24 ก.ย. 2563 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณา แก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยระบุว่า อีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าก็จะมีการลงมติ ในร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ฉบับที่รัฐสภากำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าการลงมติในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้านั้นจะส่งผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศอย่างแน่นอน
เป็นวันที่ 2 แล้วที่รัฐสภาได้พิจารณา และต่างฝ่ายต่างก็เสนอเหตุผลของแต่ละฝ่ายส่วนตัวคิดว่าเที่ยวนี้เหตุผลของทุกฝ่ายมีความหลากหลายมากแม้แต่ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะมีเหตุผลที่แตกต่างกันได้
ในส่วนของตนนั้นตนเห็นว่าการลงมติจะมีผล ไม่ว่าจะเป็นในด้านการทำให้สถานการณ์โดยรวมผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดลงหรือจะทำให้เป็นการเพิ่มเงื่อนไขให้สถานการณ์ทั้งหลายตึงเครียดมากขึ้น ขึ้นอยู่กับมติของรัฐสภาในวันนี้ด้วยความจริงในแง่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ 1 คือการแก้มาตรา 256 เปิดทางให้ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือกลุ่มที่ 2 ที่เป็นรายประเด็นสังคมมีความเข้าใจในเรื่องนี้ มากพอสมควร
ในรัฐสภานี้ก็อธิบายกันค่อนข้างมากแม้ว่าจะมีการสับสนบ้าง เช่น เข้าใจว่าถ้ารับร่างฉบับ 256 และตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะมีการตั้งทันที ซึ่งตนก็ได้อธิบายกับทุกคนรวมถึงนักข่าวบางสำนักว่าไม่ใช่เมื่อรับ 2556 ตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้วนั้น คณะกรรมาธิการจะต้องไปพิจารณาออกแบบสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ก่อนจะนำกลับเข้ามาสู่ที่ประชุมรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบและที่สำคัญจะต้องมีการลงประชามติจากพี่น้องประชาชนด้วย ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นคำตอบของประเด็นที่มีหลายคนตั้งคำถามว่าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องถามประชาชนก่อนหรือไม่และจะเป็นการตัดอำนาจสถาปนาของรัฐธรรมนูญ ของประชาชนหรือไม่
ซึ่งการดำเนินการอย่างที่ตนได้กล่าวไปนั้นเป็นการดำเนินการตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้องทุกประการ
ในส่วนประเด็นที่เป็นรายประเด็นนั้นตนเองก็เคยเสนอเรื่องมาตรา 272 ไปแต่สิ่งที่ตนเสนอไปนั้นไม่ใช่เป็นการรังเกียจเดียดฉันท์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ส่วนตัวเห็นว่าสถานการณ์ผ่านมาช่วงระยะเวลาหนึ่งควรที่จะให้การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีกับสู่ระบบปกติอย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต
ปัจจุบันนี้ประเด็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่เป็นประเด็นที่มีประเด็นถกเถียงกันแต่ในสภาเท่านั้นแต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้กลายเป็นโอกาสของจุดแตกหักในทางการเมือง มีการแบ่งฝ่ายมีการรณรงค์มีการจัดมวลชนมีคนที่สนับสนุนของแต่ละฝ่ายยิ่งเราปล่อยเวลาให้เนิ่นนานไปความรู้สึกของแต่ละฝ่ายจะสุดโต่งมากขึ้น
ซึ่งเป็นธรรมชาติ ของการต่อสู้กันทางด้านการเมืองในการอธิบายเหตุผลของแต่ละฝ่ายก็จะมีการสร้างวาทกรรมให้นำไปสู่การสร้างความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อยๆสังคมไทยด้วย กำลังถูกบีบให้เดินเข้าไปสู่สถานการณ์ของการเลือกข้างฝ่ายใดที่เห็นด้วยกับตัวเองก็จะชื่นชม ฝ่ายใดที่เห็นไม่ตรงกับตัวเองปัจจุบันนี้ก็จะมีศัพท์ที่เรียกว่าทัวร์ลง ส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น
เมื่อวานนี้สมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่ง คุณสมชาย แสวงการ อภิปรายแม้ความเห็นต่างกับตนตนก็เห็นและเคารพความเห็นนั้นแต่มีคนไปสร้างประเด็น Hashtag อยู่ใน Social Media ว่าจะมีการตามล่าครอบครัว ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย
