เข้ารับการเฝ้าระวังกักตัวในสถานที่รัฐจัดให้และรัฐกำหนด
มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 6 ราย ทำให้มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 3,169 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 94.43 ของผู้ป่วยทั้งหมด มีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 129 ราย หรือร้อยละ 3.84 ของผู้ป่วยทั้งหมด ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมผู้เสียชีวิตสะสม 58 ราย ผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 3,356 ราย
สำหรับข้อมูลผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ เดินทางมาจาก
–สหรัฐอเมริกา 1 ราย เป็นเพศชาย อายุ 50 ปี สัญชาติอเมริกัน อาชีพพนักงานบริษัท เดินทางถึงประเทศไทย วันที่ 28 กรกฎาคม 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐกำหนด (Alternative State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 (วันที่ 13 ของการกักตัว) ไม่มีอาการ ส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร
–อินเดีย 1 ราย เป็นเพศชาย อายุ 18 ปี สัญชาติไทย อาชีพนักศึกษา เดินทางถึงประเทศไทย วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ในกรุงเทพมหานคร พบเชื้อจากการตรวจในครั้งที่ 2 วันที่ 10 สิงหาคม 2563 (วันที่ 11 ของการกักตัว) เริ่มป่วยวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ด้วยอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร โดยก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 1 ราย
–อียิปต์ 3 ราย เป็นเพศชาย อายุ 23, 24 และ 29 ปี สัญชาติไทย อาชีพนักศึกษา เดินทางถึงประเทศไทย วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เข้ากักตัวในสถานที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ในจังหวัดชลบุรี พบเชื้อจากการตรวจในครั้งที่ 2 วันที่ 10 สิงหาคม 2563 (วันที่ 11 ของการกักตัว) ทั้ง 3 รายไม่มีอาการ โดยก่อนหน้านี้พบผู้ติดเชื้อจากเที่ยวบินเดียวกัน 6 ราย
นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ว่า แม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่รับเชื้อในประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว แต่มีข่าวรายงานการระบาดครั้งใหม่ ในหลายประเทศที่เคยควบคุมโรคได้ดีมาก่อน เช่น ประเทศเวียดนาม นิวซีแลนด์
ดังนั้น ทุกภาคส่วนยังต้องเข้มงวดในมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศทุกคนต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ได้รับการกักตัวและตรวจหาเชื้อ โดยเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูก และตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด 19 เพื่อป้องกันและสกัดกั้นการนำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาแพร่ให้กับผู้คนในประเทศ
สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือขณะนี้เริ่มพบหลายสถานที่และกิจการหย่อนมาตรการป้องกันโรค เช่น ปล่อยให้ผู้ใช้บริการเบียดเสียดใกล้ชิด และไม่สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า นับเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ นอกจากนี้ ประชาชนบางส่วนไม่ได้ลงทะเบียนเข้าออกสถานที่ผ่านแพลตฟอร์ม/แอปพลิเคชันไทยชนะ ซึ่งหากมีผู้ติดเชื้ออยู่ในสถานที่เข้าใช้บริการก็จะยากต่อการนำผู้สัมผัสเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังอาการ
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไรหากประชาชนยังคงเข้มมาตรการส่วนบุคคล ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ พยายามเว้นระยะห่างระหว่างผู้อื่น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ สำหรับองค์กร สามารถช่วยลดความเสี่ยงได้หลายวิธี เช่น
การให้พนักงานทำงานที่บ้าน เหลื่อมเวลาทำงาน คัดกรองไข้และอาการป่วยก่อนเข้าพื้นที่ รวมถึงให้พนักงานที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัด หยุดงานอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และรีบไปรับการรักษา
หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันโดยเริ่มจากจุดเล็กๆ คือคน และขยายสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม จะช่วยให้ประเทศไทยปลอดภัย สามารถป้องกัน และจำกัดการระบาดของโรคโควิด 19 ได้ หากพบผู้ติดเชื้อในประเทศอีกครั้ง