‘เดรัจฉาน’ ที่จุฬาฯ – ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

เจี๊ยะป้าบ่อสื่อ
องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ที่นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เป็นนายกฯ กินอิ่มนอนหลับตื่นมาไม่ทำอะไร นอกจากแกว่งตีนหาเสี้ยนไปเรื่อย

ครับ…วันนี้ขอพูดถึงฝูงเดรัจฉาน มีมติ ๒๗ ต่อ ๐ เสียง เห็นควรให้มีการยกเลิกกิจกรรมการคัดเลือกผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

อ้างว่าเพื่อยุติการผลิตซ้ำธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมมิให้คงอยู่ในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป
แถลงการณ์คณะกรรมการบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมเนียมปฏิบัติที่สะท้อนถึงความไม่เท่าเทียม ตามนี้

…..กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว เป็นส่วนหนึ่งของขบวนพาเหรดในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

โดยรูปแบบของขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวนั้นจำลองกระบวนแห่อย่างราชสำนัก
ในกิจกรรมดังกล่าวจะมี “ผู้อัญเชิญพระเกี้ยว” ถือ “พระเกี้ยว” ที่เป็นสัญลักษณ์สูงสุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่งบนเสลี่ยงซึ่งถูกแบกโดยนิสิตกว่า ๕๐ คน

อีกทั้ง ผู้อัญเชิญซึ่งมาจากกลุ่ม CU Coronet ยังถือว่าเป็นตัวแทนของความเป็นจุฬาฯ ในกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลประเพณีและในกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่นๆ ต่อไป

ทว่า กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวสนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน
รูปแบบกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวยังเป็นภาพแทนของวัฒนธรรมแบบศักดินาที่ยกกลุ่มคนหนึ่งสูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง

พร้อมสัญลักษณ์ของศักดินาคือ “พระเกี้ยว” บนเสลี่ยง….

ผมไม่ใช่ศิษย์เก่าจุฬาฯ แต่รับรู้ได้ว่านี่คือ การทำลายจุฬาฯ ให้ย่อยยับ

แถลงการณ์นี้ออกเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม
ตรงกับวันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช สำหรับประชาชนทั่วไป คือการรำลึกถึงพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกทาสและไพร่

น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ในการปกป้องประเทศจากการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ

รวมทั้งได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในสยาม

สำหรับชาวจุฬาฯ จะลึกซึ้งกว่าเพราะ ร.๕ คือผู้ให้กำเนิด
แต่ฝูงเดรัจฉาน ออกแถลงการณ์ ท้าทาย อย่างตั้งใจ
โดยอ้างเรื่องความไม่เท่าเทียม

เด็กสามกีบเหล่านี้ พยายามสร้างชุดข้อมูลเท็จเรื่องความเท่าเทียมกับพระมหากษัตริย์ที่โปรดเกล้าฯ ให้เลิกทาส ให้นับถือศาสนาโดยอิสระ

นี่คือความคิดของเดรัจฉาน มิใช่มนุษย์ที่รู้คุณคน

“พระเกี้ยว” เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์

“พระเกี้ยว” เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานไชยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒

ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๕

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม”

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เมื่อ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๓

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๙ เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระบรมชนกาธิราชให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาล

ในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น ๔ คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์

“เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉนั้น จึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พุทธศักราช ๒๔๒๗

เมื่อย้อนกลับไปดูแถลงการณ์ของคณะเดรัจฉาน ที่บอกว่า “กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวสนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน” มันจึงย้อนแย้ง

ไม่กี่เดือนก่อน “เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล” เป็นโต้โผใหญ่นำทีม Save ศาลเจ้าแม่ทับทิม
ให้เหตุผลว่า นิสิตคนรุ่นใหม่ต้องการปกป้องไม่ให้ประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตถูกทำลายกลายเป็นคอนโดฯ และเป็นแค่ความทรงจำที่มาโหยหาทีหลัง

แต่…วันนี้ “เนติวิทย์” และพวก กำลังทำลายประวัติศาสตร์สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไม่ให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว
ด้วยข้ออ้างคนต้องเท่ากัน

“เนติวิทย์” พาพวก ให้ Save สกาลา
ให้เหตุผลว่า

“สกาลาเป็นโรงหนังเก่าแก่ มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม นอกจากความสวยงาม สกาลายังผูกพันกับประวัติศาสตร์ย่านสยามตั้งแต่เริ่มพัฒนาขึ้น

เห็นสกาลาก็จะเห็นความเป็นสยามยุคแรกๆ และเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองของวงการภาพยนตร์ไทยด้วย”

“เนติวิทย์” บอกว่าการสร้างห้างแทนที่สกาลา เป็นสัญลักษณ์ของคนมีอำนาจ ที่แสดงออกมาว่าตัวเองรวยขนาดไหน
ระบอบอำนาจนิยม, สัญลักษณ์ของคนมีอำนาจ นี่คือ แพลตฟอร์มการเคลื่อนไหวของสามกีบ

เป็นการอธิบายที่สุดโต่ง หวังเพียงกระแสต่อต้าน ไม่ได้คาดหวังที่จะสร้างความเข้าใจให้ผู้คนในสังคม

ในขณะที่ “เนติวิทย์” คัดค้านการพัฒนาของจุฬาฯ แต่ผู้เข้าไปใช้ประโยชน์การเปลี่ยนแปลงของจุฬาฯ มากที่สุดคือนิสิตจุฬาฯ

ครับ…ฝูงเดรัจฉาน ติดหนวดมีความเป็นเผด็จการตั้งแต่ในรั้วมหาวิทยาลัย พยายามลบประวัติศาสตร์ของจุฬาฯ ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างแยกไม่ออกกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ความเป็นจุฬาฯ ถือเป็น soft power ได้เช่นกัน หากนำเสนอเป็น
วัฒนธรรมจุฬาฯ สามารถนำไปเป็นจุดขายได้

แต่หากชุมนุมจุฬาฯ ไม่แสดงท่าทีอะไร
อีกหน่อย “เนติวิทย์” คงนำทีมเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยแน่นอน


Written By
More from pp
พปชร.เตือนรัฐบาล เศรษฐกิจไทยอาจก้าวสู่จุดพลิกผันจะฟื้นหรือฟุบ แนะแก้ 2 โจทย์ใหญ่ เร่งฟื้นเศรษฐกิจ “แก้หนี้ครัวเรือน-กระตุ้นขีดความสามารถแข่งขัน” ชี้ ศก.จะเติบโตต้องมีวินัยการคลัง สร้างความเชื่อมั่นต่างชาติ
1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11.00 น.ที่พรรคพลังประชารัฐ ดร.อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน...
Read More
0 replies on “‘เดรัจฉาน’ ที่จุฬาฯ – ผักกาดหอม”