“น้ำมัน” กับข้อมูล “แก้มึน” – เปลว สีเงิน

www.plewseengern.com

เปลว สีเงิน

ป่วยไป ๓ วัน
อ่านคอมเมนท์ พบมีคนปันใจให้ว่า “หายไป เป็นห่วงนะ” ที่กะจะป่วยสำออยอีกซักหน่อย เลยต้องรีบหาย
อะไรมันจะ “ดีต่อใจ” เท่า “น้ำใจ” แห่งมิตรอารีย์
ในโลกนี้…ไม่มีแล้ว!
หลานปลื้ม “สุรบถ หลีกภัย”  รีบส่งขนมจีบ-ซาละเปามาโดป พูดถึงก็นึกขึ้นได้ หลายวันก่อนคุณแม่ภักดิพรนำเงินมาฝากไปทำบุญ เมื่อรู้ว่าผมจะไปที่พิพิธภัณฑ์ธรรมเจดีย์หลวงตาพระมหาบัว ที่อุดรธานี

จัดการให้ตามจิตกุศลตั้งเรียบร้อยแล้ว ผมไปกราบรูปเคารพ “หลวงปู่ขาว อนาลโย” ที่อนุสรณ์สถาน วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู ก็ได้นำใส่ตู้บริจาค บอกคุณแม่ ให้โปรดตั้งจิตอนุโมทนาด้วย

จะว่าไปแล้ว หลานผมเต็มบ้าน-เต็มเมืองจริงๆ นะ นอกจากหลานปลื้มแล้ว
ยังมี “หลานเมย์-หลานบิ๋ม-หลานวิน” กลับจากญี่ปุ่น มาสานธุรกิจครอบครัว “ศรีกิจพานิช”

ห่วงผมจะติดโควิด นำแอลกอฮอล์ที่พวกเขาผลิตและออกแบบพกพาได้เก๋ไก๋มาให้ฉีดมือ บอกว่าฉีดแล้วไม่ต้องล้างมือ เพราะผลิตจาก Alcohol Food Grade

ใช้ฉีด ถ้วย จาน ชาม ได้เลย มีกลิ่นหอมดอกไม้ไทยกลิ่นๆ ต่างๆ ให้เลือกตามชอบ
เห็นหลานๆ “เด็กรุ่นใหม่” แล้วก็ปลื้มแทนพ่อแม่ กลับมา ก็นำความรู้มาพัฒนาต่อยอดธุรกิจตระกูล

ลูกคนอื่น มีเงินจะซื้อรถ แต่หลานๆ “ศรีกิจพานิช” กลับซื้อควายไทยมาเลี้ยง ซื้อที่ข้างบ้านทำนาปลูกข้าวไรซ์เบอรรี่ไว้แจก

บ้านพวกเธออยู่ริมแม่น้ำนครไชยศรี เป็นทรงไทย จะมีชาวญี่ปุ่นมาแวะชม-แวะเยี่ยม ด้วยหลงเสน่ห์ธรรมชาติบ้านทรงไทยและวิถีไทยตลอดทั้งปี

แล้วยังมีหลานรุ่นใหญ่ “จ๊อบ-อิสรา สุนทรวัฒน์” ลูกชายคุณแสงชัย สุนทรวัฒน์ เจ้าตำรับ “ฟุต ฟิต ฟอไฟ” เพื่อนรักผมที่เสียชีวิตไปแล้ว

จ๊อบเกิดและโตในสหรัฐฯ ไม่นึกว่าจ๊อบจะทิ้งอเมริกามาเป็นคนไทย ๑๐๐% พูดไทยได้คล่อง เป็นสส. ล่าสุดไปเป็นเลขาธิการสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ที่อินโดฯ

เห็นเพื่อนพ่อ คือผม……..
ขาดนักเขียนที่ไทยโพสต์ เมื่อหมดวาระกลับมาไทย ก็มีน้ำใจช่วยมาเขียนคอลัมน์ “พูดจาภาษาโลก” โดย อิสรา สุนทรวัฒน์ ให้ทุกอาทิตย์

“ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น” อย่างนั้นจริงๆ แสงชัย พ่อของเขาว่าเอาภาษาฝรั่งมายำไทย “สไตล์ลูกทุ่ง” ได้เด็ดสะระตี่แล้ว
แต่จ็อบ-ลูก “เด็ดกว่า” ในด้านลึกถึงรากและเนื้อหา จะว่ากันตรงๆ แสงชัย ไปอเมริกาตอนโต มันก็ฝรั่งเทียม แต่หลานจ๊อบเกิดที่นั่น เป็นอเมริกันชน จึงเข้าถึงต้น ราก แก่น กว่าพ่อ

ไม่ซื้อ-ไม่หา ไทยโพสต์ ก็ไม่ว่า….
แต่ถ้าอยากพิสูจน์ นอกจากที่เว็บไทยโพสต์แล้ว จะเข้าไปที่ [email protected] ก็ได้

เมื่อวาน นำเรื่องกำไร “โรงกลั่นน้ำมัน” ที่คนการเมืองนำความจริงครึ่งเดียวมาปั่นถึงขั้นว่า “คนไทยโดนปล้นค่าน้ำมัน”
แล้วคุณ “สมภพ พอดี” นำข้อเท็จจริงมาแยกธาตุให้เห็นครบด้าน ว่ามันมิใช่อย่างนั้นหรอก พ่อคุณ พ่อทูนหัว

คุณสมภพว่าพยายามทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องอ่านง่าย เพื่อเข้าใจง่ายๆแล้ว แฟนๆหลายท่านก็ยังบ่นว่า….มึนตึ๊บ!

เข้าใจครับ เรื่องน้ำมัน มันซับซ้อนด้วยทุกศาสตร์ ไม่ง่ายเหมือนละเลงขนมเบื้องด้วยปาก หรือสร้าง “ความจริงเทียม” ให้คนหลงเชื่อ ด้วยเพทุบายศาสตร์

ฉะนั้น วันนี้ เอาใหม่ ก็เอามาจาก fb คุณ “สมภพ พอดี” นั่นแหละ เป็นบางตอนที่น่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า ขออภัยคุณสมภพด้วย ที่นำมาโดยมิได้ขออนุญาตก่อน

คือเมื่อ ๒๐ มิย.๖๕ นายกรณ์ได้แถลงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง
ตอนหนึ่งของการแถลง นายกรณ์ชี้แจงถึงที่มาค่าการกลั่นสูงถึง ๘.๕.บาท/ลิตร ว่าตัวเลขเป็นข้อมูลสาธารณะ ข้อมูลจากเว็บไซต์ไทยออยล์ เว็บไซต์กระทรวงพลังงาน และอัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ย้ำเป็นข้อมูลเชื่อถือได้….

แน่นอนว่าค่าการกลั่น ๘.๕.บาท/ลิตร เป็นตัวเลขสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่เป็นตัวเลขจริงที่อ้างอิง เมื่อ ๑๐ มิ.ย.ที่ผ่านมา
เพื่อส่งสัญญาณว่า ค่าการกลั่นเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่มีการอ้างว่า ค่าการกลั่นเฉลี่ย ๓ บาท/ลิตร เป็นตัวเลขเฉลี่ยช่วง ๕ เดือนแรก ซึ่งเป็นอดีตไปแล้ว

ดังนั้น จะเอาค่าเฉลี่ยในอดีตมาอ้างเพื่อแก้ปัญหาไม่ได้ เพราะวันนี้ ค่าการกลั่นขึ้นสูงขึ้นต่อเนื่อง
นี่เป็นข่าว ที่ THE STANDARD เผยแพร่ ก็มีผู้ใช้นามว่า “น้องปอสาม” คอมเมนท์ต่อท้ายไว้ดังนี้
———————

น้องปอสาม
ปัญหาคือ ประเด็นที่ 1 ข้อมูลที่คุณกรณ์นำเสนอเป็นการเลือกข้อมูลบางส่วนขึ้นมา เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด โดยค่าการกลั่นที่คุณกรณ์ยกมานั้น ไม่ใช่ค่าการกลั่น ที่โรงกลั่นได้รับ (Market GRM) และยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ

นอกจากนี้ ข้อมูลที่เลือกมาเป็นฐานในการเปรียบเทียบ เป็นข้อมูลในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 (63-64) ซึ่งค่าการกลั่นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมากๆ

เมื่อนำมาเปรียบเทียบ จะทำให้เข้าใจผิดว่าค่าการกลั่นในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นมากผิดปกติ

หากนำข้อมูลค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้รับจริง ในช่วงสถานการณ์ก่อนโควิด-19 ในปี 61-62 มาเปรียบเทียบ
พบว่า………

ค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้รับในไตรมาสที่ 1 ปี 65 สูงขึ้นเพียงประมาณ 0.47 บาท/ลิตร จากช่วงสถานการณ์ปกติเท่านั้น ไม่ได้สูงถึง 10 เท่า และสูงถึง 8 บาท/ลิตร อย่างที่กล่าวอ้าง

ประเด็นที่ 2 ต้นทุนการกลั่นไม่ได้คงที่ แต่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น เช่น ค่าพรีเมียม ของน้ำมันดิบ (ราคาส่วนเพิ่มของน้ำมันดิบที่กลั่นเทียบกับราคาน้ำมันดิบอ้างอิง)

ค่าขนส่งน้ำมัน ค่าพลังงานที่ใช้ในการกลั่น เป็นต้น รวมถึงค่าแรง ที่มีการปรับขึ้นอย่างเป็นประจำ และการลงทุนในเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่มีความเข้มข้นมากขึ้น

เช่น การเปลี่ยนแปลงชนิดและมาตรฐานคุณภาพของน้ำมัน กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการปฏิบัติการในโรงกลั่น ความปลอดภัย เป็นต้น

ประเด็นที่ 3 โรงกลั่นไม่สามารถกำหนดค่าการกลั่นได้ เนื่องจากค่าการกลั่นเป็นผลลัพธ์จากราคาเฉลี่ยของน้ำมันที่ขายจริงทุกชนิดตามสัดส่วนการผลิต หักด้วยราคาน้ำมันดิบที่ซื้อจริง

ซึ่งรวมค่าพรีเมียมของน้ำมันดิบ และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เช่น ค่าขนส่ง และค่าประกันภัย รวมถึงต้องหักค่าพลังงานที่ใช้ในการกลั่น

เช่น ค่าความร้อน ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าสูญเสีย เป็นต้นโดยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง”ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก”
ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทานของน้ำมันดิบ และน้ำมันสำเร็จรูป รวมถึงสต๊อกน้ำมัน และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะนั้นๆ

หวังว่า เรื่องนี้สังคมจะเข้าใจมากขึ้นกับเรื่องนี้นะครับ
————————-

นอกจาก “น้องปอสาม” แล้ว ท้ายเรื่องคุณสมภพที่ผมนำลงเมื่อวาน “หลวงณก เอกชัย ช่วยบุญชู” คอมเมนท์ประเด็นที่คนไทย (บางคน) ชอบอ้าง (ซะจริงๆ) ซึ่งตรงใจผมมาก ดังนี้
………………………

หลวงณก เอกชัย ช่วยบุญชู
ทำไมมาเลเซีย บรูไน ใช้น้ำมันถูก

Written By
More from plew
แอมเนสตี้-หน้ากากทูต-เปลว สีเงิน
เปลว สีเงิน แอมเนสตี้คือใคร? คือคนกลุ่มหนึ่งประเภทตั้งตนเป็น “ขาใหญ่” มีเครือข่ายกระจายไปหลายประเทศในโลก สถาปนาเป็น “ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน” “นักบุญเผือก” ภาคเอกชน ทำนองเดียวกับ NGO
Read More
0 replies on ““น้ำมัน” กับข้อมูล “แก้มึน” – เปลว สีเงิน”