- ส.ว.250 คน ที่ คสช.เป็นผู้เลือกมาทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวพยุงสำคัญของรัฐบาลนี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ที่เป็นกลางทางการเมือง แต่พลเอกประยุทธ์ ก็กระทำการขัดรัฐธรรมนูญด้วยการตั้งคนใกล้ชิดของตัวเอง คนในรัฐบาล คสช. ขณะนั้นมาเป็นกรรมการสรรหา ส.ว. ซึ่งไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง
- องค์กรอิสระ กับ ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เห็นความสำคัญ ที่จะเป็นเสาหลักในการทำให้รัฐบาลอยู่หรือไป ดังนั้นจึงระบุในรัฐธรรมนูญว่า ที่มาขององค์กรอิสระและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องผ่านความเห็นชอบของ ส.ว.
- พรรคร่วมรัฐบาล ที่เป็นเสาค้ำยันรัฐบาลประยุทธ์ที่สำคัญ หากพรรคร่วมรัฐบาลไม่อยู่ในรัฐบาลต่อไป พลเอกประยุทธ์ก็อยู่ไม่ได้
ขณะนี้ประชาชนรู้สึกว่า ถ้าพลเอกประยุทธ์อยู่ต่อไปประเทศไทยจะไม่มีอนาคต ดังนั้นจึงต้องทำให้เสาค้ำยันรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ต้องหลุดออกไป เพียงเสาใดเสาหนึ่งรัฐบาลก็แย่แล้ว โดยเฉพาะเสาค้ำยันที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งประชาชนสามารถบอกไปยังพรรคการเมืองเหล่านี้ได้ว่าอย่าอยู่ค้ำยันให้รัฐบาลนี้ต่อไป เพราะประชาชนทนไม่ไหวแล้ว ทั้งสองพรรคก็จะอยู่ค้ำยันให้รัฐบาลต่อไปได้ยาก พี่น้องประชาชนต้องบอกให้ชัดว่าพรรคการเมืองไหน ที่ คสช.ตั้งขึ้นมา พรรคไหนจะมาเป็นเสาค้ำยันให้ คสช. ประชาชนจะไม่เลือกพรรคการเมืองนั้น ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ ต่อให้มี 250 ส.ว.อยู่ พลเอกประยุทธ์ ก็ไม่มีทางกลับมาได้อีก