รมช.แรงงาน ลงพื้นที่ต่อเนื่องลุยเขต EEC ยกระดับแรงงาน ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

รมช.แรงงาน ลงพื้นที่ต่อเนื่องลุยเขต EEC เดินทางร่วมกับคณะพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รับฟังสถานการณ์แรงงานภาคตะวันออก เตรียมความพร้อมด้านแรงงานรองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)วันที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมี ดร.ภาคิน สมมิตรธนกุล ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางจุรีพร สินธุไพร คณะทำงาน และผู้บริหารในสังกัดกระทรวงแรงงาน

ลงพื้นที่จังหวัดระยอง เตรียมความพร้อมด้านแรงงานรองรับชีวิตวิธีใหม่ (New Normal) รับฟังรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานภาคตะวันออก ทั้ง 5 จังหวัด (ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรีและตราด) ณ ห้องประชุม ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาคตะวันออก และตรวจเยี่ยมให้กำลังใจแรงงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน และอยู่ระหว่างการฟื้นฟูร่างกาย ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 2 ตำบลมะขามคู่ อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง

จากรายงานพบว่าจังหวัดในพื้นที่ EEC ทั้ง 5 จังหวัด มีสถานประกอบกิจการ รวมทั้งสิ้น 37,420 แห่ง ครอบคลุมลูกจ้าง 1,576,828 คน มีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ จำนวน 258,697 คน (ลาว พม่า กัมพูชา) อยู่ในกิจการประมงทะเล จำนวน 6,835 คน และยังมีความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลอีกจำนวน 3,580 คน ส่วนข้อมูลด้านประกันสังคมพบว่า ทั้ง 5 จังหวัดมีผู้ประกันตนรวม 1,785,6231 คน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมการมีงานทำ สามารถบรรจุงานให้แก่ผู้หางานได้จำนวน 15,411คน คิดเป็นร้อยละ 75.62 จากผู้สมัครงานทั้งหมด 20,379 คน และมีตำแหน่งงานว่างรองรับ 23,930 อัตรา มีแรงงานได้รับการพัฒนาและยกระดับฝีมือรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 678,690 คน พัฒนาทักษะให้กับแรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดจันทบุรีและตราด รวมจำนวน 13,574 คน ด้านการส่งเสริม คุ้มครอง ให้มีอาชีพ มีรายได้ มีหลักประกันทางสังคมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น มีผลการดำเนินการ จำนวน 345,510 คน

สถานการณ์แรงงานช่วงโควิด-19 นั้น มีสถานประกอบกิจการ (สปก.) ปิดกิจการ 32 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลการทบถูกเลิกจ้าง 6,881 คน หยุดกิจการชั่วคราว 1,412 แห่ง ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราว 554,995 คน ผลการให้ความช่วยเหลือ ให้ลูกจ้างได้รับเงินตามกฎหมาย มีสปก.จ่ายค่าจ้างถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 2,984 คน วงเงินทั้งสิ้น 27.11 ล้านบาท

การขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และสถานการณ์ด้านแรงงานช่วงโควิด-19 มีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มีศูนย์บริหารจัดการแรงงานประมง และจัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมงจังหวัด โดยมีการออกตรวจเรือประมง 24,121 ลำ แรงงานประมงผ่านการตรวจแล้ว 244,511 คน

มาตรการช่วยเหลือที่กระทรวงแรงงานกำหนด ในการป้องกันและผ่อนปรน ได้แก่ การผ่อนปรนให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรทำงานต่อ ให้บริการผ่านระบบออนไลน์ จัดทำหน้ากากผ้า รวมถึงประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่แรงงาน ด้านมาตรการเยียวยานั้น ได้แก่ ลดหย่อนอัตราเงินสมทบ และขยายเวลา/เพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ จัดสรรเงินจ้างเหมาพนักงานบริการบุคคล จัดโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และการให้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างที่ไม่ได้รับเงินตามกฎหมาย

การเตรียมความพร้อมด้านแรงงานรองรับชีวิตวิธีใหม่ (New Normal) ได้แก่ การปรับหลักสูตรการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ขั้นพื้นฐาน) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ยกระดับทักษะฝีมือเพื่อให้แรงงานมีอาชีพหลัก อาชีพเสริม ปรับทักษะฝีมือทั้ง Up skill และ Re skill ให้บริการด้านแรงงานผ่านระบบออนไลน์ เพื่อลดการเดินทางมาติดต่อที่สำนักงาน และนำระบบ Platform หรือ Digital Labor Marketplace มาใช้วิเคราะห์ผลการจับคู่ตำแหน่งที่เหมาะสม (Fit to Role) ตามทักษะหรือความสามารถของแรงงาน

หลังจากรับฟังบรรยายสรุปแล้ว พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบนโยบายและทิศทางการดำเนินงานแก่หัวหน้าส่วนราชการ 6 ประเด็น ประกอบด้วย

1. ให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะปัญหาแรงงานประมง 2.ให้ยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบกิจการ สามารถจับคู่กับงานได้อย่างเหมาะสมกับศักยภาพของแรงงาน และรองรับกับเทคโนโลยีชั้นสูงในสถานประกอบกิจการได้


3. บูรณาการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในภูมิภาค ในการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง เช่น จ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงาน ประชาสัมพันธ์สิทธิตามกฎหมาย สนับสนุนสินเชื่อของสถาบันต่างๆ รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาทักษะฝีมือ เป็นต้น 4. เร่งรัดการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้แก่ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบ และส่งเสริมการจ้างงาน เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ


5. การเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว และเตรียมความพร้อมตามแนวทางการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ และ 6. ขอให้ตระหนักและใสใจถึงความปลอดภัย และดูแลแรงงานให้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย หากแรงงานได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพ ให้เร่งดูแลให้ความช่วยเหลือเพื่อให้มีกำลับใจต่อสู้และกลับมาทำงานได้อย่างเต็มภาคภูมิ


Written By
More from pp
ยิ่งใหญ่สมการรอคอย “MCHOICE & MINT AWARDS 2024” พร้อมร่วมยินดี 8 รางวัลของคนรุ่นใหม่จาก MINT AWARDS
“MCHOICE & MINT AWARDS 2024” อีเว้นท์ยิ่งใหญ่แห่งปีที่หลายคนรอคอย พร้อมร่วมฉลองครบรอบ 4 ปี Mint Magazine กับรางวัล...
Read More
0 replies on “รมช.แรงงาน ลงพื้นที่ต่อเนื่องลุยเขต EEC ยกระดับแรงงาน ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19”