และเป็นความไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดจัดทำขึ้นก็ตาม
ตนที่เคยเสนอแก้มาตรา 272 ก็เคยโดนทัวร์ลงเหมือนกัน แต่ตนต้องบอกว่าไม่ใช่การแบ่งแยกฝ่ายในลักษณะเช่นนี้ออกไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้คนในสังคมกลุ่มหนึ่งรู้สึกอึดอัดใจเช้านี้ฟังสัมภาษณ์ทางรายการวิทยุมีคนเสนอตั้งกลุ่มที่เรียกว่าพลเมืองตรงกลางเกิดขึ้น
การเสนอกลุ่มพลเมืองตรงกลางนั้น ก็สะท้อนให้เห็นว่ามีบางฝ่ายอึดอัดและกำลังพยายามหาพื้นที่ที่ตัวเองอาจจะคิดแก้ไขเฉพาะรายประเด็นแต่ไม่จดจ่ออยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งคนให้สัมภาษณ์นี้เรียกว่าเป็นลัทธิลูกหาบ ซึ่งตนคิดว่าเป็นคำที่สะท้อนปัญหาของสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี
อย่าลืมว่า 20 ปีที่ผ่านมานี้ตั้งแต่ปี 2540 เรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 3 ฉบับ รัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐธรรมนูญปี 2550 รัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ต้องบอกแบบนี้ก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะมีบริบททางสังคมและการเมืองแตกต่างกันไปจะถูกออกแบบให้สอดรับกับสถานการณ์การเมืองและสังคมในขณะนั้น
รัฐธรรมนูญปี 40 แก้ปัญหารัฐธรรมนูญก่อนหน้านั้นที่บอกว่ามีรัฐบาลผสมอ่อนแอ รัฐธรรมนูญปี 40 ทำให้รัฐบาลเข้มแข็ง มีองค์กรอิสระเกิดขึ้นต่อมาเห็นว่ารัฐบาลเข้มแข็งเกินไปตรวจสอบไม่ได้องค์กรอิสระถูกแทรกแซง รัฐธรรมนูญปี 50 จึงเกิดขึ้น รัฐธรรมนูญปี 50 ก็มีปัญหาของรัฐธรรมนูญเองก็คือกลับไปมีปัญหาเรื่ององค์กรอิสระที่ไม่สามารถไปตรวจสอบถ่วงดุลท่านได้กลายเป็นรัฐธรรมนูญปี 60
แต่ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองก็มีการหยิบเอารัฐธรรมนูญปี 2521 มาเป็นต้นแบบ ในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่ปัญหาคือรัฐธรรมนูญปี 60 มันเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศของสถานการณ์มีความไม่ไว้วางใจกันแน่นอนลงประชามติมี 16.8 ล้านเสียงต้องบอกว่าต้นเป็นหนึ่งใน 16.8 ล้านเสียงที่รับร่างรัฐธรรมนูญ
แต่เห็นว่าสถานการณ์ในขณะนั้นต้องรับเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้บัตรนี้ผ่านมา 2 ปีกว่าแล้ว อาจจะเป็นเวลาที่เราจะต้องขยับขยายเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ทางด้านการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นโอกาสของประเด็นที่จะเป็น แตกหักทั้งด้านการเมือง
ส่วนตัวคิดว่าวันนี้รัฐสภาที่กำลังพิจารณาที่เรายกเหตุผลกันขึ้นมามาถึงไม่กี่ชั่วโมงก่อนลงมติอาจจะไม่ใช่เวลาที่ถามเหตุผลกันอีกแล้วเพราะทุกคนต่างแสดงเหตุผลจริงๆ แต่สิ่งที่จะถามต่อรัฐสภานี้ก็คือลึกลงไปในจิตใจของท่านท่านมองเห็นประเทศชาติบ้านเมืองนี้กำลังอยู่ในสภาวะเช่นไหนท่านมีข้อกังวลเรื่องของความขัดแย้งท่านมีข้อกังวลเรื่องของผลกระทบต่อสถาบันต่าง ๆ ท่านถามใจตัวเองดูว่าในฐานะสมาชิกของรัฐสภาเราจะช่วยกันขจัดเงื่อนไขของความขัดแย้งทั้งมวลด้วยตัวเราได้หรือไม่
การรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ไปตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญไม่ผิดรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ต้องกลับไปถามประชาชนและออกแบบ
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่แม้ว่ากังวลว่าในกระบวนการร่างสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอาจจะมีการไปกระทบสถาบันอันเป็นที่เคารพยิ่งของคนไทยแต่ในร่างของทั้งสองฝ่ายที่เขียนไปนั้นก็ระบุว่าไม่ให้แตะหมวด 1 และหมวด 2 เป็นการป้องกันโอกาสที่จะเกิดผลกระทบกระทั่งเช่นนั้นได้
วันนี้ไม่ใช่เรื่องจะโทษใครว่าเป็นปัญหาอุปสรรคของประชาธิปไตยแต่วันนี้เป็นวันของการแสวงหาความร่วมมือตนจะไม่ถามหาเหตุผลแต่ถามหาเหตุผลในใจลึกๆของท่านว่า ท่านจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกันคลี่คลายขจัดความขัดแย้งของสังคมนี้ออกไปได้อย่างไร ส่วนตัวยังมีความหวังในอีกชั่วโมงข้างหน้านี้และหวังว่าเราจะได้ทำงานต่อร่วมกันในการที่จะทำให้ความขัดแย้งทั้งหลายหมดไปจากสังคมไทย