่มีปัญหามักจะมีความหลวมของข้อต่อ เมื่อ

Written By
More from pp
“ตูน บอดี้สแลม” นำทีมดาราครอบครัว Dr.JiLL บอกเล่าความประทับใจ ผ่านวิดีโอประมวลภาพความสำเร็จ “โครงการ 1 อิ่ม” (ONE GIVE)
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ยังมีน้องๆ เยาวชนที่ได้รับผลกระทบจำเป็นต้องหยุดเรียนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มากไปกว่านั้นเด็กที่ฐานะยากจน และไม่มีโอกาสในการเข้าถึงโภชนาการอาหารที่ถูกหลักยิ่งมีมากขึ้น เหล่าศิลปินดาราจึงร่วมแรงร่วมใจมอบโอกาส และระดมทุนหาค่าอาหารให้เด็กๆ ยากจน
Read More
0 replies on “การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอผ่านกล้อง…วิธีการรักษาภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน”