“ทยา ทีปสุวรรณ” ชวนจิตอาสา ร่วมกันดูแลชุมชนให้เข้มแข็ง-ยั่งยืน ลุยโครงการ 130 บาท ทำ-ส่ง-กิน โดย saveเราsaveชุมชน สร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่ 

โครงการ 130 บาท ทำส่งกิน โดย save เรา save ชุมชน นำโดย ทยา ทีปสุวรรณ ภรรยา นายณัฎฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)  ได้ระดมสมองคิดโครงการนี้ ขึ้นมาจากแนวคิดของการแบ่งปันจากคนมีสู่คนที่เดือดร้อน, สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ด้วยการจ้างงานภายใต้ความปลอดภัยมีระยะห่าง ไม่ต้องออกเดินทางจากที่พักและตรวจสอบได้ด้วยการนำระบบ cashless payment มาใช้ทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ภายในระยะเวลาต่อเนื่อง 15 วันตั้งแต่วันที่ 11  25 พฤษภาคมนี้

หัวใจสำคัญของโครงการนี้คือการช่วยเหลือคน 3 กลุ่มหลักคือร้านอาหาร วินมอเตอร์ไซค์ และคนในชุมชนทุกหลังคาเรือน เริ่มที่ ชุมชนแรกในพื้นที่เขตบางเขน อันได้แก่ ชุมชนเศรษฐกิจวรวีร์ชุมชนสามัคคีร่วมใจชุมชนร่วมพัฒนา และชุมชนรุ่นใหม่พัฒนาด้วยความร่วมมือกับ ภญ.นพวรรณ หัวใจมั่น ได้คัดสรรร้านอาหารที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติในการรับจ้าง ทำอาหาร และวินมอเตอร์ไซค์ในพื้นที่เป็นผู้ส่งาหาร เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนได้รับอาหารไปกินอิ่มท้อง 2 มื้อต่อวัน ตลอด 15 วันเต็ม รวมทั้งหมด 200 ครอบครัว

ความแตกต่างที่ไม่เหมือนโครงการไหนอยู่ที่การนำระบบ cashless payment มาใช้ควบคุม โดยเราได้รับความร่วมมือจากบริษัท Event Pop สตาร์ทอัพจัดงานอีเว้นท์ของคนไทย ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานแบบครบวงจร  ทั้งตรวจสอบและจ่ายเงินแบบ real time ทุกวัน ด้วยการแจก Chip Card ซึ่งมีเงินอยู่ในการ์ดให้ทุกครอบครัวนำมาใช้จ่ายค่าอาหารแทนการใช้เงินสดกับทั้งร้านอาหารและวินมอเตอร์ไซค์ ทำให้เมื่อจบวันทางทีมงาน saveเราsaveชุมชน จะทราบยอดขายและค่าส่งทันทีผ่านตัวเครื่อง POS (Point of Sales) จึงสามารถโอนเงินค่าจ้างให้กับร้านอาหารและวินมอเตอร์ไซค์ได้แบบวันต่อวัน

เราอยากให้คนที่เดือดร้อนในชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองในช่วงเวลาที่พวกเขายังออกไปทำงานปกติไม่ได้ เลยคิดโครงการ 130 บาท ทำส่งกิน ขอรับบริจาคในจำนวนเงิน 130 บาท สามารถช่วยคน 1 วัน  1 วิน 1 บ้าน 1 ร้าน เน้นกลุ่มคนในชุมชนยังมีรายได้ไม่เหมือนเดิม ไม่มีเงินซื้ออาหาร เราจึงคิดทำในรูปแบบการ์ด ให้คนที่เดือดร้อนนำไปใช้ในร้านอาหารกับลุงป้าในชุมชน หนึ่งบ้านจะได้รับอาหาร 2 มื้อ หนึ่งมื้อได้ 2 กล่องต่อครอบครัว รวมเป็น 4 กล่องต่อวัน เรากำหนดราคาอาหารต่อกล่อง 30 บาท ส่วนคนไหนที่บ้านอยู่ไกลจะจัดส่งโดยวินมอเตอร์ไซค์คิดค่าบริการ 10 บาทต่อรอบการส่ง รวมเป็น 130 บาท ช่วยได้ 1 บ้านต่อวัน โดยเงินจำนวนนี้ได้หมุนช่วยคนในชุมชนกันเอง เป็นเงินบริจาคจากโครงการ SaveเราSaveหมอ มาต่อเป็นต้นทุนของโครงการ SaveเราSaveชุมชน  โมเดลนี้เราเพิ่งทดลองทำ หากประสบความสำเร็จได้รับการสนับสนุนเงินบริจาคเพิ่มขึ้น  เราอาจจะขยายการช่วยเหลือต่อไปชุมชนอื่นๆ อีกแน่นอน เลยอยากเชิญชวนให้ช่วยกันบริจาคเยอะๆ นะคะจะได้เอาโมเดลนี้ไปขยายผลช่วยเหลือได้อีกหลายๆ ชุมชน

จากการทำงานเพื่อสังคมครั้งนี้  วิกฤตครั้งนี้สอนเราหลายอย่าง ชีวิตต้องพร้อมที่จะปรับตัวไปตามสถานการณ์ มีวินัย และรับผิดชอบต่อส่วนรวม หลายคนบอกว่าต้องมี new normal แต่ new normal ในความคิดของตนคือ เราต้องมีความพอเพียง เหมือนที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงสอนเรา ใช้ชีวิตอยู่ในความพอเพียง บริโภคแต่พอดี และพอใจกับชีวิต และอยากให้ทุกคนคิดบวก ตอนนี้ทุกประเทศทั่วโลกแย่เหมือนกันหมด หากสาธารณสุขเราฟื้น เศรษฐกิจเราก็จะฟื้นตาม ขอให้ทุกคนมีกำลังใจ มีพลังบวก ในส่วนของตนเองในการทำงานครั้งนี้ได้รับความประทับใจเยอะมาก ได้เห็นน้ำใจคนไทยที่มีมากมายมหาศาล และตนก็ซาบซึ้งกับเพื่อนๆ ที่มาร่วมกันทำงานเป็นทีมเวิร์ค ตลอดจนยังได้สอนวิชาชีวิตให้แก่ลูกๆ เขาได้เห็นภาพได้เรียนรู้จากชีวิตจริง ของการแบ่งปัน การช่วยเหลือคนในยามยาก สอนให้เขารู้ว่าเขาอยู่ในจุดที่ยังมีโอกาสที่ดีกว่าหลายคน ดังนั้นเขารู้จักแบ่งปัน ยื่นมือไปช่วยคนที่มีโอกาสน้อยกว่าเรา

สำหรับใครที่สนใจสามารถร่วมบริจาคในโครงการ 130 บาท ทำส่งกิน หรือบริจาคตามแต่จิตศรัทธาได้ที่ บัญชี “saveเรา saveหมอธนาคารกรุงเทพ สาขาเซ็นทรัล เอ็มบาสซี เลขที่บัญชี 009 8 069 25 5 สามารถติดตามกิจกรรมทาง Facebook : Taya Teepsuwan  #คนไทยไม่ทิ้งกัน #saveเราsaveหมอ #ฝ่าวิกฤติด้วยพลังบวก  #saveเราsaveชุมชน

Written By
More from pp
“เอนก” ลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วมบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ปลื้ม “U2T“ ปรับบทบาทช่วยชาวบ้าน​ พร้อมตรวจแก้มลิงบึงชำอ้อ แหล่งบริหารจัดการน้ำท่วม
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย...
Read More
0 replies on ““ทยา ทีปสุวรรณ” ชวนจิตอาสา ร่วมกันดูแลชุมชนให้เข้มแข็ง-ยั่งยืน ลุยโครงการ 130 บาท ทำ-ส่ง-กิน โดย saveเราsaveชุมชน สร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่ ”