20 พฤษภาคม 2567 นายปริเยศ อังกูรกิตติ โฆษกพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะบทบาทความเป็นผู้นำ ซึ่งหลายครั้งนำมาสู่การทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้ตรงจุด ที่สำคัญจะเห็นว่าการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีไม่ตรงกับที่ได้ให้คำมั่นกับพี่น้องประชาชน ทั้งด้านเศรษฐกิจ กระบวนการยุติธรรม การบริหารงานราชการ หรือการขาดความเป็นอิสระในการตัดสินใจสำคัญทางการเมือง เช่น
1.กรณีของ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้งทะลุวัง ซึ่งทันทีที่เกิดปัญหา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์โยนให้กับกระทรวงยุติธรรมแบกรับทันที และยังไม่ยอมตอบว่าจะแก้ไขเรื่องปัญหาความเหลื่อมล้ำทางกระบวนการยุติธรรมอย่างไร ขณะที่ก่อนหน้านี้ ก็เจอปัญหามาตั้งแต่เรื่องภายใน สตช. จนถึง ปัญหาของราชทัณฑ์
2. ดิจิติทัลวอลเลท นายกรัฐมนตรี ลอยตัวมาตลอด นั่งหัวโต๊ะคณะใหญ่ แต่ไม่เคยตอบอะไรได้ ไม่เข้าใจกฏหมาย ไม่รู้วิธีการ ไม่รักษาคำพูด แถลงวกวนซ้ำเดิม อ้างถูกต้องตามกฏหมาย อ้างเพียงกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อดึงเวลาไปเรื่อยๆ
3. ใช้งบเดินทางไปต่างประเทศไม่คุ้มค่า โดยชี้ว่าหากรัฐสนับสนุน งบซอฟต์พาวเวอร์ 5,000 ล้าน แต่คิดได้แค่ใส่ผ้าขาวม้าไปโชว์ที่เมืองนอก ควรไล่คณะทำงานออก เพราะประชุมกันใหญ่โต วางมหาโปรเจค แต่กับผู้ประกอบเล็กๆ ที่เป็นคนขับเคลื่อนงาน ความช่วยเหลือทางกฏหมายไม่เคยพูด เงินทุนก็ไม่เคยช่วยผู้ประกอบการ เอาแต่ดูศึกษางานไปเรื่อยๆ
4. กฏหมายสภา 30 กว่าฉบับ (ทั้งของฝ่ายค้าน รัฐบาล ประชาชน ที่เอาไปดองไว้ในคณะรัฐมนตรี ไม่เคยพูดถึงว่าจะส่งอันไหนมาก่อนหลัง ปากบอกว่าสนับสนุน ประชาธิปไตย แต่มองสภา เป็นลูกไล่
5. ทะเลาะแต่กับข้าราชการ หน่วยงาน ระรานไปทั่ว มีแต่ “ข้อสั่งการ” สั่งแล้วไม่ตามผล ไม่ช่วยหาวิธีการ สั่งเสร็จไปเมืองนอก กลับมาโดนถามทีก็ดิ้นที ตอบนักข่าวว่าสั่งการไปแล้วทุกครั้ง
6.กรณีตัวประกันไทยในอิสราเอล นายกฯไม่เคยมีคำตอบว่า ที่เสียชีวิตไป แสดงความเสียใจแล้วดำเนินการอย่างไรต่อ ชดเชยยังไง ตัวประกันที่เหลือเป็นอย่างไร รัฐบาลทำงานประสานอะไรบ้าง
7. คนในรัฐบาล ออกมาจัดอีเว้นท์ เรื่องข้าวในโครงการจำนำข้าว จนเกิดดราม่าไปทั่ว ความมั่นใจในข้าวไทยหดหาย แต่นายกรัฐมนตรี ไปดูงานโรงงานชีส ในต่างประเทศ
8. เรื่องสำคัญอย่างการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่เคยพูดถึง โยนให้คณะทำงานทั้งที่เขาก็ต้องรอทิศทางที่ คณะรัฐมนตรี มาประกอบ ถ้า คณะรัฐมนตรีนิ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือคณะทำงานที่ตั้งขึ้นก็คงไม่มีความคืบหน้า เพราะจะทำประชามติ ต้องใช้งบประมาณ เอาแค่ว่า ปี2568 งบที่ลงไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนเรื่องงบประชามติไว้หรือไม่
9. ปัญหาชายแดน ฝ่ายความมั่นคงรายงานมาที่นายกรัฐมตี จนรัฐมนตรีที่นั่งหัวโต๊ะ ลาออกจนถึงขณะนี้ ไม่เคยรู้เลยว่า ประเทศเราจะต้องวางนโยบายอย่างไร ประเทศที่ช่วยและส่งต่อ หรือจะทำศูนย์ หรือจะแข็งกร้าวไม่ยุ่งกับเพื่อนบ้าน
10. ปัญหาการเมือง นายกฯควรมีพาวเวอร์ ที่สุดในการบริหารงานประเทศ มีภาพการเป็นผู้นำชัดเจน โดยไม่ใช่ร่างทรงของใคร ที่มาครอบงำอยู่ปรากฏ ซึ่งเด็กๆประถมก็รู้ว่านายกฯตัวจริงคือใคร ขณะเดียวกันนายเศรษฐา ไม่สามารถแยกแยะได้ว่า “นอบน้อม” กับ “หงอ” แตกต่างกันอย่างไร