นายกฯ เรียกประชุมด่วนติดตามสถานการณ์ในยูเครน-รัสเซีย เร่งรัดสั่งการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศไทย พร้อมติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้

28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 10.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรียกประชุมด่วนรองนายกรัฐมนตรีทุกด้าน นำโดยพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์เร่งด่วน และได้สั่งการให้เตรียมความพร้อมในการกำหนดมาตรการรับมืออย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การประชุมในวันนี้เพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์ และพัฒนาการในยูเครน ซึ่งทวีความตึงเครียดขึ้นด้วยความห่วงกังวลอย่างยิ่ง ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบไม่มากก็น้อยต่อทุกประเทศ เนื่องจากทุกประเทศมีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับไทย ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัด คือราคานํ้ามันที่สูงขึ้น และราคาหุ้นและคริปโตที่ลดลง และเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบแน่นอนหากสถานการณ์ยืดเยื้อ

ด้านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าในส่วนของไทยได้ออกแถลงการณ์แสดงความเป็นห่วง และสนับสนุนความพยายามที่ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อการแก้ไขสถานการณ์อย่างสันติผ่านการหารือ ในขณะที่อาเซียนก็ได้ออกถ้อยแถลงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่ามีความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่ผันผวนและความขัดแย้งกันด้วยอาวุธในยูเครน พร้อมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้ความอดกลั้นอย่างสูงสุด และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการหารือผ่านทุกช่องทาง รวมถึงช่องทางการทูต เพื่อควบคุมสถานการณ์ ลดความตึงเครียด ซึ่งไทยยินดีต่อความคืบหน้าที่ทั้งสองฝ่ายตกลงนัดที่จะเจรจา ทั้งนี้ ไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มที่กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

โดยในเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศหาช่องทางช่วยเหลือ และขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป นอกจากเตรียมแผนอพยพคนไทยออกจากยูเครนแล้ว ยังได้สั่งการให้เตรียมแผน/มาตรการรองรับผลกระทบอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ทั้งสถานการณ์น้ำมัน ตลาดหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน และการค้าและการลงทุน โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างรอบด้าน โดยที่ประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ ดังนั้นการดำเนินการใดๆ ขอให้ทำด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง เหมาะสม และพร้อมรับมือหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น

ด้านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวว่า แม้ไทยจะยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการนำเข้าพลังงาน ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลว แต่ทางกระทรวงพลังงานได้ติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง เพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมหากเกิดสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น โดยได้เตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองพลังงานไว้ รวมทั้งได้เตรียมมาตรการในการบรรเทาให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด พร้อมขอให้ประชาชนเข้าใจสถานการณ์วิกฤตนี้ และร่วมกันใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้รับรายงานเรื่องสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ และการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยสถานการณ์อุทกภัยเป็นผลกระทบจากคลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ 2565 ใน 7 จังหวัด ได้แก่ จ.นราธิวาส จ.ยะลา จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง จ.ปัตตานี จ.สงขลา และ จ.ตรัง โดยปัจจุบันสถานการณ์ภาพรวมระดับน้ำลดลงทุกจังหวัด และหน่วยงานในพื้นที่ได้ให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่ ในขณะที่การแก้ปัญหาความยากจน นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้รองนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและเร่งด่วนที่สุด พร้อมขอให้นำโครงการหรือนโยบายของรัฐบาลนำมาต่อยอด ใช้แก้ปัญหาเชิงรุกให้เกิดผลโดยเร็ว อาทิ smart farmer โคกหนองนา โมเดล เป็นต้น


Written By
More from pp
หื่นจริง! ‘ก้าวไกล’ ขับ ‘สส.ปราจีนฯ’ พ้นพรรค เหตุใช้อำนาจปกปิดตั้งแต่เป็น ‘ว่าที่ผู้สมัครฯ’ ขณะที่ ‘สส.ฝั่งธน’ รอคาดโทษ
คุกคามทางเพศจริง! ‘ก้าวไกล’ ขับ ‘สส.ปราจีนฯ’ พ้นพรรค เหตุใช้อำนาจปกปิดตั้งแต่เป็น ‘ว่าที่ผู้สมัครฯ’ ขณะที่ ‘สส.ฝั่งธน’ รอคาดโทษ พร้อมตั้งเงื่อนไขให้ ‘ยอมรับผิด-ขอโทษสังคม-เยียวยาผู้เสียหาย’...
Read More
0 replies on “นายกฯ เรียกประชุมด่วนติดตามสถานการณ์ในยูเครน-รัสเซีย เร่งรัดสั่งการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนและประเทศไทย พร้อมติดตามสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
'); }); var ratingTotalIndicator = function() { var indicator = document.querySelectorAll('.rating-total-indicator'); if (typeof indicator === 'undefined' || indicator === null) { return; } for ( var i = 0, len = indicator.length; i 0 || bottom > 0) && top