จุฬาฯ เชิญฟังปาฐกถาในหัวข้อ “ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในการสร้างสันติภาพ” โดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ International Peace Foundation เป็นเจ้าภาพจัดงาน the JAPAN-ASEAN BRIDGES event series การปาฐกถาในหัวข้อต่างๆ โดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และการแพทย์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนและยกระดับการพัฒนาในอนาคตผ่านการศึกษา

การปาฐกถา Chulalongkorn University BRIDGES Nobel Laureate Talk Series จัดขึ้น 5 ครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 – มีนาคม 2567 ณ หอประชุมจุฬาฯ การปาฐกถาครั้งที่ 1 หัวข้อ “The importance of science for peace-building” (ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในการสร้างสันติภาพ) โดย Prof.Takaaki Kajita ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ Director of the Institute for Cosmic Ray Research, the University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14.00 – 15.45 น. จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

International Peace Foundation เป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อสนับสนุนงานด้านสันติภาพ ให้การสนับสนุนโครงการ และงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันความขัดแย้ง รวมถึงกลวิธีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ส่งเสริมกิจกรรมด้านสันติ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิดและทำความเข้าใจภายในสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าฟังการปาฐกถาได้ที่
https://www.inter.chula.ac.th/chulalongkorn-university-bridges-nobel-laureate-talk-series/

รับชมการปาฐกถาทาง Facebook Live : https://www.facebook.com/ChulaOIA

ติดตามกำหนดการกิจกรรม JAPAN-ASEAN BRIDGES event series ได้ที่
https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/Timeline-info-4-min.pdf

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้สำนักบริหารวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ จุฬาฯ โทร. 0-2218-3126 E-mail: [email protected] Website : www.inter.chula.ac.th

Written By
More from pp
นายกฯ ลงพื้นที่ มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด ติดตามปัญหายาเสพติด หนี้นอกระบบ พร้อมรับฟังปัญหาและพบปะประชาชน 5 – 6 พฤษภาคม นี้
2 พฤษภาคม 2567  นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการตรวจราชการ ณ...
Read More
0 replies on “จุฬาฯ เชิญฟังปาฐกถาในหัวข้อ “ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในการสร้างสันติภาพ” โดยผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์”