ความต้องการทางโภชนาการสำหรับผู้หญิงในแต่ละช่วงอายุ

Ketogenic low carbs diet - food selection on white wooden background. Balanced healthy organic ingredients of high content of fats. Nutrition for the heart and blood vessels. Meat, fish and vegetables.

เมื่ออยู่ในวัยเรียน เราอาจจะชอบรับประทานอาหารจำพวกพิซซ่า มันฝรั่งทอด และอาหารฟาสต์ฟู้ดโดยไม่ได้คำนึงถึงอะไรมาก แต่เมื่อเข้าสู่วัยเรียนระดับมหาวิทยาลัยเป็นต้นไป โภชนาการกลายเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากขึ้น

นี่คือคำแนะนำจาก ซูซาน โบเวอร์แมน ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการศึกษาและการฝึกอบรมโภชนาการระดับโลก ดเกี่ยวกับการปฏิบัติตนและสารอาหารหลักที่จะทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงอายุ 20 ปี ถึง 40 ปีขึ้นไป

ช่วงอายุ 20 ปี

          ดื่มน้ำให้เพียงพอเมื่อคุณต้องเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างการเดินทางไปโรงเรียน ทำงาน หรือมีกิจกรรมทางสังคม คุณมักจะลืมดื่มน้ำ ควรพกขวดน้ำขนาดใหญ่ติดตัวตลอดเวลาและตั้งเป้าว่าจะดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน

          พกอาหารว่างที่มีประโยชน์จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) พบว่า ผู้ใหญ่วัย 20 – 39 ปี มักจะได้รับแคลอรีกว่า 15.3% จากอาหารฟาสต์ฟู้ด แทนที่จะรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูงแต่ไร้คุณค่าสารอาหาร ลองเปลี่ยนมาเลือกรับประทานที่มีประโยชน์และพกพาสะดวกจะดีกว่า

          สารอาหารที่จำเป็นแคลเซียมและกรดโฟลิก ร่างกายของคุณยังคงสร้างกระดูกได้จนไปถึงอายุ 20 ปีกว่าๆ บำรุงกระดูกให้แข็งแรงโดยรับประทานแคลเซียมอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมในแต่ละวัน แหล่งแคลเซียมที่ดี ได้แก่ โยเกิร์ต นมผงเสริมแคลเซียม เต้าหู้ และปลาซาร์ดีน กรดโฟลิกพบได้ในผักใบเขียว ถั่ว และเมล็ดธัญพืช

ช่วงอายุ 30 ปี

          ในช่วงวัยนี้ ควรควบคุมปริมาณแคลอรี คุณไม่สามารถรับประทานอาหารได้เหมือนช่วงวัยรุ่นและคิดว่าจะมีน้ำหนักที่คงที่ได้ ในช่วงอายุ 30 ปี ระบบเผาผลาญจะเริ่มช้าลงเช่นเดียวกับที่ผู้หญิงจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี (ขนมปังขาว ขนมอบและเปลี่ยนจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงไปเป็นเครื่องดื่มที่มาจากธัญพืช น้ำผักผลไม้คั้นสด และน้ำเปล่าแทน

          สารอาหารที่จำเป็นกรดโฟลิกและโปรตีน ตามรายงานของ CDC มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยวางแผนที่จะมีลูกคนแรกเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป และหากคุณเป็นหนึ่งในนั้น ควรเพิ่มการรับประทานกรดโฟลิกให้มากขึ้น

          มวลกล้ามเนื้อลงประมาณ 5% ในทุก ๆ 10 ปี เริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี และเพื่อรักษามวลกล้ามเนื้อ ควรเพิ่มการออกกำลังกายที่เน้นสร้างความแข็งแรงและควรรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนให้เพียงพอเพื่อช่วยชะลอการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

ช่วงอายุ 40 ปี

          บำรุงหัวใจ โคเลสเตอรอลและความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณใกล้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ ทางเลือกที่ดี ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม มะเขือเทศ และผักผลไม้หลากชนิด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม (1 แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิงและงดรับประทานไขมันทรานส์ซึ่งมักพบในอาหารแปรรูปและของทอด

          สารอาหารที่จำเป็นวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะวิตามิน ซึ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม และยังเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มพลังงาน และมีส่วนช่วยในการป้องกันมะเร็งเต้านและมะเร็งลำไส้ อัตราการเก็บสะสมวิตามิน ในร่างกายจะลดลงเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัย 40 ปี

          สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามิน A C และ ป้องกันหรือชะลอการเสื่อมถอยของเซลล์ที่ทำให้เกิดริ้วรอย แหล่งที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ได้แก่ พริกแดง ผลไม้กลุ่มซีตรัส เบอร์รี่ แครอต มันหวาน และถั่วต่าง ๆ

ช่วงอายุ 50 ปี

          รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้น ในผู้หญิง วามเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 55 ปี ตามข้อมูลจากสถาบันหัวใจ ปอด และโลหิตแห่งชาติ ใยอาหารจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลซึ่งดีต่อสุขภาพหัวใจ ใยอาหารจะทำให้คุณอิ่มนานขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อการควบคุมน้ำหนัก

          สารอาหารที่จำเป็นโอเมก้า 3 วิตามิน B12 การศึกษาระบุว่าประมาณ 10% – 30% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีมีความสามารถในการดูดซึมวิตามิน B12 จากอาหารได้ลดลง ควรรับประทานอาหารเสริมวิตามิน B12 และควรเพิ่มการรับประทานกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 โดยทานปลาที่มีไขมัน เช่น แซลมอน ซึ่งอุดมไปด้วยโอเมก้า 3 EPA และ DHA วอลนัทและเมล็ดแฟล็กซ์บดที่อุดมไปด้วย ALA ซึ่งเป็นโอเมก้า 3 ชนิดหนึ่งที่อาจมีช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป

          เพิ่มการเคลื่อนไหว วัยเกษียณที่ว่างเว้นจากการทำงานจะเปิดโอกาสให้คุณได้สนุกกับชีวิตมากขึ้น เรียนรู้ทักษะการฝึกภาษาใหม่ๆ เรียนเต้น มีช่วงเวลาพิเศษกับคู่ของคุณมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะทำอะไร หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มต้นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอหรือการฝึกความแข็งแรงที่เข้มข้นขึ้น

          รับประทานอาหารเพียงพอหรือไม่การรับประทานยาเป็นประจำ การเผาผลาญที่ช้าลง การออกกำลังกายน้อยลง การรับรู้รสชาติที่เปลี่ยนไป และปัจจัยอื่น ๆ อาจทำให้มีอาการเบื่ออาหารในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากการมุ่งเน้นไปที่โภชนาการที่ดีแล้ว ควรทดลองรับประทานอาหารที่หลากหลายด้วย อาจร่วมรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ และดื่มเครื่องดื่มทดแทนมื้ออาหารบ้างหากจำเป็น

          สารอาหารที่จำเป็นทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงโพรไบโอติกส์ สุขภาพลำไส้ของเราเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น แบคทีเรียที่ดีจะลดลงและลำไส้เล็กก็จะดูดซึมสารอาหารได้ลดลงเช่นเดียวกัน เพิ่มโพรไบโอติกส์เพื่อกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียที่ดี แหล่งอาหารที่แนะนำ ได้แก่ โยเกิร์ตและอาหารหมักดองบางชนิด เช่น ซาวร์เคราต์หรือกะหล่ำปลีเปรี้ยว และกิมจิ


Written By
More from pp
ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม
จากที่มีข่าวเรื่องการพูดถึงภรรยานักแสดงผู้มีชื่อเสียงในฮอลลีวูดเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อม โดยพิธีกรในงานออสการ์ ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากโรคนี้อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายหรือเป็นปมด้อยแต่อันที่จริงแล้วโรคนี้เป็นโรคที่รักษาได้ ไม่ควรเป็นโรคที่น่ารังเกียจต่อสังคมเพราะไม่ได้เป็นโรคติดต่อหรือโรคอันตรายแต่อย่างใด
Read More
0 replies on “ความต้องการทางโภชนาการสำหรับผู้หญิงในแต่ละช่วงอายุ”