โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา ชูวิทยาการใหม่รังสีรักษา เพิ่มโอกาส-ลดผลข้างเคียง ตอบเทรนด์การรักษาเน้น “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง”

โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเครือ โมเดอร์นฟอร์ม เฮลท์แอนด์แคร์ ชี้ “มะเร็ง” ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ไร้วัคซีนป้องกัน และรอการรักษาไม่ได้

ปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ของรังสีรักษา เทคนิครักษามะเร็งด้วยรังสีศัลยกรรม โดยวิธีฉายแสง หรือ ฉายรังสี ปริมาณรังสีสูงไปยังเป้าหมายด้วยความแม่นยำ เพื่อทำลายก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ หรือใช้รักษาเสริมหลังการผ่าตัด รวมทั้งเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยกรณีไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถรักษาได้ทั้งบริเวณสมอง ไขสันหลัง ปอดและตับ ไม่เกิดอาการเจ็บปวดขณะฉายรังสี และมีผลข้างเคียงหลังการรักษาน้อยกว่า แนะผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ [KT1] ถึงความเหมาะสมในการรักษาของผู้ป่วยในแต่ละราย  เผยปัจจุบันเทรนด์การรักษาผู้ป่วยแนวใหม่ เน้น “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” ผลการศึกษาของ PwC ล่าสุด ระบุว่าผู้ป่วยให้ความสนใจเกี่ยวกับการรักษา การดูแลตัวเองและต้องการบริหารจัดการการรักษาตัวเองมากขึ้นอีกด้วย

นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อตั้งโดยร่วมลงทุนระหว่าง บริษัท โมเดอร์นฟอร์ม เฮลท์แอนด์แคร์ จำกัด (มหาชน) “MHC” กับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา เปิดเผยว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก จากสถิติทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจาก พ.ศ. 2553 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 8.1 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 18.1 ล้านคนต่อปีใน พ.ศ. 2561 ในขณะที่ประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 5% มีตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ยปีละ 8 หมื่นคน และมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 1.5 แสนคนต่อปี

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย และยังไม่มีวัคซีนป้องกันที่ตอบสนองชัดเจน ซึ่งไม่สามารถรอรับการรักษาได้ ส่งผลให้วงการแพทย์มีการศึกษาวิจัย เพื่อนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยหวังผลเพิ่มจำนวนผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งให้พิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยล่าสุดมีการรักษาวิทยาการใหม่ของรังสีรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ใช้เทคนิคการรักษามะเร็งด้วยรังสีศัลยกรรม โดยการฉายรังสีร่วมกับปริมาณรังสีสูงไปทำลายก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งด้วยความแม่นยำ รังสีศัลยกรรมมีการใช้ปริมาณรังสีต่อครั้งที่สูงกว่า ส่งผลให้จำนวนครั้งของการฉายรังสีน้อยลงอยู่ที่ประมาณ 1 – 5 ครั้ง ต่างจากการฉายรังสีเทคนิคธรรมดาที่ใช้ระยะเวลานานหลายสัปดาห์ทั้งนี้ รังสีศัลยกรรมแบ่งออกเป็น 2 เทคนิค ตามจำนวนครั้งในการฉายรังสี  คือ เทคนิคที่ 1 คือ Stereotactic Radiosurgery (SRS) เป็นการให้ปริมาณรังสีสูงมากเพียงครั้งเดียว และ เทคนิคที่ 2 Stereotactic Radiotherapy (SRT) หรือ Stereotactic Body Radiotherapy (SBRT) เป็นการฉายรังสีโดยให้ปริมาณสูงต่อครั้ง เป็นจำนวน 3-7 ครั้ง จากการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งกระจายไปสมอง ด้วยวิธีการฉายแสงเทคนิคธรรมดา เมื่อติดตามผลการรักษาที่ 6 เดือน สามารถควบคุมโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ 27% หากเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยเทคนิค SRS สามารถควบคุม และเพิ่มคุณภาพชีวิตขึ้นเป็น 43%

อนึ่ง รังสีศัลยกรรมเป็นเทคนิคการรักษาก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ด้วยการฉายรังสีพลังงานสูงไปยังบริเวณที่ต้องการด้วยความแม่นยำ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์จำลองภาพสามมิติ กำหนดตำแหน่งและคำนวณปริมาณรังสี เพื่อให้รังสีเข้าไปทำลายเฉพาะที่ก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ในขณะที่เนื้อเยื่อปกติโดยรอบได้รับรังสีเพียงเล็กน้อย มีประสิทธิภาพในการรักษา และเกิดผลข้างเคียงน้อย นับเป็นวิทยาการใหม่สำหรับผู้ป่วยกรณีที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือ ภาวะของร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการดมยาสลบ ซึ่งไม่สามารถผ่าตัดได้ และยังใช้กับการรักษาเสริมหลังการผ่าตัด 

การรักษาด้วยวิทยาการฉายรังสี สามารถใช้รักษามะเร็งบริเวณสมอง ไขสันหลัง ปอด และตับ หรือตำแหน่งที่ไม่สามารถเข้าถึงด้วยการผ่าตัด และยังสามารถใช้ในการรักษาด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็ง ได้แก่ 1. Brain arteriovenous malformation (AVM) ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดแดงและดำของสมอง 2. Meningioma เนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง 3. Pituitary adenoma เนื้องอกของต่อมใต้สมองส่วนหน้า 4. Glioma เนื้องอกของเซลล์สมอง 5. Schwannoma เนื้องอกของเส้นประสาท นับเป็นวิทยาการรักษาที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในผู้ป่วยและวงการแพทย์ทั่วโลก


“อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรมดังกล่าว ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งของ ก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง ในขณะเดียวกัน การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรมอาจไม่เหมาะกับเนื้อเยื่อมะเร็งบางชนิด ผู้ป่วยและญาติจึงควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อร่วมกันวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล สอดคล้องกับปัจจุบันที่แนวโน้มหรือเทรนด์การรักษาผู้ป่วย มุ่งให้ความสำคัญกับการรักษาแบบมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยผลการศึกษาของ PwC บริษัทผู้ให้บริการธุรกิจที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ชั้นนำระดับโลก ล่าสุดระบุว่า ปัจจุบันผู้ป่วยให้ความสนใจเกี่ยวกับดูแลรักษาตนเองและต้องการบริหารจัดการเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในทางการแพทย์ รวมทั้งที่โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตราจึงให้ความสำคัญในการรักษาโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ แพทย์ ญาติ และผู้ป่วย จะหาทางเลือกในการรักษามะเร็งที่เหมาะสมกับผู้ป่วยร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการรักษาควบคู่กับคุณภาพกายและคุณภาพใจที่ดี” นายแพทย์ธนุตม์ กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรักษามะเร็งด้วยรังสีศัลยกรรมที่โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา www.chiwamitra.com

 

Written By
More from pp
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) รับรางวัล พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เกษสุดา ไรวา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) รับรางวัล พระราชทาน...
Read More
0 replies on “โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา ชูวิทยาการใหม่รังสีรักษา เพิ่มโอกาส-ลดผลข้างเคียง ตอบเทรนด์การรักษาเน้น “ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง””