วิ่งปันทุนช่วยเด็กไทยได้ศึกษา

กลับหน้ามือเป็นหลังมือ…

คำที่พอจะอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิตคนในสังคมก่อนหน้าจะเกิดโควิด-19 กับหลังเกิดโควิด-19 มาแล้ว

มนุษย์ จำต้องพบเจอกับ “ความวุ่นวาย”

โกลาหล และลำบาก! อย่างมาก

ไม่ว่าจะยากดีมีจนยังไง ก็เหมือนจะหนีไม่พ้น

แต่ที่แตกต่างกัน?

ก็เพราะไอ้คำว่ายาก ดี มี จน นี่แหละทำให้แตกต่างกัน…

เพราะในสถานการณ์ที่สามารถทำให้ทุกคนตกอยู่ในที่นั่งลำบากได้

แต่ใครที่มีดี มีเหลือ ก็เอาที่มีมาช่วยประคับประคองชีวิต

บางคนแทบจะไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลยด้วยซ้ำ กับวิกฤตครั้งนี้

แต่ไอ้พวกที่ยาก ที่จนนี่สิ “น่าอนาถ” เลยก็ว่าได้

มีแต่ไม่พอจะเยียวยาตัวเองไหว

บางคนจากที่ความจนมันกัดกินอยู่แล้ว…มาเจอวิกฤตซ้ำรอยเดิมเข้าไปอีก

แทบทรุดจนเกือบเอาชีวิตตัวเองไม่รอด

และเพราะ “ความไม่เท่าเทียม” หรือความยากลำบากจากเหตุการณ์นี้

เลยทำให้เราเห็นอะไรหลายๆ อย่างจากการดิ้นรนเอาตัวรอด…

สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ

บ้านไหนที่มีไม่พอ หาได้ไม่เท่ากับใช้ไป

ก็ต้องเพิ่มกำลังหาให้มากขึ้น!

หรือลดกำลังใช้ให้น้อยลง…

ค่าใช้จ่ายอะไรที่พอตัดทอนได้ก็ทยอยดึงออกจากแผนใช้เงินของชีวิต

ครอบครัวใช้เงินน้อยลงในการจับจ่ายใช้สอย

จนกระทบมาถึงการไม่ให้ลูกหลานที่อยู่ในวัยเรียนรู้ ได้เข้าเรียนตามระบบเลยด้วยซ้ำ

เพราะมองว่าเป็นรายจ่ายที่ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนขึ้นมาได้ในช่วงเวลาอันสั้น

“เด็กไม่ได้ไปโรงเรียน”

บางบ้านจำเป็นต้องส่งเด็กกลุ่มนั้นไปหารายได้พิเศษเพื่อมาจุนเจือครอบครัว

มองแล้วเป็นภาพที่น่าเห็นใจ…

ซ้ำหนักบางกรณีอาจจะ “เกิดปัญหาทางสังคม” เพิ่มมากขึ้นด้วย จากการที่เด็กไม่ได้รับการศึกษา

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. รวบรวมไว้ว่า…

ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกๆ ปี คือช่วงเวลาสำคัญที่จะกำหนดชะตาชีวิตการเรียนต่อของนักเรียนในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย

ซึ่งก่อนปิดภาคเรียนที่ผ่านมา กสศ. สำรวจพบว่ามีนักเรียนในครัวเรือนยากจนพิเศษ

ช่วงชั้นรอยต่อจำนวนราว 60,000 คน ที่มีความเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา!

ซึ่งการหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนวัยอันควร

จะทำให้พวกเขาติดอยู่ใน “กับดักความยากจน”

และมีโอกาสสูงมากที่ความยากจนจากรุ่นพ่อแม่จะ “ถูกส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่น”

ซึ่งเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ปัญหาความยากจนข้ามชั่วคน” ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน

แถมยิ่งเกิดวิกฤตที่กระทบความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ยากจนมากขึ้น

ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดผลกระทบกับชีวิตและอนาคตการศึกษาของเด็กไทยมากขึ้นตามมา

แต่ยังถือว่าเป็นโชคดีของเด็กรุ่นนี้! ที่โครงการลมหายใจเพื่อน้อง ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เกิดขึ้น

เพราะเป็นโครงการที่มอบโอกาสให้นักเรียน 60,000 คน

ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มี “โอกาสเรียนต่อ”…

ช่วยเหลือเด็กนักเรียน ที่เสี่ยงจะหลุดออกจากระบบการศึกษาในปี 65 ให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

โดยมอบทุนการศึกษากว่า 150 ล้านบาท ผ่าน กสศ. ให้แก่น้องๆ ทั่วประเทศ

ใช้กิจกรรม “PTT Virtual Run” เป็นตัวนำ ที่จะแปลงกิจกรรมการเดินหรือวิ่งให้เป็นทุนการศึกษา

ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม PTT Virtual Run จะสามารถเดินหรือวิ่งสะสมระยะทาง ทุก 1 กิโลเมตร แปลงการวิ่งเป็นทุนการศึกษามูลค่าเท่ากับ 250 บาท

และ 10 กิโลเมตร จะมีมูลค่าเป็น “ทุนการศึกษา” จำนวน 2,500 บาท

ซึ่งสามารถพาเยาวชนกลับเข้าสู่ระบบการเรียนได้ 1 คน!

โดยโครงการได้เริ่มเปิดรับสมัครไปตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา

และจะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ผ่าน www.ลมหายใจเพื่อน้อง.com

เพราะฉะนั้นอย่าดูถูกเงิน 2,500 บาทเป็นอันขาด!

เพราะสำหรับคนที่ไม่พอ ยากลำบากเงินจำนวนนี้ยังเป็นทุน “เป็นแรงใจ” ที่จะพอต่อลมหายใจได้

โดยเฉพาะเพียงพอที่จะให้โอกาสกับเด็กน้อยหนึ่งคน…

ได้มีช่วงเวลาได้เรียนรู้เหมือนกับคนอื่นๆ

ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางการพัฒนาชีวิตที่เหมาะสมที่สุด

เพื่อที่จะสร้างรากฐานสำคัญที่จะนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

 


Written By
More from pp
กระทรวงแรงงาน ประกันสังคม เร่งอัดเม็ดเงิน 30,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่องการจ้างงานในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19
นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาล ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับดูแลของ...
Read More
0 replies on “วิ่งปันทุนช่วยเด็กไทยได้ศึกษา”