4 ตุลาคม 2565-นางสาวทิพานัน ศิริชัย รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะเกษตรกร รัฐบาลได้ออกมาตราการให้ความช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อยให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2563/64 รอบที่ 1 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ด่าเนินการในปีการผลิต 2564/65 รอบที่ 1 ภายใต้วงเงิน 13,604 ล้านบาท และยังดำเนินมาตรการคู่ขนาน
ได้แก่ โครงการสินเชื่อ ชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี วงเงิน 26,255 ล้านบาท โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร วงเงิน 15,562 ล้านบาท โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก วงเงิน 540 ล้านบาท และโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565 วงเงิน 1,925 ล้านบาท
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีวัตถุประสงค์ เช่นเดียวกับโครงการประกันภัยข้าวนาปี โดยในปีการผลิต 2564/65 มีวงเงิน 1,863 ล้านบาท และดำเนินมาตรการคู่ขนาน ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปี 2564/65 วงเงิน 1,030 ล้านบาท โครงการชดเชยดอกเบี้ยใน การเก็บสต๊อก ปี 2564/65 วงเงิน 1.515 ล้านบาท และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต 2565 วงเงิน 224.44 ล้านบาท
โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันและโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง โดยช่วยเหลือชาวสวนปาล์มน้ำมันในปีการผลิต 2564/65 วงเงิน 7,660 ล้านบาท และป้องกันความเสี่ยงด้านราคาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในปีการผลิต 2564/65 วงเงิน 6,811 ล้านบาท และดำเนินมาตรการคู่ขนาน
ประกอบด้วย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันส่าปะหลัง ปี 2564/65 วงเงิน 41.4 ล้านบาท โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันส่าปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2564/65 วงเงิน 500 ล้านบาท โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต๊อกมันส่าปะหลัง ปี 2564/65 วงเงิน 225 ล้านบาท และโครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปมันส่าปะหลัง ปี 2564/65 วงเงิน 10 ล้านบาท
และโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ประกอบด้วย โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรรูปยางพารา วงเงิน 2,980.24 ล้านบาท โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง 3 ระยะ รวมวงเงิน 46,789 ล้านบาท โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ วงเงิน 1.5 ล้านบาท
โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง ระยะที่ 2 วงเงินสินเชื่อ 25,000 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อรวบรวมยาง วงเงิน 1,400 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ วงเงิน 20, 000 ล้านบาท
นางสาวทิพานัน ย้ำว่ารัฐบาลให้ความสำคัญในด้านภาคการเกษตร ซึ่งเป็นภาคการผลิตที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยเจริญเติบโตมาโดยตลอด ยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลต้องการให้ประชาชนมีวิธีการผลิตที่เหมาะสม มีรายได้ที่ดีขึ้น สร้างรอยยิ้ม สร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
รัฐบาลพยายามที่จะลดต้นทุนการผลิต ทั้งต้นทุนที่สูงขึ้นรวมถึงขาดแคลนแรงงานโดยใช้เทคโนโลยีดัดแปลงให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิต นำมาทดแทนแรงงานที่ขาด ขอให้เกษตรเชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะทำให้ดีที่สุดเพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นผ่านมาตรการโครงการต่าง ๆ